Categories: INSPIREPASSION TALK

“กัญชา” พลิกฟื้นวิถีเกษตรกรอย่างไร? | Passion Talk EP014

การปลดล็อกกัญชาจากพืชเสพติด ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำไปใช้ในเชิงการแพทย์ อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกร สามารถปลูกพืชที่สร้างรายได้ดีที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไปตลอด

เป็นโอกาสดีที่ passion talk ฉบับนี้ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีความคิดก้าวหน้า ต้องการเปลี่ยนแปลงชุมชน สังคม และเกษตรกรในพื้นที่ให้มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการปลูกกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ แนวคิดในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทสัมภาษณ์พิเศษ “กัญชา” พลิกฟื้นวิถีเกษตรกรอย่างไร?

 

 

สัมภาษณ์พิเศษ

อภิรักษ์ ปานเนตรแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนบึงยายเลี่ยม

ปิติสุรกาญจน์ รัศมีเดือน ประธานวิสาหกิจชุมชนสยามเจริญทรัพย์การเกษตร

อคิราภ์ วงศ์วรรณ รองประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจโกโก้ชุมชนเผาเงา

อาทิตย์ คุณาศัย  ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนทุ่งในวัง

 

มุมมองของเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นอย่างไร

ปิติสุรกาญจน์ เราเป็นลูกชาวนา พ่อแม่ของเราทำไร่ทำนามาก่อน ถ้าเราอยากพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนจริงๆ  ผมจึงต้องกลับไปบ้านไปพัฒนาบ้าน พัฒนาชุมชน นำพาเกษตรกร ให้มีความรู้ในเรื่องการแปรรูปการเกษตร ซึ่งเป็นหนทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดีที่สุด นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมอยากกลับไปทำการเกษตรที่บ้าน

อคิราภ์ ครอบครัวมีพื้นฐานด้านการเกษตรมาอยู่แล้ว มีไร่ยาสูบที่มีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกไร่รวม 3 หมื่นไร่ ปัจจุบันปลูกยาสูบ เมล่อน กล้วยไม้  ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการที่ยาสูบความต้องการลดลงเยอะมาก กลุ่มเกษตรกรจึงอยากหาพืชเศรษฐกิจใหม่เข้ามาทดแทน ซึ่งกัญชาเป็นหนึ่งในโอกาสนั้น

อาทิตย์ ส่วนใหญ่เกษตรกรในพื้นที่ยังประสบปัญหารายได้ ถ้าผมสามารถทำให้รายได้ต่อครัวเรือนของเกษตรกรเหล่านั้นเพิ่มขึ้นได้เพียงพอที่เขาจะเลี้ยงครอบครัวเขาได้ ก็เป็นโอกาสที่น่าทำให้สำเร็จ ซึ่งผมเชื่อว่ากัญชามีความเป็นไปได้

อภิรักษ์ ก่อนอื่นต้องมองก่อนว่ากัญชาไม่ใช่แค่พืชเสพติด วันนี้กัญชาสามารถไปใช้ในทางการแพทย์และเป็นพืชเศรษฐกิจท่ามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เปิดใจให้กว้างนิดนึง เราสามารถเอากัญชามาใช้ในงานต่างๆ ได้

ทำไมถึงสนใจปลูกกัญชา

อภิรักษ์ กรมแพทย์แผนไทย เปิดโอกาสให้เกษตรกรใช้ใน 2 ส่วน ส่วนแรก ช่อดอกกัญชา เราจะร่วมกับกรมแพทย์แผนไทยนำไปทำยา โดย 50% ให้กรมแพทย์แผนไทย ส่วนอีก 50% กรมแพทย์จะทำประโยชน์เกิดมูลค่าแล้วคืนส่วนแบ่งให้กับเกษตรกร ส่วนที่สอง ที่ต่ำกว่าช่อดอกลงมา ปัจจุบันถูกปลดจากยาเสพติดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ก้าน ราก ใบ วิสาหกิจชุมชนสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะนำไปทำอาหาร เอาเส้นใยไปทำเครื่องนุ่มห่ม รวมถึงรากที่เอาไปยาแก้โรคปวดเข่าปวดข้อ เอาไปเข้าตำรับยาแผนไทยได้

อคิราภ์ คาดว่ากัญชาจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น โดยเราวางแผนปลูกกัญชาสลับกับการปลูกยาสูบเดิม จากเดิมเพาะที่เราปลูกยาสูบเพียง  1 ครั้งต่อปีก็จะเพิ่มเป็น 2 ครั้งต่อปี คือ ปลูกยาสูบ 1 ครั้ง กัญชา 1 ครั้ง ซึ่งน่าจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้น

