Categories: INSPIREPASSION TALK

“แสงชัย ธีรกุลวาณิช” เผยเคล็ดลับ SME ฝ่าวิกฤต “ไม่มี ไม่หนี เจรจา” | Passion Talk EP026

แสงชัย ธีรกุลวาณิช กรรมการบริหาร บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ถ่ายทอดมุมมองบอกเล่ามุมคิดของการสร้างธุรกิจที่สอดรับกับ BCG และการเอาตัวรอดของเอสเอ็มอีในยุคที่โควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนัก ให้กับ Passion gen เพื่อเป็นหนึ่งกำลังใจในการอยู่รอดของเอสเอ็มอี

ขณะที่โควิดกำลังระบาดอย่างหนัก ลมหายใจของกิจการ SME จำนวนมากก็แผ่วล้าลงทุกที ไม่นับที่ต้องหยุดดำเนินกิจการมาแล้วร่วมปี การระบาดของโควิดรอบสามรุนแรงและหนักหน่วงกว่าครั้งใดๆ อย่างไรก็ตามความหวังยังคงมีอยู่เสมอสำหรับทุกคนที่ไม่หมดกำลังใจ…

 

 

 

แนะนำตัวกันก่อนครับ

ผมแสงชัย จีรกุลวานิช กรรมการบริหาร ไรท์ รีแอคทิเวชั่น จำกัด (มหาชน)อเราเป็นธุรกิจของคนไทย 100% ปัจจุบันเราเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม การดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาเรายึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับ BCG Economy ( Bio Circular Green Ecenomy)

 

ในมุมของเศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy บริษัทดำเนินธุรกิจโดยนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่นกะลามะพร้าว กะลาปาล์ม เศษไม่ไผ่ และวัสดุอื่นๆ มาแปรรูปโดยใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร วิศวกรรม และนวัตกรรม เพื่อผลิตเป็นถ่านกัมมันต์หรือแอคติเวเต็ดคาร์บอน จากวัสดุการเกษตรที่มีมูลค่าต่ำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่านโยบาภาครัฐในเรื่องไทยแลนด์ 4.0

 

ในมุมมองเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เราได้นำถ่านกัมมันต์ที่จำหน่ายให้กับลูกค้ามาเข้ากระบวนการฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่สิ่งที่เราได้รับจากเศรษฐกิจหมุนเวียนก็คือ

 

1.ความพึงพอใจของลูกค้า เพราะสามารถลดต้นทุนลงได้ถึง 50% แทนที่จะต้องทิ้งของเก่าไปซื้อของใหม่

2.ลดภาระในการกำจัดของเสีย วันนี้สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ของโลก เรากำลังเผชิญภาวะโลกร้อนที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต ภาคธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา ลดดารใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการเผาทำลาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ เพิ่มดุลการค้าให้ประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จากการนำผลิตภัณฑ์มาฟื้นฟูสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่

 

ในมุมมองเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy เราทำกิจกรรมไคเซน (Kaizen)  ภายใต้การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ผ่าน KM (Knowledge Management) นำดิจิตอลมาจัดทำรายงานการขายแทนกระดาษ สามารถให้คำแนะนำพนักงานขายผ่านทางระบบออนไลน์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการลดใช้กระดาษ การคัดแยกขยะ การปลูกต้นไม้ รักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน”

 

 

ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น เริ่มต้นธุรกิจอย่างไร

เราเริ่มต้นเมื่อ 19 ปีที่แล้วจากกลุ่มนักวิยาศาสตร์และวิศวกร ในการก่อตั้งบริษัท ไร้ท์ โซลูชั่นจำกัด เพื่อทำธุรกิจซื้อมาขายไปในสินค้าถ่านกัมมันต์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการบำบัด เช่น Air Treatment, Water Treatment และ Chemical Treatment และเสนอบริการเพิ่มเติมเช่น การออกแบบให้กับลูกค้า โดยมีคุณณัฐสิทธิ์ ธีรกุลวาณิช เป็นผู้บริหารหลัก ในระยะแรกธุรกิจเติบโตอย่างอเนื่องมาตลอด และก็สะดุดลงเมื่อบริษัทเผชิญวิกฤตจากคู่ค้าในเรื่องการซัพพลายสินค้า เนื่องจากซัพพลายเออร์อยากตั้งบริษัทจำหน่ายสินค้าเองในประเทศไทย ครั้งนั้นทำให้เราได้เรียนรู้ว่า “การยืนอยู่บนขาของตัวเองมีความสำคัญมากแค่ไหน”

