Categories: INSPIRE

PODCAST PHOTO (THE) SERIES EP.25 | NFT คืออะไร ? กับ “โน่-ญาโนทัย ตรีรัตน์โชติกุล”

จากเด็กหนุ่มสู่ศิลปินรุ่นใหม่ วันนี้ “โน่-ญาโนทัย ตรีรัตน์โชติกุล” จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ NFT และพาไปดูมุมมองของเขาในฐานะศิลปินที่มีต่อ NFT เขาเห็นโอกาสอะไรจาก NFT อนาคตของ NFT ในความคิดของเขาจะเป็นอย่างไร และถ้าเราสนใจในตลาด NFT ควรเริ่มต้นอย่างไร

 

ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยครับ

 

 

“ผมชื่อ ญาโณทัย ตรีรัตน์โชติกุล ชื่อเล่น โน่ ครับ เพิ่งเรียนจบมาใหม่ ๆ เลยจากภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังไม่ได้ทำงานประจำครับ เป็นฟรีแลนซ์ Product Designer Industrial Designer แล้วก็ทำพวกผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์อะไรพวกนี้ครับ แล้วก็ขึ้นแบบ 3D ด้วย เป็นที่ปรึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ Design Consistency”

 

 

เคยทำงานเกี่ยวกับ NFT มาก่อนไหม?

“ผมทำธีสิสเกี่ยวกับ Art toy ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ผมมองพุทธศาสนาในมุมที่ไม่ใช่ขนบดั้งเดิม ผมเอามาแปลงเป็นอะไรใหม่ ๆ ในแนวของผมเอง ผมรักศาสนาพุทธแต่ผมก็รักในแบบของผม ก็ทำออกมาเป็นชิ้นงาน แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาก็แนะนำให้ลองทำเป็นไฟล์ดิจิทัลแล้วก็มาลงใน NFT ขาย ได้ลองสำรวจอยู่ แต่ยังไม่ขายอะไรจริงจัง”

 

 

NFT คืออะไร

“NFT คือ Non-fungible Token มันคือสกุลเงินดิจิทัลแบบหนึ่ง พอเราส่งอันนี้ไปให้คนนึงแล้ว มันก็มาอยู่กับตัวเราแล้ว เหมือนเราโอนที่ดิน โอนกรรมสิทธิ์รถ ให้กับใครสักคน ผมรู้จัก NFT ตอนแรกจากการเทรดคริปโตก่อน เห็นคนเทรดกันก็เลยไปเทรดบ้าง Ethereum ADA Binance มันคือค่าเงินที่สร้างขึ้นมา แล้ว NFT ก็เป็นตัวระบบที่ใช้ค่าเงินดิจิทัลพวกนี้มาซื้อ เพราะมันอยู่ในระบบ Blockchain ก็ต้องใช้ของที่อยู่ใน Blockchain มาซื้อ เวลาโอนให้กันมันก็อยู่ในระบบเดียวกัน แต่ละระบบจะใช้สกุลเงินกันคนละสกุล เช่น เว็บเทรดนี้ใช้สกุล Ethereum เราก็ต้องไปแลกเป็นเงิน Ethereum เพื่อมาซื้อขาย

 

เหมือนเราไปอเมริกา ไปเมืองหนึ่งที่ขายงานศิลปะ แต่เขาไม่รับเงินบาท เราก็ต้องแลกเป็นดอลลาร์เพื่อไปซื้อของเขา เหมือนกัน NFT ก็เหมือนกับเราเอาเงินบาทไปแลกเป็นเงินในระบบของเขาเพื่อไปซื้องานของเขาได้ แล้วงานพวกนี้ก็มีจำนวนจำกัด ซึ่งสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เหมือนกับเราหยิบภาพวาดภาพนี้ไปให้คนนี้เลย ภาพนั้นก็จะไม่อยู่ที่คนขายแล้ว”

 

 

กระบวนการซื้อขาย NFT เป็นยังไง

“เราต้องมีกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลก่อน มันมีหลายเจ้าที่ทำ ตอนแรกผมสมัคร Finance Bitkub เป็นกระเป๋าตังค์ไว้สำหรับเทรด แต่ว่ากระเป๋าตังค์สำหรับเข้าเว็บไซต์ NFT มันต้องเป็นกระเป๋าตังค์ตรงกลางที่ไม่ได้เอาไว้เทรด ของผมจะใช้เป็น Wallet Connect เป็น trust wallet เป็นเหมือนกระเป๋าตังค์ที่ผูกกับชื่อเรา ผูกกับโทรศัพท์เรา ผูกกับระบบเรา เราต้องจำตัวหนังสือทั้งหมดให้ได้เพื่อจะเป็นเจ้าของระบบ เวลาจะเข้า เหมือนเป็นกระเป๋าตังค์เรา

