Categories: INSPIRE

คุณกำลังถูกล้วง (ความลับ) หรือเปล่า!!

กลายเป็นกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ถึงกรณีการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า และการนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ประการใด และเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่… จะไม่ให้ข้อมูลได้หรือไม่ จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด หากแต่มีการพูดถึงกันมาเป็นระยะๆ อยู่แล้ว  passion gen จะเล่าให้ฟัง

 

 

อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 34 ปีที่แล้ว จากการเริ่มต้นรับส่งอีเมล์ จนปัจจุบันคนไทยแทบทุกคนมีอินเทอร์เน็ตใช้ ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66.18 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 46.3 ล้านคนหรือ 70% ของประชากร ในจำนวนนี้เกือบทุกคนใช้งาน Google มีผู้ใช้งาน Facebook ประมาณ 50 ล้าน User Lin 40 ล้าน User นั่นคือประเทศไทยก้าวสู่สังคมดิจิทัลมาได้พักใหญ่แล้ว ในโลกของดิจิทัลนั้นสิ่งที่มีค่ามีราคาที่สุดคือ “ข้อมูล” ดังที่ Charles Herisson ซีอีโอของ Betadvisor กล่าวไว้ว่า Data is King

 

ปัจจุบันแทบทุกแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ต่างต้องการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลที่มีค่าเช่น พฤติกรรม ความชอบ การบริโภค การเดินทาง และการจับจ่ายใช้สอย เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต้องการ และมักจะยื่นเงื่อนไขมาแลกเปลี่ยนเสมอ ยกตัวอย่าง ผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Facebook และ Google ที่จะขออนุญาตการเข้าถึงข้อมูลก่อนให้เราใช้บริการ นั่นคือ เราทุกคนกำลังถูกล้วงความลับ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

 

 

การเข้าถึงข้อมูลของเรา อาจจะมองในแง่ร้ายว่า เราได้สูญเสียอธิปไตยบนโลกไซเบอร์ เพราะทุกสิ่งที่คุณทำบนออนไลน์ไม่มีความลับเสียแล้ว… แต่กลับกันด้วยข้อมูลเหล่านั้นทำให้ผู้ให้บริการหลายรายเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงและหยิบยื่นสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ มาให้ได้ เพียงคุณพิมพ์คำว่า “รถยนต์” จะมีรถหลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น หลายแบบ หลายสี ทั้งมือหนึ่งและมือสอง รวมไปถึงบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไฟแนนซ์ ประกัน บริการเรียกรถ ซ่อมรถ ฯลฯ เรียกว่าเสียไปอย่างแต่ได้มาอีกสิบอย่าง

 

อย่างไรก็ตาม การจะอนุญาตให้ข้อมูลกับใครนั้นเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาให้ดีๆ หากเป็นหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของเราจะถูกใช้ไปในทางที่ถูกที่ควร…แต่หากเป็นเว็บไซต์หรือแอปที่ไม่น่าเชื่อถือ ก็ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนจะให้ข้อมูลอันมีค่านั้นไป ซึ่งปัจจุบันมีแอปและเว็บไซต์จำนวนมากที่ออกแบบมาเพื่อล้วงข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะไม่บอกตรงๆ หรือถามหาการอนุมัติแต่อย่างใด

 

 

ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่มีค่า และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย องค์กรที่เอาไปใช้จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตก่อนเสมอ  และถึงแม้จะได้รับการอนุญาตแล้ว แต่หากนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือนำไปขายต่อ ผู้บริโภคก็มีสิทธิในการร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ครับ

 

โดยสรุปแล้ว ข้อมูลของทุกคนเป็นสิ่งมีค่าที่ควรหวงแหนไว้ และควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะอนุมัติให้ใครนำไปใช้ได้ หลักการพิจารณาก็เป็นเรื่องความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์และแอปฯ นั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และถึงที่สุดแล้ว ถ้ามีธุรกิจที่นำข้อมูลเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนำไปใช้ผิดๆ ก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.