 

เราจึงเริ่มทบทวน วางแผน ปรับกลยุทธ์ธุรกิจ และก่อตั้งบริษัท ไรท์รีแอคทิเวชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและสร้างความยั่งยืนระยะยาวให้กับธุรกิจ จากประสบการณ์ที่สะสมมา ลูกค้า ฐานเงินทุน ทำให้การก่อตั้งธุรกิจที่ทรานฟอร์มตัวเองจากธุรกิจเดิมประสบความสำเร็จ เราเปลี่ยนตัวเองจากซื้อมาขายไปเป็นผู้ผลิตเมื่อ 11 ปีที่ผ่านมา จากนั้นเราใช้เวลา 2 ปีในการก่อสร้างโรงงาน และนำเข้าเครื่องจักรฟื้นฟูถ่านกัมมันต์มาดำเนินการในประเทศไทย

 

เราเชื่อว่าคนที่มีคุณภาพจะทำให้งานมีคุณภาพ ฉะนั้นปรัชญาในการทำงานของเรา คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไปขับเคลื่อนนวัตกรรมต่างๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทและกลไกการขับเคลื่อนของผู้บริหารและพนักงาน ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน”

 

 

ปัจจุบันเรามีลูกค้ามากน้อยเท่าไร

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกินกว่า 90% เป็นลูกค้าเรา กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นลูกค้าเรา นอกจากนี้เรายังดูแลเรื่องแอคติเวเต็ดคาร์บอนในหลายอุตสาหกรรม เช่นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยลูกค้าอุตสาหกรรมคิดเป็น 95% ของยอดขายรวม และอีก 5% เป็นกลุ่มดีลเลอร์และเอเย่น หากนับจำนวนลูกค้าในปัจจุบันเรามีมากกว่า 500 รายในหลากหลายอุตสาหกรรม ขณะที่ล่าสุดเรากำลังขยายธุรกิจไปสู่ผลิตภัณฑ์ Consumer Product เพราะในกระบวนการผลิตเราจะได้วัตถุดิบส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นสินค้าอื่นๆ ได้เช่น ถ่านอัดแท่งที่เอามาใช้ในปิ้งย่างและถ่านดูดกลิ่น ในตู้เสื้อผ้า ตู้เย็น รองเท้า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด เดินหน้าสู่ประสบการณ์ใหม่ โอกาสธุรกิจใหม่”

 

 

เป้าหมายของ ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น

เรามีแผนเรื่องตลาดส่งออกเนื่องจากตลาดในประเทศมีค่อนข้างจำกัด แต่ตลาดอาเซียนยังเปิดกว้างเพราะมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน หรือ 10 เท่าของประเทศไทย หนึ่งในกลยุทธ์ของเราคือเน้นตลาดต่างประเทศในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งก่อนการระบาดของโควิดเรามีส่งออกไปบ้างแล้วแต่เป็นสัดส่วนไม่มาก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทรานฟอร์มโมเดลธุรกิจในตลาดต่างประเทศ

 

วิกฤตเศรษฐกิจโควิดเป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้ว่า ธุรกิจ BCG ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้อยมาก เรายังสามารถดำเนินธุรกิจและการตลาดอย่างต่อเนื่องไมได้รับผลกระทบในเรื่องของยอดขาย จึงอยากให้ผู้ประกอบการ SME ในประเทศเห็นถึงโอกาสและอนาคตกับ BCG เช่น โรงไฟฟ้าขยะ การคัดแยกขยะ สกัดของเสียจากขยะ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของที่ไม่มีมูลค่า นำนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และงานวิจัยมาต่อยอดให้เกิดมูลค่า

 