 

NFT สมัยนี้ก็มีพ่อค้าคนกลางนะ ซื้อมาขายไปเป็นสายปั่น ซื้องานของคนนี้มาบวกกำไรแล้วขายต่อ อาจจะมีคนที่ค่อนข้างเป็นอินฟลูเอนเซอร์ เอางานไปให้ใครดูก็ขายได้ อารมณ์แบบเป็นคิวเรเตอร์ในแกลเลอรี เขาอาจจะปัดราคาด้วยการซื้องานมาถูก ๆ แล้วตัวเขาแบบเอามาพูดซะจนคนไปซื้อต่อแบบซื้อแพงได้ก็มี แต่ว่าครีเอเตอร์ก็ยังได้เปอร์เซ็นต์อยู่ แต่ว่าจะน้อยกว่าที่เขาบวกไป ยิ่งมีการซื้อเพิ่มเรื่อย ๆ เราก็จะได้เปอร์เซ็นต์เพราะเป็นคนสร้าง”

 

 

NFT จำกัดอยู่แค่รูปถ่ายหรืองานศิลปะรึเปล่า

“NFT มันเป็นอะไรก็ได้ที่เอาไปผูกกับ Blockchain สมมติเราโอนสิ่งนี้เข้าไปอยู่ในนั้น เราก็ต้องจ่ายค่า Gas มันคือค่าแปลงสิ่งนั้นเป็นสกุล NFT กลายเป็นสกุล Blockchain มันเหมือนสร้างสิ่งใหม่ในโลกออนไลน์ขึ้นมา ต้องมีรหัสเข้า มีโค้ดอะไรของมัน เหมือนกับเรามีรูปภาพรูปหนึ่ง แต่ลองพลิกไปดูด้านหลังแล้วมีโค้ดอะไรไม่รู้เต็มไปหมด ซึ่งมีไว้เพื่อบอกว่ามันมีตัวตนจริงในโลกออนไลน์นะ

 

ขายที่ดินก็มี มันมีเหรียญนึงชื่อมานา แล้วมันเป็นเหมือนแพลตฟอร์มนึงที่สร้าง Virtual World ขึ้นมาเลย แบบลอกมาจากกูเกิ้ลแมป แล้วแบบวัดพระแก้ว ถ้าโลกแห่งความเป็นจริงเราซื้อไม่ได้ แต่ว่าในโลกนั้นเราเข้าไปซื้อเทคโอเวอร์ เก็งกำไรที่ดินวัดพระแก้วได้ แต่ต้องใช้เหรียญมานาในการซื้อ

 

ส่วนใหญ่ที่สินค้าที่คนซื้อกันเพราะว่า มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ เช่น เจ้าของทวิตเตอร์ที่เขาเอาทวิตแรกมาขาย  ประมูลกันได้เป็นร้อยล้านเลย หรือว่ามีอันนึงที่เป็นหิน ขายกัน 30 ล้านดอลลาร์ มันเป็นหินที่เหมือนวาดรูปเป็นหินโง่ ๆ เลยเนี่ย แต่ว่าราคามันขึ้นเพราะว่าคนซื้อเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งก็อยู่ที่คนซื้อด้วย ส่วนใหญ่คนที่ซื้อ NFT คือคนที่ช่วงแรกเขาเทรดคริปโตแล้วมันได้กำไรหลายพันเท่า เขามีเงินเยอะจนไม่รู้จะทำอะไรต้องมาซื้อ เอามาปั่นราคาต่อ

 

เห็นพี่ที่คณะมีคนนึงเขาวาดงานศิลปะสวยมาก เขาก็ไปลงประมูลขาย เขาก็ขายได้ ถ้าไม่สวยไปเลยก็ปั่นไปเลยนะแนวที่ขายได้ แล้วคนที่ซื้อกันเพราะมันอยู่ในคอมมูนิตีนี้ เหมือนเอามาลงในคอมมูนิตี้แล้วเอามาอวดกัน บางคนอาจจะมาช่วยซื้อ ขายจนรวยแล้วก็มาช่วยคนอื่นซื้อต่อ”

