ต้องมีเงินเท่าไรถึงเที่ยวอวกาศได้? ทันทีที่เครื่องบินอวกาศยูนิตี้ 22 ทะยานออกจากฐานปล่อยในช่วงเช้าวันที่ 11 ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ในทะเลทรายรัฐนิวเม็กซิโก ยุคของการเริ่มต้นการท่องเที่ยวอวกาศการเริ่มต้นขึ้น ผม บุรินทร์ เหมทัต จะพาเพื่อนๆ ไปสำรวจข้อมูลกันว่า หากอยากจะไปท่องเที่ยวอวกาศจะต้องเตรียมเงินเตรียมใจมากน้อยเท่าไร Virgin Galactic สัมผัสห้วงอวกาศในราคา 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ Blue Origin เปิดราคาเที่ยวอวกาศที่ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทัวร์สถานีอวกาศนาซ่ากับ SpaceX 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทัวร์สถานีอวกาศกับ Axiom Space และ SpaceX 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทัวร์สถานีอวกาศกับ Space Adventure 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Virgin Galactic สัมผัสห้วงอวกาศในราคา 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ เริ่มกันที่ Virgin Galactic ของท่านเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน หลังจากประกาศตัวและซุ่มพัฒนาเครื่องบินอวกาศมานานกว่า 20 ปี ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ก็ได้ฤกษ์ปล่อยยานยูนิตี้ 22 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในระดับความสูงที่ 88 กิโลเมตรเพื่อทดสอบสภาพไร้น้ำหนักเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง Richard Branson ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่า
“ ฉันเฝ้าฝันดูดวงดาวตั้งแต่เด็ก ในตอนนี้ฉันเป็นผู้ใหญ่อยู่ในยานอวกาศ และกำลังมองดูโลกอันสวยงาม”
สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวอากาศกับ Virgin Galactic สนนราคาตั๋วเที่ยวบินอวกาศไปกลับอยู่ที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.15 ล้านบาท โดย Virgin จะเริ่มขายตั๋วเที่ยวบินสุดหรูนี้ในต้นปี 2565
Blue Origin เปิดราคาเที่ยวอวกาศที่ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนๆ ที่กังวลไม่กล้าออกไปเที่ยวที่ไหน อาจจะพิจารณาทริปเที่ยวอวกาศจาก Blue Origin เพราะที่นั่นไม่มีเชื้อโควิด-19 อย่างแน่นอน เจฟฟ์ เบโซส มหาเศรษฐีเจ้าของ Amazon และเจ้าของ Blue Origin บริษัทผู้ให้บริการการท่องเที่ยวอวกาศ มีแผนทดสอบการปล่อยยาน New Shepard ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 โดยมีผู้ร่วมเดินทางจำนวน 6 คน ซึ่งนอกจากเจฟฟ์ เบโซส แล้วหนึ่งในนั้นยังเป็นผู้ประมูลตั๋วโดยสารเที่ยวบินแรกผ่าน Amazon ไปในราคา 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เบโซส กล่าวไว้ก่อนเริ่มงานประมูลตั๋วโดยสารครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ว่า
“การมองเห็นโลกจากอวกาศจะเปลี่ยนแปลงคุณ และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคุณ โลกใบนี้ กับมนุษยชาติ”
แม้การประมูลตั้วใบแรกจะราคาสูงถึง 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่บริษัทเคยเปิดเผยข้อมูลกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า สนนราคาค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวในการเดินทางสู่อวกาศนั้นอยู่ที่ประมาณ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ซึ่งการเดินทางของยานอวกาศ New Shepard นั้นจะใช้เวลาสัมผัสกับห้วงอวกาศในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลาประมาณ 7 นาที บนความสูงระดับ 99 กิโมเมตรเหนือพื้นโลก
