Categories: INSPIRE

คำรณ มะนาวหวาน ใครว่าคนพิการสร้างธุรกิจไม่ได้

เมื่อความพิการไม่ใช่อุปสรรคกับความสำเร็จ “คำรณ มะนาวหวาน” ชายหนุ่มที่ต้องพิการจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่เปลี่ยนแรงบันดาลใจจากสิ่งที่พบให้เป็นธุรกิจ การผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ด้วยความมุ่งหวังที่อยากเห็นคนพิการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้

 

ในช่วงชีวิตของคนเรา มักจะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งเสมอ และสิ่งนั้นมักจะมีผลเปลี่ยนแปลงเราอย่างพลิกฟ้าคว่ำดิน… แต่คนส่วนใหญ่ เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงมักจะท้อแท้ โทษโชควาสนาชะตาชีวิต…มีเพียงส่วนน้อยที่ลุกขึ้นสู้และเปลี่ยนสิ่งนั้นเป็นโอกาสทางธุรกิจ โอกาสในการช่วยเหลือผู้คนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

 

 

คำรณ มะนาวหวาน เป็นหนึ่งในคนส่วนน้อยนั้น วันนี้คำรณ มะนาวหวาน เป็น กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง บริษัท สยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการและอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ และผู้สุงอายุให้ดีขึ้น

ผมจบวิศวกรด้านอิเล็กทรอนิกส์ และประกอบธุรกิจส่วนตัวมาตลอด ไม่ได้ทำงานบริษัทไม่ได้รับราชการ จนวันหนึ่งผมประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี พ.ศ. 2558 จนกระดูกต้นคอหัก ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลาถึง 1 ปี เมื่อออกจากโรงพยาบาลก็ต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ตลอดชีวิต เมื่อต้องมาใช้วีลแชร์ จึงพบ Pain Point ว่า วีลแชร์ที่มีผู้ใจบุญนำมาบริจาค หรือวีลแชร์ที่มีบริการตามโรงพยาบาล ผมไม่สามารถใช้งานได้เพราะผมเป็นผู้พิการรุนแรง จึงมีความคิดริเริ่มนำวีลแชร์จากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะกับผู้พิการ

 

ขณะที่ผู้พิการส่วนใหญ่ ท้อแท้ยอมแพ้กับโชคชะตา แต่คำรณ กลับลุกขึ้นทำในสิ่งที่ตรงข้าม จากความต้องการส่วนตัวเปลี่ยนไปสู่การเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น ภายใต้การสนับสนุนบางส่วนจาก VC Fund คำรณได้ออกแบบอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องยกตัว เครื่องพลิกและขยับตัว เริ่มจากการพัฒนาขึ้นใช้เองก่อน แต่ภายหลังเมื่อเห็นว่า มีผู้พิการต้องการเป็นจำนวนมากจึงคิดที่จะทำเพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มคนที่พิการและผู้สูงอายุที่ต้องใช้วีลแชร์

 

“วีลแชร์มีผลิตโดยหลายประเทศ วีลแชร์จากอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นคุณภาพดีมากแต่ราคาก็สูงมากคนไทยจับต้องไม่ได้ โอกาสในการเข้าถึงก็น้อย แต่ถ้าสินค้าจากจีนราคาจะถูกมากแต่คุณภาพก็ด้อยไปตามราคาด้วย ฉะนั้นถ้าเราพัฒนาผลิตภัณฑ์ในใช้ในประเทศ มีคุณภาพเทียบเท่ายุโรปในราคาที่คนไทยจับต้องได้  ก็จะทำให้ผู้สูงอายุและคนพิการมีโอกาสเข้าถึงได้มากขึ้น”

 

ปัจจุบัน สยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น ผลิตอุปกรณ์ เครื่องช่วยคนพิการและอุปกรณ์การแพทย์ ทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่

 

1.เตียงไฟฟ้าผู้ป่วย เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพลิกตัว มีอุปกรณ์ IoT เพื่อช่วยการสื่อสารกับคนในครอบครัวผ่านแอป ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ยังมีลูกหลานห่วงใย

 

2.วีลแชร์ไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ ม่อยากดให้เป็นแค่วีลแชร์ และเป้นอุปกรณ์ช่วยกายภาพ เช่นปรับยืนได้ ใส่อุปกรณ์ IoT เข้าไป

 

 

 

3.สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ที่ติดตั้งกับวีลแชร์แบบแมนนวล (แบบมือผลัก)

 

4.เครื่องยกตัวผู้ป่วย เพื่อยกตัวผู้ป่วยขึ้นจากวีลแชร์

 

5.สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการสำหรับใช้ชีวิตนอกบ้าน เป็นสกู๊ตเตอร์พลังงานไฟฟ้าผสมกับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดต้นทุนสามารถวิ่งได้ระยะทางไกล 50-100 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

 

 

 

สยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น ได้รางวัลชนะเลิศจากซีอาเซียน และได้รับทุนในการก่อตั้งธุรกิจ Startup เป็นเงิน 2 ล้านบาท และได้นำเงินนั้นมาเป็นทุนจดทะเบียนในการจัดตั้งธุรกิจ โดยซีอาเซียนยังให้การสนับสนุนในการสร้างธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน มีการจ้างงานคนพิการ นอกจากนี้ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อีกด้วย

 

ล่าสุดสยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น กำลังขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการ ขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา ในการผลิตผลิตภัณฑ์บางชิ้น รวมถึงใบนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์ สถานที่เก็บเครื่องมือแพทย์ และสถานที่ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ นอกจากนี้ สยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ ราชมงคลสุวรรณภุมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

สำหรับกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันนั้น นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการแล้ว ยังมีกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนติดต่อเข้ามาเพื่อขอซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ราคาสูงจากต่างประเทศ ทำให้โรงพยาบาลมีการดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น

“เป้าหมายของผม คือ อยากให้ประเทศไทยลดการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศ มีการผลิตอุปกรณ์ต่างๆขึ้นใช้เอง รวมถึงส่งออกอุปกรณ์ไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียน”

 

“ถ้ามองตัวผมเอง จากคนทำธุรกิจส่วนตัวมีรายได้ กลับต้องประสบอุบัติเหตุ ชีวิตผมกลายเป็นศูนย์หรือติดลบด้วยซ้ำ ผมกลับเป็นคนปกติเหมือนเดิมไม่ได้ แต่ผมยังมีความเป็นวิศวกร มีจุดแข็ง ทำให้ลุกขึ้นมาทำงานได้ มองวิกดฤตให้เป็นโอกาส ไม่ว่าในสถานการณ์ไหนเราก็ลุกขึ้นใหม่ได้ เราต้องพร้อมสู้ อย่ายอมแพ้ อะไรที่ขาดไปเมื่อมีอย่างอื่นมาทดแทนก็จะสามารถเดินต่อได้ ต้องล้มแล้วลุก ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก” คำรณ กล่าวทิ้งท้าย

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.