 

 

เห็นโอกาสอะไรจาก NFT

“ปกติเราจะขายรูป ๆ นึง พอวาดเสร็จก็ต้องจับใส่กรอบ หรือว่าแพ็กดี ๆ อะไรก่อนจะส่งขาย แต่ว่า NFT เราก็แค่วาดแล้วสแกนเข้าคอมพิวเตอร์ ตอบสนองกับยุคโควิด-19 มากเลย บางทีเราก็นั่งอยู่กับที่เฉย ๆ แล้วกดคอมให้มันส่งเข้าไป แบบ Virtual เราไม่ต้องไปเหนื่อยทำของจริงไปส่งให้เขา แต่มันก็จะมีคนที่ทำ NFT ผูกกับของจริงขายด้วยนะ แบบมีคนขายถุงเท้าที่ลายถุงเท้าเท่มาก ๆ ถ้าซื้อไปแล้วจะได้ถุงเท้าจริงด้วย ซื้อเสร็จเอาไปยืนยันแล้วก็เอาสินค้าส่ง

 

แล้ว NFT จะมีหลายแพลตฟอร์ม เช่น Opensea, Rarible ถ้าแบบดี ๆ หน่อยก็ Foundation อันนี้ต้องมีคนชวนเข้าไปถึงจะเข้าไปได้ ต้องเป็นอาร์ตติสที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือหน่อย ตรวจสอบมาแล้วคนก็เลยชวน ซึ่ง NFT ถึงจะไม่ต้องเสียค่ากรอบ ค่าผลิต หรือไปจัดตามแกลเลอรี แต่ว่าอย่างที่บอกว่าต้องเสียต้นทุนค่า Gas ค่าแปลงงานเป็นดิจิทัล

 

แล้วก็ตอนแรกผมคิดว่า NFT มันจะขายง่าย ทำง่าย แต่ไม่ได้ขายง่ายอย่างที่คิด มันขายยากมาก มันต้องทำการตลาด ทำกรุ๊ปมาร์เก็ตติ้ง สร้างความน่าเชื่อถือ เหมือนกับเวลาเราเข้า NFT แล้วเราเป็นหุ้น ๆ หนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ เวลาคนจะมาซื้อหุ้นเรา เราก็ต้องน่าเชื่อถือ หรือว่ามีศักยภาพที่งานจะขายได้ หรือว่าเราอุทิศตนให้กับศิลปะแล้วเราก็ทำงานมาเรื่อย ๆ มันถึงจะขายได้ คนถึงจะซื้อ ถ้าเราไม่น่าเชื่อถื่อ เขาก็ไม่ซื้อ บางคนวาดแบบธรรมดาเลย ใช้พิกเซล ใช้แบบง่าย ๆ แต่ว่าเขาทำการตลาดเก่งก็ขายได้ อยู่ที่การตลาดด้วยเหมือนกัน”

 

 

การสร้างผลงาน NFT จะต้องมีทักษะอะไรบ้าง

“มันอยู่ที่ว่าคุณจะเลือกขายอะไร แค่สร้างคุณค่าของสิ่งนั้น เช่น ของผมจะขายแบบคำสอนทางศาสนาพุทธ แต่แปลงออกมาเป็นรูปแบบอื่น บางคนอาจจะขายเรื่องบันทึกประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่อยู่ในงาน ที่ค่อนข้างทัชกับคน บางคนอาจจะขายความเป็นตัวเอง อาจจะต้องคิดก่อนว่าทำไมเขาถึงต้องยอมจ่ายตังค์เพื่ออะไรอย่างงี้

 

ทักษะอีกอย่างหนึ่ง คือ การตลาด การตลาด 30% ฝีมือ 20% โชค 50% ใช้โชคเยอะมาก มันไม่มีใครรู้อนาคตเหมือนราคาคริปโตพวกนี้มันคาดเดากันยาก ราคาของที่เราตั้งไว้ก็เปลี่ยนอีก เช่น ผมขายงานที่ 0.01 อิทิเรียม 1 อิทิเรียมตอนที่ผมขายงานมันอาจจะ 6-7 หมื่น แต่ว่าตอนนี้อิทิเรียมมันประมาณแสนสอง แสนสาม ราคาของถ้าขายได้ มันก็ขึ้นตามเหรียญที่มันขึ้น

 

