Categories: INSPIRE

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ทำอย่างไร?

แม้โควิด-19 จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังเผชิญกับวิดฤตใหม่อย่างสงคราม เงินเฟ้อ และข้าวยากหมากแพง การปรับตัวไปตามสถานการณ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในเวลานี้

.

วิกฤต หรือ Crisis ในภาษาจีนเขียนว่า 危機  ซึ่งประกอบด้วย 2 คำ คือ อันตราย และ โอกาส ดังนั้นทุกวิกฤตจึงย่อมมีทั้งอันตรายและโอกาสอยู่เสมอ ทุกคนและทุกธุรกิจจึงต้องมีสติ คิดวิเคราะห์ใคร่ครวญ เพื่อหาทางก้าวข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปสู่โอกาสให้ได้

.

“หากคุณก้าวผ่านวิกฤตได้ คุณย่อมพบกับความสำเร็จ”

.

อย่างไรก็ตาม Passion gen มีแง่มุมดีๆ ในการปรับมายเซ็ท เพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตไปให้ได้

.

มุ่งมั่น (Focus)

สิ่งที่มากับวิกฤต คือ อุปสรรค ธุรกิจมักเผชิญกับอุปสรรคและข้อจำกัดในหลายสิ่ง ทำให้ต้องใช้พลังในการผลักดันขับเคลื่อนที่มากขึ้น ความเหนื่อยยากลำบากจะตามมา “สิ่งที่จะช่วยให้คุณมีพลังไม่การฟันฝ่าไปได้ ไม่ใช่การมองวิกฤต แต่เป็นการมองไปยังเป้าหมาย” เป้าหมายจะเป็นแรงผลักดันให้มุ่งมั่นต่อสู้จนสำเร็จได้

.

วางแผน (Planning)

แม้การวางแผนจะเป็นเรื่องยากในสถานการณ์วิกฤต แต่ถ้าไม่มีแผนใดๆ คุณก็ไม่มีทางไปถึงเป้าหมาย การวางแผนที่รัดกุมมองผลกระทบในทุกด้าน และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เสมอเป็นสิ่งสำคัญ จงใส่ใจในรายละเอียดและผลกระทบที่เกิดขึ้น

.

อย่าติดอยู่กับกรอบเดิม (Think Out of the BOX)

เกือบทุกครั้งที่เผชิญกับวิกฤต ภูมิทัศน์ของธุรกิจมักจะเปลี่ยนไป การติดอยู่กับกรอบเดิมความสำเร็จเดิม อาจจะส่งผลอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจ โควิด-19 ทำให้ธุรกิจออไลน์ และ Food Delivery แบ่งบาน แต่หากคุณยังยึดติดกับกรอบเดิมๆ การขายในรูปแบบเดิมๆ นั่นคือการพาธุรกิจของคุณไปเผชิญกับปัญหา

.

ปรับตัว (Transform)

หากวิกฤตส่งผลกระทบให้ออเดอร์ลดลง มีเวลามากขึ้น ให้ใช้โอกาสนั้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ การเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ตลาดใหม่ คู่แข่งใหม่ อาจจะทำให้ค้นพบโอกาสใหม่ ที่ทำให้ธุรกิจเข้มแข็งมากขึ้นได้

.

นวัตกรรมนำความสำเร็จ

นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หากคุณกำลังเผชิญวิกฤต นวัตกรรมอาจจะเป็นทางเลือกและทางรอดของธุรกิจ จงดำดิ่งและค้นหานวัตกรรมที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ

.

ทิ้งคอมฟอร์ทโซน

หากธุรกิจยังติดอยู่ในกรอบเดิม การทำงานรูปแบบเดิม และอยู่ในคอมฟอร์ทโซน การปลุกพลังให้องค์กรลุกขึ้นสู้ ท้าทายกับเป้าหมายและความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญมาก อาจจะต้องเหนื่อยมากขึ้น ลำบากมากขึ้น แต่เชื่อเถอะมันยังดีกว่า การปล่อยให้องค์กรเผชิญวิกฤตอย่างไม่มีทางออก

.

ร่วมแรงร่วมใจ

ไม้1 ก้าน หักได้ง่าย แต่ไม้ 1 กำมันยากที่จะหัก ฉันใดฉันนั้น การร่วมแรงร่วมใจในธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรคุณฝ่าฟันและผ่านพ้นวิกฤตไปได้

.

เพราะวิกฤตมีทั้งโอกาสและอันตราย สุดท้ายคุณต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 2 สิ่งนี้ ต้องตื่นรู้ ตื่นตัว ตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าคุณเผชิญวิกฤตแล้วมองไม่เห็นโอกาส สุดท้ายจะเป็นอันตรายต่อธุรกิจคุณ… เงยหน้าขึ้นมองหาโอกาสซะ

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.