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ยังได้รับการรับรองให้เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เรามีห้องปฏิบัติการ นวัตกร ที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า แล้วลูกค้าสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ เป็นหนึ่งในโอกาสที่เราพยายามสร้างสรรค์ เพื่อให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรม”

 

 

ในบทบาทประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีในปัจจุบันเป็นอย่างไร

เอสเอ็มอีจำนวนมากโดยเฉพาะที่เป็นรายย่อยกับรายย่อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรงและรวดเร็วกว่ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดเยอะในเรื่องของทุน การปรับเปลี่ยนธุรกิจ เอสเอ็มอีในปัจจุบันต้องท้าทาย 4 ประการในเรื่องของการ “อยู่รอด อยู่เป็น อยู่เย็น อยู่ยาว”

 

อยู่รอด เอสเอ็มอีต้องใส่ใจกับการทำ Lean Enterprise กำจัดส่วนเกินของธุรกิจ ลดต้นทุนชีวิต ลดต้นทุนธุรกิจ และลดต้นทุนทางสังคม และผนวกกับการบริหารความเสี่ยงจะทำให้สามารถอยู่รอดได้ วันนี้ SME ต้องนั่งคิดเรื่องการบริหารความเสี่ยง ทำให้เราเห็นจุดอ่อนในธุรกิจเราทั้งเชิงบวก-เชิงลบ และมีแผนรองรับว่าจะทำอย่างไร

 

อยู่เป็น เป็นเรื่องของการกล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง รู้จักการใช้นวัตกรรมในการเติบโต และใช้เครือข่ายภาคเอกชนในการเป็นกลไกการขับเคลื่อนให้เข้าถึงมาตรการการช่วยเหลือจากรัฐ เดิมเราอาจะอยู่ในเซฟโซน ทำดีอยู่แล้ว กำไรอยู่แล้ว ไม่ออกจากนอกกรอบ สำคัญคือความกล้าคิดเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ การเข้าไปอยู่ในกลไกของภาคเอกชนต่างๆ สร้างมิตร อย่างผมเอง ก็มีส่วนร่วมงานกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ทำให้เราเปิดโลกทัศน์ ได้เห็นวิธีคิด แนวคิดใหม่ๆ ได้เรียนรู้จากสิ่งดีๆ จากเพื่อน ปรับเปลี่ยนการกล้าคิด ลงมือทำ กล้าเปลี่ยนแปลง บางครั้งการที่เราจะนำสิ่งใหม่ๆ ไปทำลายความตั้งใจแต่แรกเดิมในการทำธุรกิจ ถ้าวันนี้เราสามารถกล้าคิด กล้าทกล้าเปลี่ยนแปลง ทำควบคู่ขนานไปมี Change Management หรือการจัดการความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เข้าถึงกลไกภาครัฐทำให้ SME ได้แต้มต่อ

 

SME คือผู้ประกอบการที่จำกัดเรื่องทุนและขีดความสามารถ เราต้องการการเข้าถึงแหล่งในการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลที่เราต้องต่อสู้กับสิ่งที่มาเร็วไปเร็ว ทำอย่างไรจะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำ วันนี้ไม่ได้มีแค่ธนาคาร Pico Finance Nano Finance เท่านั้น แต่ยังมี Venture Capital

อยู่เย็น คือการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านได้ทรงทิ้งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันมีค่ายิ่งให้กับคนไทยทั้งประเทศ เราสามารถใช้หลักปรัชญานี้ดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจ แล้วสร้างสังคมของความพอเพียงให้เกิดขึ้น ไม่ใช่สังคมวัตถุนิยม หรือเป็นทาสของทุนนิยมในอุตสาหกรรม การไม่ก่อหนี้เพิ่มจนกินตัว พอประมาณ ประมาณตน มีภูมิคุ้มกัน เมื่อเรามีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตจะทำให้ชีวิตเรามั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

อยู่ยาว คือ ท่ามกลางเศรษฐกิจแบบนี้ เราจะเห็นแรงานที่ตกงาน ผู้ประกอบการที่ขาดทุน บางรายประสบสถานการณ์อันยากลำบาก ล้มละลาย อยู่ยาวคือ การทำให้เกิดความคิด “ไม่มี มีหนี เจรจา” ฉะนั้นเราถึงชวนกันคิด หาทางออกว่า การที่เราไม่มีไม่ใช่เรื่องผิด การที่เราไม่หนีเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง การที่เราเจรจาเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและประทับใจ สุดท้ายวิกฤตจะคลี่คลายได้ในที่สุด”