เรื่องโชคที่บอก คือ ตอนแรกผมตั้งราคาขายไว้อาจจะแพงเกินไม่มีคนซื้อเลย ตอนนี้ก็ยังไม่มีคนซื้อ (หัวเราะ) เพราะผู้ขายในตลาดมันก็เยอะ ก็ต้องหวังพึ่งโชคอยู่เหมือนกันว่าจะมีใครมาเห็นผลงานเราแล้วชอบ”

 

 

NFT จะเป็นโอกาสสำหรับอนาคตของคนรุ่นใหม่ได้ไหม

“ผมมองแบบ 2 ทาง ทางหนึ่งคนจะมองว่ามันเป็นอนาคตแล้วแบบงานมันก็จะล้นตลาด ล้นมาก ๆ เลย เขาน่าจะมีวิธีที่คัดแยกงานที่จำเป็นกับไม่จำเป็นในนั้นออก ถ้างานล้นแล้วมันจะยากในการซื้อขาย ไม่เหมือนกับศิลปะที่ขายเป็นชิ้นงาน แต่ว่าตลาดมันก็ยังเข้าได้อยู่ มันเพิ่งมีมาไม่นาน อีกหน่อยอาจมีองค์กรที่ไว้คัดแยกว่าอันนี้งานไม่จำเป็นอันนี้งานจำเป็น มันจะมีพวกที่ผลิตงานแบบสั่ว ๆ แล้วมาลงก็มี แต่บางคนก็ชอบงานแบบนี้เพราะมันปั่นดี

 

อีกทางนึงอาจจะเรื่องของความเชื่อ มันเหมือนกับเรื่องเล่าแบบที่หนังสือ Sapiens เขียน เหมือนกับเงินตราก็คือความเชื่อที่มนุษย์กำหนดว่าสิ่งนี้มีมูลค่า ถ้าวันไหนเน็ตล้มหรือว่าระบบไฟฟ้าล้มทั้งโลก แล้วความเชื่อมวลรวมของคนมันเสียไปกับสิ่งนี้ คนก็อาจจะคิดว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมเป็นอะไรที่ดีที่สุดแล้ว Virtual มันก็แค่ของปลอมภาพมายา คนก็จะให้ค่าลดลงแล้วกลับมายังศิลปะอันเดิม ส่วนใหญ่ทั้งโลกมันก็จะเป็นวัฏจักรคล้าย ๆ แฟชั่น

 

แต่บางคนก็สามารถขายงาน NFT จนสามารถตั้งตัวได้เหมือนกัน บางคนฟลุ๊กแล้วก็รวยแบบรวยเลยก็มี ก็พูดได้ว่าสำหรับคนรุ่นใหม่ NFT ก็เป็นโอกาสหนึ่งที่น่าลองเหมือนกัน มันไม่ได้เสียหายอะไรถ้าจะลอง แต่ก็ต้องเผื่อใจไว้หน่อยเพราะมันค่อนข้างเดายากว่าจะเป็นยังไงต่อ ถ้าอนาคตหมดโควิด-19 แล้ว คนอาจจะชอบกลับไปเดินแกลเลอรี NFT ก็อาจจะถูกด้อยค่าลงมาก็ได้ NFT มันพีกสุด ๆ ตอนโควิด-19 ที่คนออกบ้านจากไม่ได้”

 

 

ถ้ามีคนสนใจ NFT ควรจะเริ่มต้นยังไง

“เริ่มต้นก็คือ สร้างงานเลยครับ หาเอกลักษณ์ของตัวเอง หาคาแรกเตอร์ตัวเอง ส่วนใหญ่คนที่ลงขายแล้วขายได้เรื่อย ๆ เพราะเขามีคาแรคเตอร์ของตัวเองไปเรื่อย ๆ เช่น มีคนนึงชอบทำเป็นรูปลิงแล้วเป็นรูป 8 bits เขาก็ลงกันไปเรื่อย ๆ จนคนเห็นถึงความสม่ำเสมอ ความต่อเนื่องที่น่าเชื่อถือ เขาก็จะซื้อ คือต้องเริ่มมีงานก่อนแล้วมีความต่อเนื่องในการผลิตงาน

 

แล้วอีกอย่าง ในอนาคตงานศิลปะทุกงานอาจจะผูกกับ NFT ก็ได้ เช่น รูปของปิกัสโซ่ทุกรูป อาจจะมีบริษัทปิกัสโซ่ขึ้นมา แล้วก็เอารูปทั้งหมดไปสแกนแล้วไปผูกกับ NFT เจ้าของจริง ๆ ที่มีภาพจริงคือคนที่มี NFT กับมีรูปจริง ถึงจะเป็นเจ้าของจริง อาจมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นก็เป็นไปได้

