เมื่อกลุ่ม ตาลิบัน เข้ายึดกรุงคาบูล และประกาศชัยชนะในการยึดครองอำนาจจากรัฐบาลอัฟกานิสถาน ความกังวลครั้งใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น….

 

 

ตาลิบันเป็นใคร

ตาลิบันมีความหมายว่า “นักศึกษา” เป็นกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงที่เกิดจากนักรบมูจาฮิดีน ซึ่งเป็นที่รู้จักครั้งแรกจากการต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ในช่วงที่สหภาพโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 กลุ่มตาลีบันก่อตั้งโดยอิหม่าม ชื่อ โมฮัมหมัด โอมาร์ ในเมืองกันดาฮาร์ ช่วงปี ค.ศ.1994 จากสมาชิกกลุ่มเล็กๆ จากนักเรียนศาสนาที่โกรธเคืองการปล้นสะดมและกดขี่ ใต้ผู้นำทางทหารในช่วงสงครามกลางเมือง ได้ขยายใหญ่ขึ้นจนเป็นกลุ่มนักรบที่มีจำนวนถึง 3 หมื่นคน และมีอิทธิพลครอบคลุ่มทุกส่วนของประเทศในเวลาต่อมา

 

กลุ่มตาลีบันเป็นกลุ่มอิทธิพลและมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ชัดเจน เคยปกครองอัฟกานิสถานในช่วงปี ค.ศ.1996-2001 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 9/11 ที่นิวยอร์คและวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2001  จนเกิดปฏิบัติการโค่นล้มอำนาจ โดยกลุ่มทหารจากนานาชาติด้วยเหตุผลที่ว่า ตาลีบันมีส่วนในการสนับสนุนการก่อการร้ายของ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน และกลุ่ม อัลกออิดะฮ์ ในเหตุการณ์ 9/11

 

แต่แม้นานาชาติจะเข้ายึดครองอัฟกานิสถานจากกลุ่มตาลีบัน และจัดตั้งรัฐบาลขึ้น แต่กลุ่มตาลีบันก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศถอนทหารออกจากพื้นที่ กลุ่มตาลีบันจึงบุกยึดเมืองต่างๆ รวมถึงเมืองคาบูล และประกาศชัยชนะเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

 

 

ทำไมผู้คนต้องหนีจากอัฟกานิสถาน

กลุ่มตาลีบันเกิดขึ้นจากความเชื่ออย่างล้ำลึกของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามจากโรงเรียนศาสนาที่เคร่งครัดด้วยแนวคิดรากฐานนิยมเดียวบันดิ Deobandi fundamentalism และวีถีชีวิตแบบพัชตุนวาลิ Pashtunwali โดยมีแนวทางการปกครองจากการบังคับใช้กฎหมายชารีอะฮ์หนึ่งในกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดที่เคยมีมาในโลกมุสลิม จึงเป็นความเข้มงวดในการควบคุมและปฏิบัติ

 

ภายใต้การตีความดังกล่าวสิทธิเสรีภาพหลายอย่างถูกจำกัดลง โดยเฉพาะสิทธิสตรี เช่น ผู้หญิงไร้อิสระในที่สาธารณะ ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้ทำงาน หรือเรียนหนังสือ ต้องอยู่แต่ที่บ้าน ยกเว้นมีผู้ปกครองชายอยู่ด้วย การประหารและเฆี่ยนประจานในที่สาธารณะ การสั่งห้ามภาพยนตร์และหนังสือจากชาติตะวันตก และทำลายวัตถุทุกชนิดที่ตีความว่าหมิ่นศาสนา มีช่วงหนึ่งที่นักข่าวหญิงจาก BBC มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้นำของตีบัน แต่ถูกปฏิเสธด้วยเงื่อนไขว่า ไม่พูดคุยกับสตรี

 

ภายใต้ระบบดังกล่าว มีความขัดแย้งกับอย่างสิ้นเชิงกับแนวคิดของประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ชาวอัฟกันส่วนหนึ่งจึงพยายามหนีออกนอกประเทศ ทั้งหวาดวิตกกับอนาคที่ไม่แน่นอน และความไม่แน่ใจว่าจะต้องมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

 

 

 อัฟกานิสถานจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร

เป็นคำถามที่ประชาคมโลกตั้งข้อสงสัย หากกลุ่มตาลีบัน ยังยึดถือขนบธรรมเนียม และกฎหมายจากรากฐานดั้งเดิม อัฟกานิสถานจะกลับไปเป็นหลุมดำ หรือ Lost Decade อีกครั้งหนึ่ง ไม่ต้องพูดถึงสิทธิสตรีและการพัฒนาใดๆ และในอีกมุมหนึ่งยังมีความคาดหวังเล็กๆ ว่ากลุ่มตาลีบันจะมีการจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น มีการผ่อนปรนระเบียบและความเคร่งครัดลงจากเดิมมีการเปิดประเทศ และดำเนินวิถีทางการทูตมากขึ้น

 

อีกประเด็นที่ประชาคมโลกจับตามองคือ ในเรื่องการก่อการร้าย โดยยึดโยงไปถึงความหวาดกลัวจากเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งในประเด็นนี้ยังไม่มีความชัดเจนออกมามากนัก แต่ผู้นำตาลีบันเคยให้ข้อมูลว่า กลุ่มตาลีบันจะต่อสู้กับการก่อการร้าย และจะไม่ยอมให้อัฟกานิสถานเป็นฐานปฏิบัติการก่อการร้ายให้กับกลุ่มอย่างอัลกออิดะห์ ซึ่งฟังแล้วพอจะใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง แต่ก็คงไม่อาจะปฏิเสธได้ว่า ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของกลุ่ม ตาลีบัน อัลกออิดะห์ และกลุ่มไอเอส มีความยึดโยงเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก

 

 

Category:

Passion in this story