Categories: INSPIRE

PODCAST THE (PHOTO) SERIES EP.14 : 5 นิสัยทางการเงินสำหรับ 1st Jobber ที่จะเป็นบันไดสู่ความรวย!

ในตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องของการเริ่มต้นลงทุนสำหรับ 1st Jobber กันไปแล้วนะครับ แต่การลงทุนเนี่ยมันเป็นแค่ส่วนเดียวของการสร้างความมั่นคงและประสบความสำเร็จทางการเงินเท่านั้นนะครับ เพราะสิ่งที่เป็นพื้นฐาน เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จทางการเงินเนี่ย คือ “นิสัย”

 

คลาสในวันนี้เราจะมาพูดถึง 5 นิสัยทางการเงินที่ 1st Jobber ควรรู้ เพื่อเป็นบันไดสู่ความร่ำรวยและความมั่นคง

 

การมีงานมีการที่ดีมันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่จะทำให้เรามีความมั่นคง แต่อีกสิ่งที่จะทำให้เรามีวันนั้นได้ คือ การจัดการการเงินที่ดี แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ทำเงินได้เยอะแยะมากมาย แต่ถ้าเรามีนิสัย มีวินัย มีการจัดการที่ดีเนี่ย สิ่งเหล่านี้ก็สามารถกำหนดเส้นทางสู่ความมั่นคงและประสบความสำเร็จได้

 

 

5 นิสัยที่ควรทำ!

1. วางแผนทางการเงิน

 

หลายคนมองว่าการวางแผนทางการเงินเป็นยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องวุ่นวาย ไม่จำเป็น แล้วก็มองข้ามมันไป สิ่งเป็นเรื่องที่ผิดมาก ๆ เพราะฉะนั้นขั้นแรกเลยนะครับคือการสร้างนิสัยวางแผนการเงิน

 

เราอาจจะวางแผนอย่างหลวม ๆ ไว้ก็ได้ ว่าได้เงินเดือนมาก้อนนึงแล้วเราจะเอาไปทำอะไรบ้าง จ่ายค่านู้นค่านี้เท่าไหร่ จะออมเท่าไหร่ จะให้พ่อให้แม่ไหม แล้วแบ่งเงินเดือนออกเป็นส่วนต่าง ๆ เก็บแยกบัญชีเอาไว้ไม่ให้เงินมาปนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินออมที่ควรแยกบัญชีไว้เลยแล้วก็ไม่ยุ่งกับมัน

 

แต่ทางที่ดีเนี่ย เราควรจะทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้แทรคได้ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่และมีรายจ่ายเท่าไหร่ในแต่ละเดือน เดือน ๆ นึงเราเสียไปกับอะไรบ้าง ค่ากิน ค่าอยู่ ค่ารถ ค่าของสุรุ่ยสุร่าย อะ อันนี้เป็นค่าซื้อของขวัญให้ตัวเองนะ อันนี้เป็นค่าเหล้า อันนี้เป็นค่าเน็ตฟลิค เราจะได้รู้ว่าในแต่ละเดือนเนี่ยเราเสียเงินไปกับอะไรมากที่สุด แล้วจะเงินเดือนเท่าไหร่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปแล้ว

 

อย่างผมเนี่ย ถ้าได้เงินมาปุ๊ป จะรีบแบ่งเงินเก็บ 10-20% ไปไว้อีกบัญชีนึงเลย แต่ละเดือนเราจะได้ออมเงินแน่นอน ไม่ใช่ว่ารอเงินเหลือของแต่ละเดือนแล้วค่อยออม ซึ่งถ้าทำแบบนี้มันไม่เหลือเงินให้เราออมแน่ ๆ

 

2. ตั้งเป้าหมายทางการเงิน

 

การตั้งเป้าหมายทางการเงินเนี่ยจะช่วยให้เรามีเป้าหมายที่ชัดในการจัดการเงินของเรานะครับ ก็เหมือนกับการเดินทางที่เราต้องมีเป้าหมาย เพื่อจะได้เดินทางได้ถูกว่าต้องขึ้นรถลงเรือตรงไหนบ้าง

 

เราจึงควรกำหนดเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้นในแต่ละปี และระยะยาว และอย่าลืมเขียนขั้นตอนที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ด้วย เช่น กำหนดเป้าหมายระยะสั้นว่าอยากจะไปเรียนต่อภายในปีสองปี เราก็คำนวณเลยว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ ต้องเก็บเงินแต่ละเดือนเท่าไหร่ หรือเป้าหมายระยะยาว

 

