ความยั่งยืน และ Sustainability Development Goal (SDGs) กำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย องค์กรชั้นนำของไทยหลายแห่งมีความตื่นตัวอย่างมากในการกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และไม่ใช่แค่เพียงธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ธุรกิจขนาดเล็กก็ยังให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินและศิลปะ
วันนี้ passiongen ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ คนรุ่นใหม่และศิลปิน ที่ใช้ศิลปะในการกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความตระหนักรู้ และมีจิตสำนึกในการร่วมกันเพื่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลงานจากแรงบันดาลใจของวิชชุลดาล้วนสร้างสรรค์ขึ้นมาจากขยะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนทิ้งขว้างและรังเกียจ
เรารู้ตัวอยู่แล้วว่าชอบศิลปะมาตั้งแต่สมัยประถม ตั้งแต่จำความได้ก็ชอบวาดรูปมาก วาดต้นไม้ ดูเอเลี่ยน ดูพรีเดเตอร์ ดูหนังไซไฟ และจินตนาการเป็นหุ่นยนต์แปลกๆ พอรู้ว่าตัวเองชอบก็มุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนในศิลปกรรม ตอนแรกก็คิดว่าจะเข้าสถาปัตยกรรมดีไหม มีควาลังเล แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจว่าเราชอบศิลปกรรม จิตรกรรม ก็ไปเรียนพิเศษมุ่งมั่นมาก แสดงให้ทุกคนเห็นว่าเราเอาจริง เราชอบด้านนี้ ก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย สุดท้ายสอบติดที่ศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนเรียนก็สนุกกับรั้วมหาวิยาลัย ก็ทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่บ้านรับน้อง เพนท์ป้ายบ้านรับน้อง และได้คุยกับพี่ๆจากคณะอื่นๆ เช่น วิศวะ แพทย์ บัญชี ก็ดูว่าคณะอื่นเขาทำอะไรแล้วเราจะเอาความรู้ศิลปะไปเชื่อมอะไรกับคณะอื่นได้บ้าง เรามีความสุขมากเวลาได้คุยกับพี่ๆ ในเชื่อมโยงความคิดมาต่อยอดงานศิลปะของเรา
จุดเริ่มต้นมาจากการทำวิทยานิพนธ์ เมื่อตอบจบการศึกษาทำเกี่ยวกับเรื่องวัสดุ ตอนนั้นไม่มีเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่มี SDG เรารู้แค่ว่าขยะมีเยอะมากที่บ้าน จึงอยากนำวัสดุในบ้านมาจัดการให้เป็นศิลปะทั้งหมดเพื่อลดขยะในบ้าน ตอนนั้นคิดแค่นี้ เลยไปสร้างงานเป็นวิทยานิพนธ์ อาจารย์บอกว่าน้ำหนักที่เราเขียนลงไปไม่มากพอ ให้ทำวิจัยว่าวัสดุมีอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่เรื่องความชอบ เราก็ลงรายละเอียด ศึกษาว่าวัสดุมาจากไหนบ้าง ขยะต่างๆ แล้วก็เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย เราก็เลยอยากจะเชื่อมโยงเรื่องของสิ่งวแวดล้อมตั้งแต่ตอนนั้น
พอเรียนจบก็สร้างงานศิลปะขึ้นมา 1 ชิ้นเป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น จัดแสดงที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ก็ตั้งราคามั่วๆไปเพราะคิดว่า คงจะจบอาชีพศิลปินแค่ตอนเรียน เพราะในช่วงเรียนที่เราใกล้จบ เราจะเจอกับสภาวะที่พ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็นห่วง บอกว่าไปเป็นข้าราชการดีกว่า หรือไปเรียนอย่างอื่นจบมาจะได้มีงานทำ เราเองก็กดดันว่าคงจบเท่นี้แล้ว….