ทัวร์สถานีอวกาศนาซ่ากับ SpaceX 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบราคาช่างสูงและต่างกันลิบลับกับ Virgin Galactic และ Blue Origin แต่ก็ได้รับประสบการณ์สุดหรูที่มากกว่าเพราะได้โอกาสอยู่บนสถานีอวกาศถึง 8 วัน ทริปทัวร์สถานีอวกาศนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง NASA และผู้ให้บริการยานโดยสารอวกาศ Boeing และ SpaceX โดยเป็นทริปทัวร์ที่ขึ้นไปเยี่ยมชมสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติการณ์ในอวกาศของเหล่านักบินอวกาศ ที่อยู่บนความสูง 321 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน ทริปทัวร์นี้จึงช่างแปลกและแตกต่างจาก 2 รายแรก และสนนราคาก็ต่างกันราวฟ้ากับเหวเสียด้วย
โดยทริปทัวร์นี้ นาซ่ามีแผนจะเปิดให้บริการปีละ 2 รอบ แต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน โดยผู้สนใจร่วมเดินทางไปด้วยนอกจากจะต้องจ่ายค่าเดินทางแล้ว ยังต้องจ่ายค่าที่พักและอาหารอีกวันละ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นเวลา 30 วันหรือประมาณ 1.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย
ทัวร์สถานีอวกาศกับ Axiom Space และ SpaceX 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แพคเกจเดินทางท่องเที่ยวสถานีอวกาศครั้งแรกที่ Axiom Space ร่วมกับ SpaceX เพื่อท่องเที่ยวสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลา 8 วันเต็ม ภายใต้ชื่อ Axiom Mission 1 ด้วยยานอวกาศ Crew Dragon ซึ่งเป็นยานขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติ
ยานดังกล่าวสามารถบรรทุกคนขึ้นไปได้จำนวน 4 คน โดยมีกำหนดเดินทางครั้งแรกในวันที่ 22 มกราคม 2565 โดยทริปเดินทางครั้งแรกนี้มีผู้โดยสารเต็มแล้ว โดยนอกจากนักบินอวกาศ 1 คนแล้วอีก 3 คนล้วนเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงจาก อิสราเอล สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ส่วนสนนราคาค่าเดินทางในทริปทัวร์อวกาศกับการพักค้างคืนเป็นเวลา 8 วัน สนนราคาอยู่ที่ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้ที่สนใจคงต้องรอคิวนานสักหน่อย
โดย Axiom Space เป็นบริษัทผู้รับงานก่อสร้างส่วนประกอบของสถานีอวกาศ ที่นาซ่าเป็นผู้ว่าจ้างเอง โดย Axiom Space ได้ออกแบบทั้งส่วนที่พักอาศัยบนอวกาศ ห้องวิจัย และจุดชมวิวแบบ 360 องศา เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอวกาศที่กำลังจะเกิดขึ้น
ทัวร์สถานีอวกาศกับ Space Adventure 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Space Adventures ไม่ใช่บริษัทที่คนทั่วไปคุ้นหูนักเมื่อเทียบกับVirgin, Blue Origin และ SpaceX แต่ Space Adventures เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกาที่ก่อตั้งโดย Eric C. Anderson และเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการบินขึ้นสู่อวกาศมานานกว่า 20 ปี
Space Adventures ได้นำนักท่องเที่ยวขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี 2544 โดย เดนนิส ติโต นักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นพลเมืองคนแรกของโลกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ และจากนั้น Space Adventures ได้นำเศรษฐีจำนวน 8 คนบินขึ้นไปบนอวกาศมาแล้ว
ล่าสุด Space Adventures มีเที่ยวบินไปสถานีอวกาศนานาชาติ กับยานอวกาศโซยุซ (Soyuz Spacecraft) ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ซึ่งจะเป็นจะเป็นการพานักธุรกิจชาวญี่ปุ่น 2 คนเดินทางไปด้วย สนนราคาของทริปนี้อยู่ที่ราวๆ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มหาเศรษฐีที่เคยสัมผัสห้วงอวกาศ
เรียกว่าอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมนัก สำหรับการออกไปท่องเที่ยวอวกาศ ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันในวัยเด็กของใครหลายๆ คน ปัจจุบันมีมหาเศรษฐีที่ออกท่องเที่ยวอวกาศแล้วจำวนทั้งสิ้น 8 คน ไม่นับรวมนักบินอวกาศ ใครหล่ะทีจะเป็นรายต่อไป และเศรษฐีคนไทยที่จะออกท่องอวกาศเป็นคนแรกจะเป็นใคร ต้องติดตาม… อภินัทธ์ เชงสันติสุข เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่
Recent Posts สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
Accept