นวัตกรรมด้านการเกษตร และ AgriTech กำลังเป็น Startup กลุ่มใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก จากปัจจัยเรื่องการขาดแคลนอาหาร และเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันเราสามารถทำการเกษตรได้ดีขึ้น แม่นยำขึ้น ประหยัดขึ้น และทำกำไรได้มากขึ้น ด้วยความนิยมที่คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น

.

ขณะที่ประชากรโลกมีแนวโน้มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น สวนทางกับสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลง การทำเกษตรกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพภูมิอากาศ แนวโน้มการทำการเกษตรแนวใหม่ หรือ AgriTech จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยบริหารจัดการการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ มีผลผลิตที่ดีขึ้น

.

ปัจุจบัน AgriTech ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการประเมินว่า ภายในปี 2593 ความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้น 70% ตามทิศทางการเพิ่มขึ้นของประชากร ขณะที่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่า เกือบ 10% ของประชากรโลกยังคงอดอยากและหิวโหย ต่อไปนี้เป็น 10 นวัตกรรมพลิกโลกในปี 2023

.

Bee Vectoring Technologies

1.ผึ้งงานควบคุมฟาร์ม (Bee Vectoring Technologies)

.

 เจ้าแมลงตัวน้อยนี้นอกจากจะให้สร้างน้ำผึ้งที่มีความสำคัญกับมนุษย์แล้ว ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ ยังนำผึ้งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ทั้งการช่วยผสมเกสรให้พืชติดดอกออกผล และยังสามารถใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย

.

นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบให้ผึ้งเหล่านี้ นำผงแป้งที่สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชไปกับขาของผึ้ง เพื่อกระจายสารเหล่านี้ไปทั่วฟาร์ม ซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี

.

นวัตกรรมนี้มีสนับสนุนการการทำเกษตรแบบยั่งยืน ลดการใช้สารเคมี ให้ผลผลิตที่ดีและเหมาะกับพืชหลากหลายชนิดอีกด้วย

เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)

2.เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)

.

เป็นกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรการเกษตรที่รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

 .

นวัตกรรมนี้ จะใช้ประโยชน์จาก Big Data และ AI เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ทำให้เกษตรกรสามารถควบคุมตัวแปรผลผลิตพืช เช่น ระดับความชื้น สภาพดิน และสภาพอากาศ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงสุด อาศัยระบบการสำรวจระยะไกล โดรน หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงความสมบูรณ์ของพืชผลและปรับทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่ผลผลิตที่มากขึ้น

 .

Grand View Research คาดการณ์ว่าตลาดเกษตรแม่นยำทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง16.35 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2571 หรือเติบโตขึ้น 13.1% ทุกปี

ฟาร์มแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)

3.ฟาร์มแนวตั้ง (Indoor Vertical Farming)

.

ฟาร์มแนวตั้งเป็นตัวเลือกที่ดีให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นได้อีกหลายเท่า ในพื้นที่จำกัด และยังสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยระบบปิด ควบคุมปริมาณและประเภทสารอาหารผ่านระบบน้ำ และระบบอากาศ (Hydroponics และ Aeroponics) ควบคุมปริมาณแสงผ่านแสงประดิษฐ์ เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเติบโตของพืชมากที่สุด นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังช่วยประหยัดน้ำ และลดต้นทุนแรงงานลงได้อีกด้วย

ปศุสัตว์อัจฉริยะ (Livestock Farming Technology)

4.ปศุสัตว์อัจฉริยะ (Livestock Farming Technology)

.

นวัตกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ให้เป็นฟาร์มอัจฉริยะ ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น นวัตกรรมเช่น เครื่องรีดนมแบบอัตโนมัติโดยไม่ใช้มนุษย์ควบคู่กับเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ทำให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพ ระบบทำความสะอาดอัตโนมัติในฟาร์ม ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค นวัตกรรมการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีคลื่นเสียงอะคูสติก (APT) สำหรับโรคเต้านมอักเสบในวัว แทน ยาปฏิชีวนะ และระบบป้อนอาหารอัตโนมัติ ช่วยให้สัตว์ได้รับอาหารผสมที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะและในปริมาณที่เหมาะสม และการใช้  Big Data และ AI มาช่วยจัดการฟาร์ปศุสัตว์เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

หุ่นไล่กาเลเซอร์ (Laser Scarecrows)

5.หุ่นไล่กาเลเซอร์ (Laser Scarecrows)

.

ในอดีต ชาวนาอาศัยหุ่นไล่กาในการขับไล่นก ที่มากินผลผลิตในนาข้าว แต่นั่นดูจะล้าสมัยในปัจจุบัน เมื่อทุกวันนี้มีหุ่นไล่กาเลเซอร์ ที่สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหว และยิงแสงสีเขียว เพื่อขับไล่นกและสัตว์ฟันแทะได้

 

นักวิจัยจาก University of Rhode Island พบว่า นกมีความไวต่อแสงสีเขียว จึงได้ออกแบบลเซอร์แสงสีเขียว ที่ยิ่งได้ไกลถึง600 ฟุต เพื่อขับไล่นกให้ออกไปจากพื้นที่ ซึ่งในการทดสอบสามารถลดปริมาณนกในพื้นที่ได 70-90% เลยทีเดียว

6.ฟาร์มอัตโนมัติ (Farm Automation)

.