ตอนนั้นเลยตั้งราคางานมั่ว ๆ ไป สุดท้ายมีคนมาซื้องานเรา คือคุณสมชัย ส่งวัฒนา ผู้ก่อตั้ง “ช่างชุ่ย” มาซื้อผลงานแล้วชวนเราไปทำแฟชั่นโชว์ แล้วบอกว่าให้เราทำอะไรก็ได้เลยแล้วแต่ที่เป็นวัสดุที่เราทำนี่แหละ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นและประกายบางอย่างให้กับเราว่า “สิ่งที่เราทำมีคนสนใจด้วยแฮะ” นั่นทำให้เราตัดสินใจไม่ไปสอบข้าราชการ และลงมือทำงานศิลปะมาตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงวันนี้เลย แต่ตอนนั้นเราก็ทำงานประจำไปด้วยแล้วทำศิลปะไปด้วยควบคู่กันไป
เราคิดว่าอยากลาออกจากงานมานานแล้ว แต่ก็กลัวว่าออกไปแล้วจะอดตายหรือเปล่า เราเลยทำงานควบคู่กับงานประจำมาตลอด แม้จะมีงานเข้ามาเรื่อยๆ
จนวันหนึ่ง เหมือนไฟท์บังคับจากใครก็ไม่รู้ ส่งมาว่ามีงานที่ Icon Siam กำลังจะเปิดบริการ ต้องการงาน 5 ชิ้นไปแสดง มีเวลาไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งถ้าทำงานประจำ คงทำงานไม่ทันแน่นอน จึงตัดสินใจลาออกจากงาน ถ้าไม่ลาออกจะทำงานไม่ทันแน่นอน หลังจากลาออกก็พึ่งตัวเอง ดูว่าเรามีเงินเท่าไร จะใช้เงินอย่างไรจึงไม่รบกวนคนที่บ้าน เราก็ทำมาได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องรบกวนเงินจากคนที่บ้านเลย เราดีใจที่ไม่เป็นภาระของเขา
เป็นศิลปิน ญาติก็ห่วงแล้ว ยิ่งทำจากขยะยิ่งน่าห่วงใหญ่ ใครหล่ะจะเอาขยะมาทำงาน แล้วใครจะมาซื้อผลงานเรา! ดูแล้วอาการหนักคูณสอง…แต่เพราะเป็นความชอบของเรา จึงคิดเสมอว่า อะไรที่ชอบแล้วเราจะจริงจังกับมัน เรามุ่งมั่นกับมันเต็มที่ สักวันหนึ่งจะต้องมีอะไรดี ๆ เข้ามาหาเรา เราก็เลยทำแบบหลับหูหลับตา ทำให้มันสุดทาง งานก็มีเข้ามาเรื่อย ๆ ความกลัวก็ลดลง เป็นศิลปินแล้วไง ทำเรื่องขยะแล้วไง ก็ไม่กลัวแล้ว
เรื่องขยะ เรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกคนพูด หลายอาชีพพูด วงการศิลปะ ดีไซน์เองก็พูดถึง เราเองก็อยากลุกขึ้น นำศักยภาพของเราความเป็นศิลปินของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนได้เหมือนกัน
ตอนนี้มีที่ไอคอนสยาม สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเดือนเมษายนนี้ จะจัดแสดงที่ล้ง 1919 แล้วก็มีงานติดตั้งถาวรที่ช่างชุ่ย ครีเอทีฟ พาร์ค งานของเราเป็นประติมากรรมสื่อผสม ผสมผสานหลาย ๆ วัสดุ หรือจะเรียกว่า Installation Art ก็ได้ เป็นการจัดวางให้ที่สวยงามมากขึ้นด้วยงานศิลปะ