อยากจะได้รถสักคัน คอนโดสักห้องตอนอายุ 30 ก็วางแผนเลยครับว่าเราจำเป็นต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ ปีละเท่าไหร่ ต้องหาเงินเพิ่มเท่าไหร่ เพื่อจะได้คอนโดหรือรถให้สมใจอีช้อย

 

3. รู้เรื่องภาษีไว้บ้าง

 

เรื่องภาษีนี้เป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ ปัญหาคล้าย ๆ กันของเด็กจบใหม่หลายคนก็คือ ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับภาษีเลยแม้แต่น้อย เพราะมหาลัยไม่ได้สอนอะไรเกี่ยวกับภาษีเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับการเข้าตลาดแรงงาน

 

เรียนรู้เอาไว้หน่อยดีกว่าครับ พอถึงปลายปีที่เราจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ เราจะได้รู้ว่ารายได้ที่เราหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเนี่ย จะต้องกระเด็นออกจากกระเป๋าไปเป็นภาษีแผ่นดินเท่าไหร่ แล้วเราสามารถขอเงินภาษีได้เท่าไหร่

 

แม้ว่าหลายคนเนี่ยอาจจะยังมีรายได้ไม่ถึงขั้นที่ต้องเสียภาษี หรือบริษัทเป็นคนจัดการเรื่องให้เราทั้งหมด แต่ในอนาคตที่เรามีรายได้มากขึ้นเราจะได้รู้ว่าเราควรจะจัดการกับภาษียังไง หรือจะทำยังไงเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการเงินที่เรามีอยู่ได้นั่นเองครับ

 

4. ใช้ให้น้อยกว่าที่หามาได้

 

เราทุกคนรู้กันดีนะครับว่าเราหาเงินมาได้เท่าไหร่เราก็ไม่ควรจะใช้มันจนหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรใช้เกินกว่าที่เรามาหาได้ ไม่งั้นเราก็จะเป็นหนี้ อันนี้เป็นสมการง่าย ๆ ที่เรารู้กันทุกคน และการที่เราใช้เงินจนหมด จนกระทั่งเป็นหนี้ นั่นหมายความว่าเวลามีเหตุฉุกเฉินอะไรที่จำเป็นต้องใช้เงิน มันจะกลายเป็นเรื่องที่ชิบหายมาก ๆ

 

เราจึงควรฝึกนิสัยที่จะใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้เราหามา และออมเงินส่วนที่เหลือเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือเอาไปลงทุนเพื่อโอกาสในอนาคตที่สดใส

 

5. เก็บเงินไว้เผื่อฉุกเฉินและเกษียณ

 

คงไม่มีใครอยากทำงานตลอดชีวิตใช่ไหมล่ะครับ หรือคงไม่มีใครอยากจะต้องปวดหัวว่าจะหาเงินที่ไหนมารักษาตัวเองดี ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ เราเกิดประสบอุบัติเหตุขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกนะครับ ในการสร้างวินัยทางการเงินและนิสัยในการออม เพื่อที่เราจะได้มีเงินไว้ใช้ในตอนที่เราจำเป็นต้องใช้เงิน

 

ซึ่งเด็กจบใหม่หลายคนอาจจะมองข้าม แล้วก็คิดว่ามันเป็นเรื่องของอนาคตอันไกลโพ้นนน ยังไม่ต้องรีบคิดตอนนี้ก็ได้ แต่ถ้าคิดเอาไว้เลยก็ไม่เสียหายใช่ไหมล่ะครับ

 

ลองคำนวณดูเลยก็ได้ครับว่าเราอยากมีเงินใช้ตอนเกษียณเดือนละเท่าไหร่ สมมติว่าเกษียณตอน 60 เป๊ะ แล้วคิดว่าเออ 80 เราก็น่าจะตายแล้ว มีเวลา 20 ปีในการใช้ชีวิต ถ้าอยากจะใช้เงินสักเดือนละ 3 หมื่นก็น่าจะพอ แปลว่าเราจะต้องหาเงินให้ได้อย่างน้อย 7 ล้าน 2 แสนบาท เพื่อที่จะได้ใช้เงินเดือนละ 3 หมื่นได้ในวัย 60 ปี ถึง 80 ปี เป็นเงินที่ก้อนใหญ่อยู่นะครับ ก็ลองไปคิดดูครับว่าเราควรจะเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ถึงจะมีเงิน 7 ล้าน 2 ได้ตอนอายุ 60

 

 

3 นิสัยที่อย่าหาทำ!