ปิติสุรกาญจน์ ผมมองว่าเป็นกัญชาเป็นพืชที่ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราเห็นข้อมูลจากการศึกษาที่ชัดเจนว่า กัญชาเป็นพืชสมุนไพรเหมือนข่า ตะไคร้  ใบมะกรูด ที่สำคัญผู้ที่ใช้กัญชามีสุขภาพที่ดี เพราะกัญชามีคุณสมบัติที่สามารถฟื้นฟู บำบัด รักษาโรคได้

 

กัญชาจะพลิกฟื้นเกษตรกรได้อย่างไร

อภิรักษ์ กัญชาเปรียบกับพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันอยู่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เทียบแล้วมูลค่ากัญชาสูงกว่ามาก เพราะเป็นยารักษาโรค ไม่ใช่อาหาร ดังนั้นราคาของเขาทำให้ชีวิตเกษตรกรดีขึ้นแน่นอน

แต่การปลูกกัญชา โดยเฉพาะในเกรดของการแพทย์ แน่นอนวาจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งแน่นอนเมื่อมีคุณภาพที่สูงกว่าก็จะขายได้ราคาที่ดีกว่า เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับปลูกข้าวนาปี ปลูกข้าวนาปรัง  และปลูกข้าวออแกนิก การลงทุนก็แตกต่างกัน ราคาขายที่ได้ก็แตกต่างกัน

ปิติสุรกาญจน์ สำคัญที่สุดเลยคือ รายได้ของเกษตรกร ถ้าเกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง เขาจะกลับมาฟื้นฟูพืชไร่ของเขา ไม่ใช่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว

 

ความท้าทายของการปลูกกัญชา

อาทิตย์ กัญชานั้นถ้าเกษตรกรไม่มีความรู้มาเลย อาจจะคิดว่าปลูกยาก แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วจะรู้ว่ากัญชาไม่ใช่พืชที่ปลูกยาก แน่นอนอาจจะมีศัตรูพืช หรือวัชพืชรบกวนบ้าง แต่ถ้าเราปลูกในโรงเรือน คุมอุณหภูมิได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

อภิรักษ์ ถ้าจะปลูกกัญชาเพียงอย่างเดียวผมไม่แนะนำ ผมมองว่ากัญชาควรเป็นพืชที่เสริมรายได้ผมเองยังยืนยันแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ใช้หลักการปลูกพืชผสมผสาน กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดี แต่การปลูกกัญชาให้ปลูกเพียงส่วนเดียวพอ ไม่ต้องมากแต่ได้มูลค่า เรียกว่า ทำน้อยได้มาก ปลูกน้อยๆ แต่มูลค่าเขาสูง ปลูกข้าวตันละ 8,000-15,000 บาท ขณะที่กัญชากิโลกรัมละประมาณ 3,000-5,000 บาท ไม่ต้องปลูกเยอะครับ แล้วเอาเงินที่ได้มาส่งลูกเรียนหนังสือ เอาเงินจากกัญชามาทำเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ ทำเกษตรอินทรีย์

ปิติสุรกาญจน์ ความท้าทายในการปลูกอยู่ที่ความรู้ของเกษตรกร เกษตรกรส่วนมากนอกจากทิ้งความรู้ในการปลูกกัญชาไปนานแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่มีประสบการณ์ในการปลูกมาหลายสิบปี อีกทั้งยังไม่ได้ศึกษากฎหมายที่แท้จริงของกัญชาเลย ปัจจุบันนี้การทำให้เกษตรกรเข้าใจเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเพราะประเทศไทยมีการเปิดกว้างความรู้ในการปลูกมากขึ้น

อคิราภ์ คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าปลูกกัญชาผิดกฎหมาย ปลูกกัญชงผิดกฎหมาย การปลูกกัญชาเปิดโอกาสให้เฉพาะนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้น แต่แท้จริงแล้วกระบวนการในการขออนุญาต การปลูกวางไว้หมดแล้ว แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ขาดการศึกษาเชิงลึกว่า จะต้องคุยกับใครติดต่อขออนุญาตหน่วยงานไหน

 

การปลดล็อกกัญชา ไม่ใช่แค่การให้โอกาสคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ในองค์กร ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งทางการเกษตร เกษตรกร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การพัฒนาจากนี้จึงอยู่ที่ความตั้งใจจริงของทางภาครัฐที่จะควบคุม กำกับ และส่งเสริมพืชเศรษฐกิจนี้อย่างไร รวมถึงจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้มากน้อยแค่ไหน ทำให้ดีกัญชาจะกลายเป็น “ยาวิเศษ” ที่ให้ประโยชน์กับทุกภาคส่วนได้

 


 

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.