มาดูมุมมองการขับเคลื่อน BKI สู่ยุคใหม่ กับ “อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน”
พลันที่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BKI) ประกาศผลประกอบการปี 2563 ว่า มีรายได้และกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การยิ่งเป็นการตอกย้ำมุมมองที่สดใสของธุรกิจประกันวินาศภัย และ กรุงเทพประกันภัย ว่าได้ทรานฟอร์มตัวเองสู่ยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
โดยในปี 2563 BKI ประกาศผลการดำเนินงานว่า มีเบี้ยประกันภัยรับรวมที่ 22,858.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% เมื่อเทียบกับปี 2562 มีกำไรสุทธิที่ 2,705.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.4% จากปี 2562 ขณะที่ในปี 2564 BKI ยังวางเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับที่ 5%
ในยุคหนึ่งธุรกิจประกันภัยถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่มีการปรับตัวช้ามากที่สุดไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานับรวมกับช่วง “โควิดดิสรัปชัน” บริษัทประกันหลายแห่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผลก็คือการพัฒนาอย่างรวดเร็วก้าวกระโดด
กรุงเทพประกันภัย เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจของการผลักดันธุรกิจประกันสู่ยุคใหม่ ยุคที่ใช้ดิจิทัลมาช่วยประมวลผล ช่วยในการตัดสินใจ และทำความเข้าใจเชิงลึกกับลูกค้า
ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน กรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BKI) กล่าวว่า ภายใต้การพัฒนาดิจิทัล ทำให้ทุกธุรกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภัยจากการจู่โจมทางไซเบอร์ ที่สามารถสร้างความเสียหายได้มาก ขณะเดียวกันในยุคดิจิทัลลูกค้าเองก็มีความต้องการเพิ่มขึ้น ต้องการให้ธุรกิจนำเสนอบริการที่ดีที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งทั้งหมดนี้ ดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญ
ขณะที่ธุรกิจประกันภัย เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจที่มีความเสี่ยงจากการจู่โจมทางไซเบอร์สูง นอกเหนือจากธุรกิจโรงพยาบาล และสถาบันการเงิน ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลหนึ่งที่ BKI เร่งลงทุนเพื่อพัฒนาระบบไอทีให้ทันสมัยรองรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล
กรุงเทพประกันภัย กำหนดงบลงทุน ด้านไอทีไว้ที่ประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 3% ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านไอทีให้มีความปลอดภัย และสามารถนำเทคโนโลยีที่สำคัญมาใช้ในการพัฒนาบริการและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น การพัฒนาระบบ Big Data สำหรับวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมถึงเสนออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ทุกการตัดสินใจทำได้อย่างแม่นยำ บนพื้นฐานของข้อมูล
นอกจากนี้ยังใช้ในการพัฒนาระบบ AI และ Chat BOT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการกับลูกค้าให้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการลงทุนด้านไอทีนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของธุรกิจประกันภัย แต่ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบในมุมบวก เช่น การเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันภัยโควิด-19 ที่สร้างรายได้หลักให้กับธุรกิจประกันภัยในปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉพาะของกรุงเทพประกันภัย ก็มีเบี้ยประกันภัยรับกว่า 300 ล้านบาท ขณะที่ New Normal ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น ใช้รถน้อยลง ใช้บริการในโรงพยาบาลน้อยลง ซึ่งเหล่านี้กระทบกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของธุรกิจทั้งสิ้น
มองไปข้างหน้าธุรกิจประกันภัย ยังคงมีลูกเล่นและผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่เสมอ อย่างล่าสุด BKI จับมือกับโกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด ในการพัฒนาประกันภัยการจู่โจมทางไซเบอร์ ให้กับกลุ่มลูกค้าของโกลบอลเทคฯ เพื่อช่วยลดวามเสียหายจากภัยไซเบอร์ให้กับธุรกิจ ซึ่งข้อมูลล่าสุดระบุว่า ภัยไซเบอร์นั้น สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยปีละกว่า 30 ล้านล้านบาท
นอกเหนือจากการประกันภัยการจู่โจมทางไซเบอร์แล้ว BKI และยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น การประกันภัยการแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่น่าจะมีการตอบรับที่ดีขึ้นตามอัตราการได้รับวัคซีน และประกันภัยดำน้ำลึกซึ่งเป็นประกันเฉพาะกลุ่มที่มีผู้สนใจอยู่แล้ว รวมถึงประกันภัย Health IPD Plan และประกันภัยโรคมะเร็ง ซึ่งจะเป็นประกัน 2 ชนิดที่มีน่าจะตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีในปีนี้
อภินัทธ์ เชงสันติสุขเด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.