 

สำหรับเอสเอ็มอีที่เจ็บหนักควรทำอย่างไร

วันนี้ภาครัฐ ธนาคารให้ความสำคัญกับเอสเอ็มอี ค่อนข้างมาก ถ้าเราใช้เครือข่ายภาคเอกชนในการรวมกลุ่มกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เชิญธนาคารและภาครัฐมาช่วยแก้ไขปัญหา ทำโครงการหมอหนี้-คลินิกหนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้รอดได้ อย่างสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยก็เป็นกลไกสำคัญที่เป็นแกนกลางที่ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐได้อีกทางหนึ่ง เราเองก็ได้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารรัฐหลายแห่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาวิกฤตให้ได้รับการดูแลมากยิ่งขึ้น เราเข้าใจดีว่าวันนี้การปิดกิจการชั่วคราวกับปิดกิจการถาวร เป็นสถานการณ์ที่เผชิญอยู่กันมาก

 

เอสเอ็มอีวันนี้ จากเดิมที่มีอยู่ 4 กลุ่ม คือ อยู่ดี อยู่ได้ อยู่ยาก อยู่ลำบาก ตอนนี้เหลือแค่ 3 คือ อยู่ได้ อยู่ยาก อยู่ลำบาก

-อยู่ดี ตอนนี้แทบจะไม่มี มีแต่น้อยมาก

-อยู่ได้ คือ ประกอบธุรกิจมีกำไรพอเลี้ยงลูกน้องบ้าง กระท่อนกระแท่น ชักหน้าไม่ถึงหลัง

-อยู่ยาก ตอนนี้เริ่มส่งเงินต้น ดอกเบี้ยไม่ไหว รายได้หายไปครึ่งหรือเกินกว่าครึ่ง

-อยู่ลำบาก ทำอะไรไมได้เลย ต้องปิดกิจการ เช่น ธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหารกลางคืน

 

วันนี้ท่ามกลางวิกฤตทำอย่างไรเราจึงจะเป็นกลุ่มที่อยู่ได้แล้วขยับไปอยู่ดี พูดง่ายแต่ทำไม่ง่ายอย่างที่พูด เราต้องมีความมุ่งมั่นในการที่จะแสวงหาโอกาส ทางเลือกทางรอด 2 เรื่องใหญ่ๆ ที่ภาครัฐควรเร่งด่วนคือ รัฐควรให้ความรู้ควบคู่แหล่งทุนกับผู้ประกอบการ เพราะขีดความสามรถในการพัฒนาเอสเอ็มอีได้ต้องมีการจัดองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการอย่างเหมาะสม

 

การทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนจะเป็นโอกาสให้เขาพัฒนาธุรกิจของตัวเองต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นเรามองว่า การเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำ ช่วยให้กำไรที่ได้มาไม่หมดไปกับการจ่ายดอกเบี้ย แต่ใช้เพื่อการพัฒนาธุรกิจ ฉะนั้นการเข้าถึงความรู้ที่เหมาะสม จะช่วยให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนจา Traditional Business เป็น Innovation Drive Business ทำให้เอสเอ็มอีอยู่รอดได้

 

วันนี้ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ปรับตัวได้ก็ไปต่อไป ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ยากไปต่อไม่ได้ รัฐต้องมีกระบวนการจัดการส่งเสริม แก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ด้วย เราไม่สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางซากศพของเอสเอ็มอีที่ตายเกลื่อนทั้งประเทศ เราจะทำอย่างไรให้เขามีกระบวนการฟื้นฟูธุรกิจได้ เช่น “โครงการพักต้นพักดอกไม่คิดดอกตลอดการพัก” ทำอย่างไรให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำกลไกภาครัฐต้องเข้ามาดูแลส่งเสริมจะทำให้เอสเอ็มอีมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจะต้องไม่เป็นวาทกรรม ต้องเป็นการปฏิบัติ มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม”

