Sarah Taylor-สานฝันเด็กไทยสู่นักการทูต | Passion Talk EP015 วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาเป็นวันสตรีสากล องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้จัด งาน “Women in leadership: Achieving future equality in a COVID-19 world” จัดขึ้นภายใต้เป้าหมายเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลในปี 2021 เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความพยายามของผู้นำสตรีในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านประสบการณ์ มุมมอง และทักษะที่แตกต่างกัน ควบคู่กับการเปิดโอกาสให้กับเยาวชนไทยผ่านการแข่งขันโครงการ Ambassador for a day competition กับโอกาสในการได้เป็นทูต 1 วัน
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ PassionGen ได้รับโอกาสสัมภาษณ์ Sarah Taylor เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ มาบอกเล่าถึงความเป็นมาของโครงการและสิ่งที่เด็กๆ น้องๆ จะได้รับจาก โครงการ Ambassador for a day competition
อยากให้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ปีที่แล้วทูตจากประเทศต่างๆ และองค์การสหประชาชาติได้พบปะกัน และมีโอกาสหารือร่วมกันว่าอยากจะจัดกิจกรรมบางอย่างที่พวกเราสามารถทำร่วมกันได้ ฉันเองจึงเสนอว่า เคยได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนร่วมงานที่เป็นท่านทูตแคนาดาประจำประเทศต่างๆ ซึ่งเราเห็นพ้องกันว่าอยากจะเชิญคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มาแปลงโฉมเป็นผู้นำ 1 วัน และคิดว่าควรเชิญเพื่อนร่วมงานจาก UN ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีผู้หญิงทำงานจำนวนมากมาร่วมงานด้วย
การแข่งขัน Ambassador for a day competition เกี่ยวข้องกับอะไร สิ่งที่พวกเราทำ คือ เชิญชวนเด็กไทยรุ่นใหม่อายุระหว่าง 16 ถึง 25 ปี ร่วมส่งคลิปวิดีโอสั้น ที่พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในสังคมไทย และสิ่งที่พวกเขากำลังทำหรือคิดจะทำเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานั้น
เนื่องจากเราได้วางแผนไว้แล้วว่าการแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันสตรีสากล เราจึงอยากทำงานนี้ เพื่อส่งเสริมพลังสตรี โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่เป็นทูต โดยเลือกโอกาสในช่วงวันสตรีสากลในการริเริ่มโครงการ นั่นคือวัตถุประสงค์ดั้งเดิม
เราต้องการให้ผู้ชนะมีประสบการณ์จากการแปลงโฉมเป็นผู้นำ 1 วัน ได้แสดงความคิดเห็นของเขาเหมือนอย่างที่ทูตจากประเทศต่างๆ ในฐานที่เป็นทูตหรือหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อที่พวกเขาจะได้รับประสบการณ์บางอย่างในเป็นสตรีและเป็นผู้นำ อีกทั้งเรายังได้มีโอกาสรับฟังมุมมองคนรุ่นใหม่จากพวกเขาอีกด้วย
น้อง ๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง สถานทูตแต่ละแห่งอาจจะมีเนื้องานที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย แต่โดยพื้นฐานแล้วน้องๆที่ได้รับคัดเลือกจะต้องติดตามท่านทูตของแต่ละประเทศเหมือนเป็นเงาติดตามตัวไปตลอด 1 วัน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของงานในการแนะนำให้รู้จักกับงานส่วนต่างๆ ของสถานทูตและการดำเนินการในบทบาทที่แตกต่างกันที่ตัวผู้เป็นทูตจะต้องทำในแต่ละวัน
