Categories: INSPIRE

เรียนออนไลน์ไม่มีคุณภาพจริงหรือ ไม่เรียนออนไลน์ได้ไหม ทางออกคืออะไร ?

เรียนออนไลน์ ปัญหาการเรียนออนไลน์-การศึกษาไทยไม่มีคุณภาพจริงหรือ ไม่เรียนออนไลน์ได้ไหม ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร เป็นหนึ่งในประเด็นที่สังคมตั้งคำถาม… passion gen อาสาไปหาคำตอบในเรื่องนี้ ว่าทางออกของการศึกษาคืออะไร ก่อนที่เด็กวัยนี้จะเป็น Lost Generation

 

 

เป็นหนึ่งกระแสที่ร้อนแรงที่สุดในโลกการศึกษา เมื่อกลุ่ม “นักเรียนเลว” จัดกิจกรรมแขวนคอ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และสะท้อนปัญหาการเรียนออนไลน์ ว่าเด็ก 1.8 ล้านคนกำลังหลุดจากระบบการศึกษา เพราะการเรียนออนไลน์ที่ไม่เห็นหัวเด็ก…

 

ต่อเรื่องนี้จึงเกิดคำถามตามมามากมายว่า การเรียนออนไลน์ทุกวันนี้แย่จริงหรือ แล้วหากแย่จริงควรจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร…

 

กระแสดังกล่าวยิ่งร้อนแรงมากขึ้นเมื่อโลก Twitter ติดแฮชแท็ก #ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระบบการศึกษาของไทยอย่างร้อนแรงบนโลกออนไลน์ ในแง่มุมต่าง ๆ ตั้งแต่การเรียนออนไลน์ที่ไม่ได้ผล การเช็กชื่อลงเวลา จนถึงปัญหาที่เด็กเครียด โดดเรียนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดมีนักวิชาการเสนอให้พักเรียน 1 ปี พร้อม ๆ กับสถิติข้อมูลที่น่าสนใจเช่น เด็กนักเรียนโดดเรียน 20% เป็นต้น

 

ต่อคำถามเรื่องนี้ passion gen อาสาไปหาคำตอบ โดยพูดคุยกับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นักวิชาการการศึกษาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดท่านหนึ่ง…

 

 

 

ทำไปแบบไม่พร้อม ทำไปแบบไม่เข้าใจ

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. ภาวิช ให้ข้อมูลว่า  ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเรียนผ่านระบบออนไลน์ ยังคงเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาผ่านออนไลน์ที่ทำกันอยู่นั้นเต็มไปด้วยช่องโหว่และปัญหา เพราะขาดความพร้อมความเข้าใจในหลายด้าน

ด้านผู้เรียน ก็มีความพร้อมไม่เท่ากัน ทั้งในเรื่องเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียน และโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เด็กบางคนมีโน้ตบุ๊ก พีซี บางบ้านมีโฮมเธียเตอร์ ขณะที่เด็กบางคนมีมือถือสเปกต่ำ จอขนาดเล็กเพียงเครื่องเดียว อันนี้เป็นความเหลื่อมล้ำ

 

ผู้สอน ก็มีความแตกต่างเช่นกัน ครูในบางโรงเรียนมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม แต่บางโรงเรียนก็ขาดแคลนทั้งเครื่องมือและอินเทอร์เน็ต เฉพาะ 2 ประเด็นนี้ก็เป็นอุปสรรค

 

แต่ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือ วิธีการการเรียนการสอนออนไลน์ ไม่ได้มีวิธีการและการเตรียมความพร้อม อีกทั้งยังขาดความเข้าใจในการสอนออนไลน์ ยังสอนแบบแลกเชอร์ปกติ เนื้อหาเหมือนเดิมทุกอย่าง แค่เปลี่ยนจากการเรียนที่โรงเรียนมาเรียนที่บ้าน การจัดการสอนภายใต้วิธีคิดนี้ ทำให้การเรียนด้อยคุณภาพมากขึ้นไปอีก

 

ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงการสอบวัดผลที่ยังไม่รู้ว่าจะวัดผลการเรียนได้อย่างไร…

 

 

 

ปรับหลักสูตร ปรับสื่อการสอนเป็นทางออก

สิ่งที่ต้องทำวันนี้คือการปรับหลักสูตร ปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนผ่านออนไลน์มากขึ้น…

 

ในด้านหลักสูตร ต้องมีการสังคายนาหลักสูตรกันใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ จัดการสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสม บางวิชาที่ไม่จำเป็นต้องลดไปก่อน บางวิชาสามารถรวมกันได้ก็นำมารวมกัน แล้วออกแบบวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับออนไลน์

 

ต้องเข้าใจว่า การเรียนออนไลน์ที่บ้านนั้น ขาดการสร้างบรรยากาศในการเรียนแบบในห้องเรียน ขาดกลุ่มเพื่อนที่ช่วยกระตุ้น ปัญหาที่เกิดคือ เด็กที่แต่เดิมมีสมาธิสั้นอยู่แล้ว ไม่สามารถประคองตัวให้สนใจบทเรียนได้ ดังนั้นการเรียนการสอนต้องน่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้

 

“การปรับปรุงเนื้อหาให้มีความกระชับเป็นสิ่งสำคัญ แทนที่เนื้อหาจะเป็นพรืดยาว ๆ  1 ชั่วโมง อาจจะแบ่งเนื้อหาเป็นคลิปสั้น ๆ ความยาว 5-10 นาทีเพื่อให้เด็กมีสมาธิกับแต่ละช่วง และไม่ใช่ให้ครูสอนอย่างเดียว ควรจะมีการทำคลิป ทำวีดิโอแอนิเมชัน ทำสื่อการสอนแบบเชิงตอบโต้ (Interactive)”

 

ในเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตคอนเทนต์สื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ให้เด็กเรียนรู้ โดยเอาเนื้อหาในแต่ละวิชาต่าง ๆ มาย่อยให้เป็นเรื่อง ๆ ให้ง่ายต่อความเข้าใจ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ เกิดจินตนาการ สามารถไปต่อภาพ สร้างองค์ความรู้ในสมองได้

 

โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าในภาพรวมที่เกิดขึ้น การเรียนออนไลน์สร้างความเหลื่อมล้ำมาก ขาดการเตรียมการเรียนการสอนออนไลน์ที่ดี ทำให้ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาต่ำมาก จนน่าเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นนี้จะเป็น Lost Generation นี่ยังไม่พูดถึงการสอบออนไลน์ ที่ยังไม่รู้ว่าจะวัดผลได้อย่างไร ปัญหาเหล่านี้ต้องคิด ต้องเตรียมการแก้ไข แต่ยังไม่เห็นการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.