 

นอกจากนี้ ต้องมีเวลาว่างพอสมควร เพราะงานในตลาดมันมีเยอะมาก ต้องมีเวลาในการผลิตชิ้นงานต่อเนื่อง ตอนนี้กลุ่ม NFT มีคนอยู่จะเป็นล้านแล้วมั้ง (หัวเราะ) ส่วนใหญ่คนซื้อกันเพราะว่าคอมมูนิตี้นี่แหละ ต้องมีคอมมูนิตี้ อันนี้ผมเริ่มจากในเฟซบุ๊ก ช่วงแรกเราก็จะงงว่าอะไรกันครับเนี่ย ทำไมมันวันหนึ่งคนโพสต์งานกันเป็นร้อย วันหนึ่งคนโพสต์กันเป็นสิบ ถ้าเมืองนอกก็จะเป็นเว็บ Reddit หรือในเว็บพวกนั้นเลย อาจจะมีกลุ่ม Collector ที่เอางานมาอวดกันด้วย บางคนก็เป็นสายเล่นเกมก็มี เหมือนสมัยก่อนที่เราเล่นเกมแล้วเติมเงิน อันนี้จะเติมคริปโตเข้าไป แล้วก็ซื้อกล่องสุ่มตัวละคร ถ้าโชคดีสุ่มได้ตัวหายากก็ซื้อขายกันหลักแสนบาท ลงทุนไม่กี่พันก็เอาไปขายเป็นตัวละครที่เป็น NFT

 

แต่ว่าตอนนี้ทางกฎหมายไทยมันยังไม่มีกรรมสิทธิ์ดิจิทัล แต่มันเป็นกรรมสิทธิ์ที่คนทั้งโลกเขารู้กัน อีกหน่อยกฎหมายอาจจะระบุว่าถ้าคุณมีบ้านหลังนึง มีแค่โฉนดไม่ได้ แต่คุณต้องมีกรรมสิทธิ์ดิจิทัลด้วยก็ได้นะ (หัวเราะ)

 

แล้วถ้าอยากจะลองเล่นตลาด NFT แนะนำให้ลองเทรดคริปโตก่อน เรียนรู้เรื่องสกุลเงินดิจิทัลก่อน เข้าไปลองซื้อขายก่อน แล้วพอลองซื้อขายเสร็จ เราก็จะชินกับการโอนเงินดิจิทัล โอนเหรียญดิจิทัล แล้วเราก็จะสร้างกระเป๋าตังค์เราไปผูกกับ NFT อะไรสักอย่างแล้วเราก็ไปขายได้”

 

 

อยากจะบอกอะไรกับ 1st Jobber

“ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมว่าอนาคตงานน่าจะหาง่ายกว่าสมัยก่อน เพราะว่าเพิ่งดูข่าวมาว่าแถบยุโรป แถบอเมริกาที่แบบโควิด-19 เริ่มหมดแล้ว คนลาออกจากงานประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่ามีที่ว่างสำหรับเราเข้าไป และโลกยุคนี้คนนึงมันไม่ได้ทำงานแค่งานเดียวแล้ว เช่น ผมอยู่ออฟฟิศผมก็ทำงานเป็น Designer Product แต่พอผมกลับมาบ้าน ผมก็ทำ Art toy งานอดิเรกของผมไป NFT มันเอื้อให้งานอดิเรกสามารถขายได้ ส่วนใหญ่อาชีพเกิดจากงานอดิเรก

 

ถ้าอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ลองทำอะไรใหม่ ๆ ลองอะไรก็ลองไปเต็มที่ ทำให้ตัวเองได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติมากที่สุด เพราะว่าพอมาทำงานจริงแล้ว เราทำงานแล้วพลาดไม่ได้เลย สมมติผมไปดูเฟอร์นิเจอร์ให้ลูกค้า ทำออกมาใช้แล้วมันหัก โครงสร้างไม่อยู่ นั่งไม่ได้จบเลย แต่ถ้าในมหาวิทยาลัยเนี่ยเราลองได้ พอเอามานั่งจริงแล้วมันไม่ได้ ค่อยเอาไปแก้แบบ มันค่อนข้างเป็นแบบพื้นที่ที่ให้เราเล่นสนุกได้มากกว่าทำงานจริง”

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.