Categories: INSPIRE

โครงการปลอดภัยและยุติธรรม UN WOMEN กระตุ้นเอกชนออกนโยบายต่อต้านความรุนแรง

เผยสถิติ 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกถูกกระทำรุนแรง หญิงไทย 44% ถูกกระทำจากคนในครอบครัว ส่วนแรงงานหญิงข้ามชาติถูกทอดทิ้งในสถานการณ์โควิด-19 โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (Safe and Fair) UN WOMEN-ILO กระตุ้นภาคเอกชนตื่นตัวออกนโยบายต่อต้านความรุนแรง และมาตรฐานปฏิบัติต่อสตรีในที่ทำงาน ตามอนุสัญญา CEDAW และ ILO 190 รวมถึงเข้าร่วมประกวด WEP Awards เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้จัดงานสัมมนา “The Era of Equality?” ถึงยุคแห่งความเท่าเทียม? เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง ความเสมอภาคและความเท่าเทียม โดยได้วิทยากรรับเชิญจากโครงการปลอดภัยและยุติธรรม นำโดย UN WOMEN ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและสหประชาชาติ ผ่านการทำงานของ UN Women, ILO และ UNODC มาร่วมพูดคุยภายในงาน

กรวิไล เทพพันธ์กุลงาม นักวิเคราะห์โครงการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (Safe and Fair) องค์กรเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ  และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ ( UN WOMEN)  กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงทั่วโลกร้ายแรงกว่าที่คิดกันมาก 1 ใน 3 ผู้หญิงทั่วโลกเคยประสบความรุนแรงในชีวิต สำหรับประเทศไทย  44% ถูกกระทำความรุนแรงจากคนในครอบครัวหรือจากคนที่ตนรู้จัก โดยกรณีการถูกล่วงละเมิดนั้น 87% ของผู้หญิงที่ถูกข่มขืนอาจจะไม่ได้ขอความช่วยเหลือใดๆ เลย โดยสาเหตุของความรุนแรงเกิดจากความมีอคติต่อผู้หญิง และระบบปิตาธิปไตยที่ผู้ชายเป็นผู้กุมอำนาจหลัก และสำหรับแรงงานหญิงข้ามชาติยิ่งไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเพราะอคติต่อแรงงานข้ามชาติและสถานภาพการเข้าเมือง

ความรุนแรงต่อผู้หญิง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงมักไม่กล้าขอความช่วยเหลือ แต่สำหรับแรงงานหญิงข้ามชาติ ยิ่งประสบความยากลำบาก เพราะอคติของเจ้าหน้าที่และนายจ้างที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 แรงงานข้ามชาติมักมีสถานภาพที่ด้อยกว่า บางคนอาจไม่มีสถานภาพเข้าเมืองที่ถูกต้อง แม้ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญา ILO 190 แต่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบซึ่ง (CEDAW) จึงต้องยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าด้วยเหตุที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือมีสถานภาพใดก็ตาม”

“ในส่วนของเอกชน อาจจะเริ่มต้นจากการอบรมนักเรียน นักศึกษา อบรมพนักงานในบริษัทฯ ให้ตระหนักถึงเรื่องการใช้ความรุนแรง ขณะที่ภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายการยุติความรุนแรงในที่งานและออกระเบียบปฏิบัติที่มีความเท่าเทียม มีกลไกรับเรื่องร้องทุกข์ และช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรง โครงการ Safe and Fair ได้ฝึกอบรมเยาวชนและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2563 ให้มีความรู้ (knowledge) ความปรารถนา (desire) และความสามารถ (capacity) ที่จะยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงรวมถึงแรงงานหญิงข้ามชาติ อันจะนำไปสู่โลกของการพัฒนาหลังจาก COVID-19 และการไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ” กรวิไล กล่าว

มณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการสื่อสารองค์กร และพัฒนาสัมพันธ์ UN Womenสำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า ความรุนแรงต่อเพศหญิงเกิดจากรากเหง้าของความไม่เท่าเทียม แต่สถานการณ์ปัจจุบันยังมีส่วนส่งเสริมความรุนแรงให้มากขึ้น ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาวะสงคราม และความขัดแย้งต่างๆ ขณะที่สื่อมวลชนเองก็มีบทบาทส่งเสริมให้เกิดการเหยียดเพศ เหมารวมด้วยการฉายภาพซ้ำ ตอกย้ำอคติทางเพศ เช่น ละครที่ยกผู้ชายเป็นผู้กุมอำนาจ มีผู้หญิงเป็นบริวาร เช่น ผู้หญิงเป็นคนใช้ ทำงานในครัว หรือดูแลคนแก่ ผู้ป่วย หรือเป็นเพียงเครื่องสนองอารมณ์ทางเพศ อย่างไรก็ตามสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ได้ตระหนักถึงเรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น เช่น กรณีการนำผู้เสียหายมาออกสื่อ ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อเหตุผลทางการเมือง โดยสื่อมวลชนเริ่มตระหนักเรื่องสิทธิของผู้เสียหาย และมีแนวโน้มเสนอเนื้อหาข่าวโดยปิดลับข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายมากขึ้น มุ่งเน้นการเสนอข่าวผู้กระทำผิด หรือติดตามความคืบหน้าของคดีในกระบวนการยุติธรรมมากกว่ามุ่งเสนอข้อมูลผู้เสียหาย ดังเช่น ปรากฏการณ์ #MetooThailand ล่าสุด ที่สื่อและสาธารณชนร่วมกันประณามการกระทำ และตรวจสอบจริยธรรมผู้กระทำผิดที่อาจมีอิทธิพล โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ยังมีช่องว่างให้มีกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการรายงานข่าว และนำเสนอข่าวในกองบรรณาธิการที่มีความอ่อนไหวทางเพศ (gender lens) ในประเทศไทย

“ปัจจุบัน UN WOMEN กำลังผลักดันแนวทางการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศผ่าน รางวัล Women’s Empowerment Principles Awards (WEPs Awards) ซึ่งมีบริษัทไทยหลายแห่งที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการคัดเลือกรางวัลระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนี้  จึงอยากเชิญชวนให้ธุรกิจไทยเข้าร่วมประกวดหรือร่วมประกาศสัตยาบรรณในการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อให้ผู้หญิงมีพื้นที่ในสังคมเพิ่มมากขึ้น” มณฑิรา กล่าวเสริมในประเด็นการทำงานผลักดันนโยบายความเสมอภาคทางเพศในกลุ่มภาคีภาคเอกชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดา สุวรรณาภิรมย์ ประธานหลักสูตรฯ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กล่าวว่า งานสัมมนา “The Era of Equality” ถึงยุคแห่งความเท่าเทียม? เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรฯ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักคึกษาได้ฝึกปฏิบัติและได้ความรู้จากวิทยากร ซึ่ง “ความเท่าเทียม” เป็นเรื่องสำคัญที่สังคมไทยต้องตระหนักรู้ เข้าใจปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ไข เพื่อให้ผู้หญิงในสังคมไทยได้รับความเสมอภาคที่เท่าเทียมกับผู้ชาย มีความปลอดภัย และได้รับโอกาสต่างๆ ที่เท่าเทียมกัน จึงหวังว่างานสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้สังคมไทย เกิดความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับผู้หญิงมากขึ้น

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.