และหากมีกิจกรรมอะไรที่ทูตต้องไปออกงานเช่นงาน UN ในวันนี้ น้องๆ ก็จะมีโอกาสได้เห็นบทบาทหน้าที่ที่ทูตแต่ละประเทศทำ และการแสดงออกการโต้ตอบของท่านทูตแต่ละท่าน อย่างที่เราทำในวันนี้ถือว่า ที่เป็นเรื่องสำคัญในระดับสากลนั่นคือ การเสริมสร้างพลังให้กับสตรี ซึ่งเป็นนโยบายที่ประเทศแคนาดาให้ความสำคัญ ซึ่งก็สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับสหประชาชาติด้วย ดังนั้นบางประเด็นที่คุยกันในวันนี้เช่น การที่ผู้หญิงตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เรื่องการสร้างความเท่าเทียมกันของสตรีภาคเอกชน บทบาทของสตรีในหน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานอื่นๆ ฉันหวังว่า เด็กรุ่นใหม่เหล่านี้จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ในอนาคต
สิ่งที่คาดหวังจากการแข่งขันครั้งนี้ มีความสำเร็จ 2-3 ประการที่ได้เกิดขึ้นแล้วและประสบความสำเร็จ นั่นคือ กลุ่มสตรีด้านการทูตและผู้นำกิจการระหว่างประเทศที่ให้ความสนใจและสนับสนุน โดยทั่วไปแล้วพื้นที่นี้มักจะเป็นผู้ชายที่ทำงานเป็นหลัก แต่ในพื้นที่กรุงเทพก็มีสตรีทูตอยู่ถึง 13 คนจากทั้งหมด 80 คน แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่ไม่มาก เราจึงต้องการทำให้ภาคส่วนอื่นตระหนักว่า กลุ่มสตรีก็มีความสามารถในบทบาทในกิจการระหว่างประเทศและการทูต เพื่อให้พวกเขาและเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสตรี
มีคำพูดหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า “คุณจะเป็นเช่นนั้นไม่ได้หากคุณยังมองไม่เห็นมัน” ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับบทบาทของสตรีในการเป็นผู้นำระดับนานาชาติ ซึ่งเราก็หวังว่าในการแข่งขันครั้งนี้จะมีกลุ่มสตรีใหความสนใจในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่า สตรีเหล่านั้นก็จะได้รับแรงบันดาลใจในการส่งเสริมบทบาทของความเป็นผู้นำมากยิ่งขึ้น
เรียนรู้อะไรจากการจัดงานปีแรก ฉันชอบผลงานในปีนี้ และมีแผนที่จะจัดการแข่งขันต่อเนื่องในปีหน้า เราคาดหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วประเทศ และเวทีนี้จะเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจด้านการทูตมาพบกัน รวมตัวกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายด้านสิทธิสตรี
นอกจากนี้ ในปีหน้าเราต้องมั่นใจว่า โอกาสที่เราสร้างนี้นอกจากจะทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักกันแล้วยังได้รู้จักกับทูตสตรีที่เป็นตัวแทนจากประเทศต่างๆ ได้เห็นบทบาทของเราในการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิสตรีมากขึ้น
จะจัดการแข่งขันต่อเนื่องทุกปีหรือไม่ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเราในการจัดการแข่งขัน และมีความท้าทายมากเนื่องจากเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เราได้รับเสียงตอบรับที่ดีในปีนี้ นั่นทำให้เราคาดหวังว่าจะเดินหน้าต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป เพราะเราต้องการสร้างโอกาสสำหรับเยาวชนไทย เพื่อให้พวกเขาได้พบปะกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้นำรุ่นใหม่ ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมากกับทุกองค์กรในการขับเคลื่อนพันธกิจ ไม่ว่าจะเป็น UN หรือสถานทูต พวกเราเองในฐานะนักการทูตมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าต่อตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่เราต้องแน่ใจว่าจะมีคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะก้าวขึ้นมาสานต่องานในด้านนี้ ให้แนวคิด ให้มุมมองใหม่ๆ แก่เรา ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดการสานงานอย่างต่อเนื่องในอนาคต
อภินัทธ์ เชงสันติสุข เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่
Recent Posts สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
Accept