หลากหลายมากคนมักนึกว่าเราไป เอาขยะจากแม่น้ำขุดขึ้นมาจากตม แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ขยะที่เราใช้ อย่าให้มันไปอยู่ที่ปลายทางแล้วค่อยทำ ก่อนเอาขยะมาก่อนที่จะไปลงแม่น้ำ เพื่อเอามาสร้างงานศิลปะ วัสดุเรามีหลากหลาย มีตั้งแต่ฝาขวดน้ำพลาสติก ฝาดึงอลูมิเนียม หลอดพลาสติก เศษผ้า หรืออะไรก็ตามที่คนไม่ใช้แล้ว คนรู้สึกว่าเบื่อแล้วโยนมันทิ้งไป
อยากให้ปัญหาขยะลดน้อยลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา สำคัญคือ ตอนนี้ผู้บริโภคให้ความสนใจกับการคัดแยกขยะเยอะมาก แต่เราทำงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตเองได้ตระหนัก ผู้ผลิตมีส่วนสำคัญเพราผลิตอะไรขึ้นมาก็สร้างขยะได้มาก อาจจะต้องคิดว่ามีวัสดุอะไรที่ที่นำมาใช้ทดแทนพลาสติกได้ เราไม่ได้มองว่าพลาสติกเป็นผู้ร้าย พลาสติกยังต้องอยู่กับชีวิตประจำวันของเราต่อไป แต่พลาสติกบางประเภท โฟม ถุงแกง ถ้าลดได้ก็ดี
ถ้ามองให้สูงขึ้นไป ภาครัฐเองต้องเห็นข้อที่ต้องปรับปรุง รัฐควรมีนโยบายอย่างไรเพื่อผลักดันให้คนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำอย่างไรให้ราคาของชามกระดาษกับโฟมเท่ากัน ทุกวันนี้แม่ค้าอาหารก็ยังใช้โฟมอยู่เพราะโฟมถูกกว่ากระดาษ ไม่ใช่สุดท้ายผลักเป็นภาระผู้บริโภคให้คัดแยกขยะเอง หรือซื้อชามกระดาษมาใช้เอง หรือบางคนใช้ถุงผ้าแทนพลาสติก แต่ในการผลิตถุงผ้า สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าหลายเท่า ตรงนี่เราต้องมาคิดว่าแบบไหนดีกว่ากัน ไม่ใช่แบนพลาสติกไปเลย
เรื่องง่ายๆที่ทุกคนสามารถเริ่มได้จากที่บ้านทุกคนควรหันมาใช้ซ้ำ ถุงพลาสติกที่บ้านมีนำมาใช้ซ้ำ หรือ มีของเก่าที่บ้านนำมาซ่อมแซมให้ใช้งานได้ก่อนจะเอาไปทิ้ง หรืออะไรที่ลดได้ก็ลด ลดการใช้โฟม พกกล่องอาหาร หลายอย่างทำได้มที่บ้านไม่ต้องรอให้ภาครัฐมาจัดการ
ทุกคนมองว่าศิลปะเป็นตัวสร้างขยะ ไม่จริง! เราจะทำให้ทุกคนเห็นว่าทุกงานที่ทำเราใช้อะไรไปบ้าง ใช้ปริมาณเท่าไร ลดคาร์บอนฟุตพริ้นได้เท่าไร เราเป็นสิ่งที่เราทำให้ทุกคนเห็นว่า ศิลปะมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีความสุข มีสีสัน มีชีวิตชีวา
สำคัญเลยคือ ไม่ว่าน้อง ๆ จะจบสาขาใดก็ตาม เมื่อมีงานเข้ามาอย่าปิดโอกาสตัวเอง เด็กบางคนมีงานเข้ามา งานไม่ถนัดไม่ทำ…ไม่ดี ลองเปิดใจทำกับมันดู บางทีงานที่เราไปทำวันนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ในวันนี้ แต่เมือ่เวลาผ่านไปเราจะนึงถึงวันนั้นที่เราทำ เพราะได้นำความสามารถมาใช้ ทุกงานมีส่วนเติมเต็มชีวิตของเราในอนาคตจากวันนี้ไป
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.