 

1.ใช้เงินเกินเงินเดือน

 

พอเราเริ่มทำงานและได้รับเงินเดือนก้อนแรกในชีวิตเนี่ย เราอาจจะรู้สึกเหมือนถูกหวยรางวัลที่ 1 ซึ่งพอเรามีกำลังซื้อที่มากขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงตัวเอง อาจจะทำให้เราใช้จ่ายเกินตัวโดยไม่รู้ตัวเองได้นะครับ ซึ่งวิธีแก้นิสัยเสีย ๆ แบบนี้คือการทำแผนทางการเงินของเราในแต่ละเดือนนั่นเอง

 

พอเราวางแผนทางการเงินและทำตามแผนนั้นเองเนี่ย เราก็พอจะควบคุมไม่ให้ใช้เกินเงินที่เรามาได้อยู่นะครับ

 

2. ไม่จัดการหนี้ของตัวเอง

 

การเป็นหนี้เนี่ยไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ แต่มันจะผิดแน่ ๆ ถ้าเราไม่บริหารจัดการหนี้ที่มีดี ๆ 1st Jobber หลายคนพอเริ่มมีเงินเดือนปุ๊ปก็จะอยากได้อะไรสักอย่างไว้เป็นของขวัญให้ตัวเองอะนะครับ บางครั้งก็อาจจะต้องเป็นหนี้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำบัตรเครดิตใหม่หรือใช้บัตรของพ่อแม่

 

ทั้งนี้คำแนะนำจากเว็บไซต์ moneybuffalo เนี่ย บอกว่าเราไม่ควรมีหนี้เกิน 40% ของรายได้ ไม่ว่าจะเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนรวมกันก็แล้วแต่

 

สิ่งสำคัญคืออย่าชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดเด็ดขาด เพราะมันจะมีค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยเพิ่มเข้ามาอีก แล้วถ้าเราปล่อยให้หนี้ลุกลามจนควบคุมไม่ได้ เกินความสามารถที่เราจะเคลียร์ให้หมด มันก็จะกลายเป็นหนี้ก่อนโตแล้วก็จะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะแยะไปหมด

 

วิธีแก้ก็คือกำหนดเดดไลน์วันชำระหนี้ไปเลยครับ จดลงปฏิทินไว้เลยก็ได้จะได้ไม่ลืม ดอกเบี้ยจะไม่เพิ่มนะครับ แต่ถ้าที่ดีเนี่ยก็อย่าเป็นหนี้ตั้งแต่แรกเลยจะดีกว่านะครับ

 

3. ลืมเก็บเงินไว้เพื่ออนาคต

 

เป็นเรื่องที่ผิดพลาดมหันต์เลยนะครับถ้าเราลืมเก็บไว้เผื่อสำหรับอนาคตของตัวเอง ซึ่งโอเคเราอาจจะลืมกันได้บ้าง แต่ทางที่ดีก็ไม่ควรลืมเลยรึเปล่า

วิธีแก้คือเปิดบัญชีเงินฝากประจำ ให้มันหักออกจากเงินเดือนเราทุกเดือนไปเลย หรือลองลงทุนในกองทุนระยะยาวดู เป็นการออมและการลงทุนไปในตัวเองด้วยนะครับ

 

 

สรุปแล้วนะครับ เราต้องฝึกสิ่งเหล่านี้ให้เป็นนิสัยไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทางการเงิน การตั้งเป้าหมายว่าเราจะทำอะไรบ้างแล้วต้องใช้เงินเท่าไหร่ การเรียนรู้เรื่องภาษี การวางแผนออมเงินไว้สำหรับการเกษียณและเหตุไม่คาดฝัน และสุดท้ายคือการฝึกควบคุมความอยากของเราไม่ให้ใช้เงินเกินตัว เพราะไม่งั้นมันอาจหมายถึงความวินาศสันตะโรของเงินในกระเป๋า และชีวิตของเราทั้งหมดเลย

 

เรื่องการเงินนี่ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ นะครับ โดยเฉพาะบรรดาเด็กจบใหม่ 1st Jobber ทั้งหลาย อย่าลืมว่าตอนนี้เราเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว เราย่างเท้าเข้าสู่โลกทุนนิยมและชีวิตของผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวแล้ว

 

อย่าประมาทเด็ดขาด บางคนอาจคิดว่ามีพ่อแม่คอยสนับสนุนอยู่กลัวอะไร แต่ใครจะไปรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เรียนรู้และฝึกฝนไว้ก่อนดีกว่า อนาคตเราจะไม่ลำบากและเป็นบันไดก้าวไปสู่ความร่ำรวยในที่สุด

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.