 

 

ฝากถึงน้องๆ รุ่นใหม่ ที่เริ่มต้นทำธุรกิจควรคิดอย่างไร

วันนี้มีบัณฑิตจบใหม่ปีละ 4 แสนคนได้ มีอาชีวะ ปวช. ปวส. จบใหม่อีกปีละ 3 แสนคน รวมแล้ว 8 แสนคน วันนี้ต้องยอมรับว่าทิศทางเศรษฐกิจสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป แต่คนรุ่นใหม่ของประเทศที่กำลังจะมาแทนที่พวกเราในอนาคต มีความเป็นผู้ประกอบการสูง มีความคิดที่จะเป็นสตาร์ทอัพ อยากเป็นเอสเอ็มอีเป็นเจ้าของกิจการซึ่งเป็นสิ่งที่ดี

 

การที่ลูกหลานเราที่เป็นอนาคตของเศรษฐกิจชาติสังคมประเทศไทยจะเข้ามาสู่สังคมผู้ประกอบการ การสร้างการสั่งสมความเป็นผู้ประกอบการให้อยู่ในตัวเราเองมีอยู่ในทุกอาชีพไม่จำเป็นต้องเป็นนักธุรกิจ ดังนั้นวิชาการสร้างผู้ประกอบการต้องบรรจุอยู่ในบทเรียนให้ลูกหลานเราที่เติบโตมาได้รับการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ วันนี้เรามาพูดถึงวินัยทางการเงิน เรามาพูดถึงเรื่องของการทำธุรกิจที่มาเข้าระบบการเสียภาษี เราคิดว่าควรปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ในวัยเด็กว่า ผู้ประกอบการต้องทำสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสังคม  รับผิดชอบต่อสังคมต่อประเทศ

 

เยาวชนคนรุ่นใหม่ขะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ธุรกิจขนาดเล็กในวันนี้อาจจะเป็นมิลเลี่ยนแนร์ในวันหน้า เราอยากฝากเรื่องของความอดทน เราเข้าใจว่าลูกหลานเรามีความอยากที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เด็กรุ่นใหม่มีความเก่ง มีความฉลาด ปรับตัวได้อย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถนำมาผนวกกับคนรุ่นก่อนคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์และการยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน จะทำให้สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติได้เป็นอย่างดี”

 

 

ขอเป็นกำลังใจ ให้กับผู้ประกอบการ SME ที่ดูแลแรงงานอีก 12 ล้านคน ผู้ประกอบการ SME 3.1 ล้านรายที่เผชิญวิกฤตในขณะนี้ให้สามารถก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกันรวมถึงประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เป็นกำลังใจให้ภาครัฐในการออกมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของเอสเอ็มอีในขณะนี้ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงถ้วนหน้ากัน

——————————————————–
รับชมเนื้อหาของ EP.อื่น ๆ ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะครับ
Passion Talk EP.038 | นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ เมื่อโลกก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด และ Carbon Tax
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/03/นฤชล-ดำรงปิยวุฒิ์-gunkul-pt-ep038
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=ivjcuaBE_0w
——————————————————–
Passion Talk EP037 ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ Web3.0 เปลี่ยนโลก คนไทยจะก้าวอย่างไร?
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2022/20/ทินกร-เหล่าเราวิโรจน์-web3-0-metaverse-p
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=3QYnPv9Nknc
————————————————————–
Passion Talk EP036 “อำนาจ เอื้ออารีมิตร” จากมีดหมอสู่กองเอกสาร จุดประกายฝัน EKH สู่โรงพยาบาลชั้นนำครบวงจร
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/06/อำนาจ-เอื้ออารีมิตร-โรงพ
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=xDSjmf1LtZM&t=38s
————————————————————–
passion talk EP035 พล.ท.พิเศษ ศิริเกษม แรงบันดาลใจสู่ทุนปรัชญาเพื่อความมั่นคง
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2021/24/พิเศษ-ศิริเกษม-แรงบันดาล
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=5rMSiy3p2sQ&t=1s
————————————————————–
อ่าน Passion Talk ทุกเรื่องได้ที่

https://www.passiongen.com/category/inspired/passion-talk

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.