ฟาร์มอัตโนมัติ ใช้นวัตกรรมสนับสนุนในการจัดการฟาร์ม ระบบคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ตรวจวัดสารต่างๆ และระบบจัดการข้อมูล เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ลดโอกาสและข้อผิดพลาด เพื่อลดเวลาทำงาน เพิ่มผลผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

.

อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ทันสมัย เช่น โดรน เครื่องเกี่ยวข้าวอัตโนมัติ รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ การหว่านเมล็ด และการกำจัดวัชพืชเพื่อลดการทำงานที่ใช้เครื่องจักรแทนได้ และโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่า เช่น การค้า และการตลาดแทน ระบบอัตโนมัติช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

RTK : Real-Time Kinematic (RTK) Technology

7.RTK : Real-Time Kinematic (RTK) Technology

.

เทคโนโลยีระบุตำแหน่งความแม่นยำสูง ระดับเซ็นติเมตร เป็นอีกเทคโนโลยีที่ช่วยหการควบคุมเครื่องจักรในการเกษตรมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะแปลงปลูกพืชเป็นพื้นดินที่ไม่ควรนำเครื่องจักรไปเหยียบย่ำ การกำหนดทางที่จัดเจนของเครื่องจักร นอกจากไม่กระทบกับพืชแล้ว ยังทำให้การดูแลเป็นระบบดีขึ้นอีกด้วย

.

เทคโนโลยี RTK ช่วยให้เกษตรกรทำแผนที่แปลงนาได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดินและผลผลิต เพิ่มผลผลิตโดยใช้อินพุตน้อยลง

มินิโครโมโซม (Minichromosome Technology)

8.มินิโครโมโซม (Minichromosome Technology)

.

การตัดแต่งพันธุกรรมพืช หรือ GMO แม้จะทำให้พืชแข็งแรงทนทาน ต่อสภาพอากาศ โรคพืช และแมลง แต่ในหลายงานวิจัย กลับพบว่า ผลผลิต GMO จะมีความเกี่ยวโยงกับอาหารแพ้ และมีสารพิษที่เป็นอันตรายที่กระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้

และพืช GMO ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ และปล่อยสารพิษลงสู่ดิน

.

Minichromosome เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ดีกว่า GMO เพราะไม่ใช่การดัดแปลงยีนส์ และตัดแต่งพันธุกรรม แต่เป็นการปรับปรุงลักษณะของพืชผ่าน Minichromosome เพื่อทำให้พืชทนต่อความแห้งแล้งหรือต้านทานศัตรูพืชได้มากขึ้นโดยไม่รบกวนการพัฒนาตามธรรมชาติ พืชที่ผ่านการปรับปรุงลักษณะจะลดยาฆ่าแมลง สารฆ่าเชื้อรา และปุ๋ยน้อยลง ลดการพึ่งพาสารเคมีที่เป็นอันตราย แต่ให้ผลทางชีวภาพและทางโภชนาการที่ดีขึ้น

ซอฟต์แวร์จัดการฟาร์ม (Farm Management Software)

9.ซอฟต์แวร์จัดการฟาร์ม (Farm Management Software)

.

สำหรับเกษตรแปลงใหญ่ การบริหารจัดการแปลงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือช่วยในการวางแผนการทำงาน เพื่อให้สามารถทำการเกษตร ควบคุมการเพาะปลูก ดูแลผลผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีแอปพลิเคชันในการจัดการฟาร์มมากมาย ซึ่งช่วยให้เกษตรกรในการติดตามกิจกรรมประจำวัน ตัดสินใจในการทำงานต่างๆ ทำให้การจัดการเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งซอฟต์แวร์จัดการฟาร์มนี้เป็นระบบที่มีความสำคัญและเป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นประมาณ 11.2%ต่อปี

เทคโนโลยีการจัดการน้ำ (Water Management Technology)

10.เทคโนโลยีการจัดการน้ำ (Water Management Technology)

.

น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเกษตร โชคดีที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำบริบูรณ์ อาจจะมีขาดแคลนบ้างในบางพื้นที่ นั่นทำให้ประเทศไทยเหมาะสมกับการทำเกษตร

.

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ๆขาดแคลนน้ำ ระบบการจัดการน้ำก็มีความสำคัญไม่แพ้กับระบบการจัดการอื่น การทำเกษตรโดยใช้น้ำอย่างเหมาะสม เช่น ระบบน้ำหยดที่ช่วยลดการใช้น้ำลงได้ถึง 50% เหล่านี้ช่วยให้เราจัดการน้ำได้อย่างเพียงพอ

Passion in this story