กฤษณะ ธรรมวิมล – Plant Factory พลิกชีวิตชาวสวนสู่เศรษฐีเงินล้าน | Passion Talk EP016
Plant Factory เกษตรในฝัน…ปลูกพืชสบาย รวยแบบเย็นๆ ในห้องแอร์ ในห้องแอร์ สะอาด มีมาตรฐาน ในพื้นที่น้อย 40 ตารางวาปลูกผักได้เดือนละ 5 ตัน ลงทุนสูงแต่ระยะเวลาคืนทุนสั้นเพียง 1-3 ปี นวัตกรรม Plant Factory เด็กรุ่นใหม่ทำได้ เพียงแค่มีไอเดียกับแผนธุรกิจ นักธุรกิจพร้อมที่จะใส่เงินลงทุน ที่สำคัญสุด Plant Factory ยังปลูกกัญชาโตเร็ว ออกดอกมากได้สารสกัดเยอะอีกด้วย
นวัตกรรมการเกษตรรูปแบบใหม่ ที่นำแนวคิดการจัดการแบบอุตสาหกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลก็ได้คือสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 100 เท่า…สามารถปลูกผลักได้ทุกฤดูกาลโดยไม่ต้องแคร์ดินฟ้าอากาศ ปลอดโรค ปลอดแมลง ปลอดสารเคมี
Plant Factory เป็นแนวคิดใหม่ของการปลูกพืชที่ใช้พื้นที่น้อย แต่ให้ผลผลิตมากกว่าเดิม 100 เท่า แม้จะลงทุนสูง แต่คืนทุนได้ไวใน 1-3 ปี และยังช่วยสร้างความยั่งยืนทางอาหารให้กับสังคมได้อีกด้วย นับเป็นโอกาสดีที่ Passion Gen ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ กฤษณะ ธรรมวิมล CEO บริษัท Mars One Startup ด้าน Plant Factory รายแรกของเมืองไทย ที่จะมีไขปริศนาของ Plant Factory ว่าทำไมคนรุ่นใหม่ถึงต้องสนใจ
Plant Factory คืออะไร
Plant Factory คือ ระบบการปลูกพืชแบบใหม่ในห้องปลอดเชื้อที่ไม่ให้มีเชื้อโรคเข้ามา โดยใช้แสงจากหลอด LED มาใช้ให้พืชสังเคราะห์แสงแทนแสงแดด
ทำไมต้องเป็น Factory และมีลักษณะอย่างไร
ต้องบอกว่าในการปลูกผักในอดีต เป็นการปลูกผักบนพื้นดินทั่วไป รดน้ำปกติ แต่เทคโนโลยีของ Plant Factory สามารถย่อที่ดินจากที่เคยใช้จำนวนมากลงไป 100 เท่า…แต่สามารถปลูกผักได้ในปริมาณเท่ากัน หรือในพื้นที่เท่ากัน Plant Factory จะให้ผลผลิตมากกว่าเดิม 100 เท่านั้นเอง การจะทำแบบนั้นได้ เราต้องใช้แนวคิดแบบโรงงานเข้ามาช่วยทำให้ปลูกเร็วขึ้น ทำให้ Scale ที่ปลูกในพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีความหนานแน่นของผักมากขึ้น โดยใช้หลักการของ Speed กับ Scale ในโรงงานอุตสาหกรรมาพัฒนาร่วมกับการเกษตร
พื้นที่ 40 ตารางวาในหลักการนี้ปลูกผักได้ขนาดไหน
ถ้ามีพื้นที่ 40 ตารางวา จริงๆ เป็นตัวเลข Economy of Scale ที่เราทำวิจัยมา 6 ปี เราสามารถปลูกฟักในพื้นที่ 40 ตารางวา ได้ถึงเดือนละ 5000 กิโลกรัมหรือ 5 ตัน
ผักที่สามารถคละกันได้หลากหลาย
เราทำวิจัยมา 6 ปีมีประเภทผักที่เราปลูกร้อยกว่าชนิด ก็จะมีความหลากหลายครับ ทั้งผักไทย ผักต่างประเทศ และผักบางชนิดที่คนไทยไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสามารถปลูกผสมกันใน Factory ได้
จุดแข็งและความน่าสนใจของ Plant Factory
Plant Factory ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัด pain point ทางการเกษตรที่มีปัญหาแทบจะทั่วโลกเลย
อย่างแรก Plant Factory เราไม่มีปัญหายาฆ่าแมลง เพราะเราไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงเลย 100%
อย่างที่สอง เรื่องของความสะอาด เนื่องจาก Plant Factory เราปลูกผักในห้องปลอดเชื้อจึงมีความสะอาดมาก ไม่มีเชื้อโรคเลยเป็น Medical Grade ข้อดีคือเราสามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องล้าง การล้างผักอาจะทำให้ผักสกปรกจากเชื้อโรค จากน้ำประปา
ประการที่สาม สารอาหารที่อยู่ในผัก Plant Factory ทำเพื่อลดระยะการขนส่งของผัก เนื่องจากใช้พื้นที่เล็กมาก สามารถปลูกในเมืองได้ ผู้บริโภคสามารถรับผักเราในระยะทางสั้นๆ สารอาหารก็จะไม่สูญเสียจากระยะเวลาการขนส่งที่ยาวนานไป เพราะมีงานวิจัยระบุว่า ผักที่ตัดแล้วจะสูญเสียคุณค่าทางอาหารอย่างรวดเร็วภายใน 72 ชั่วโมง ดังนั้นการได้บริโภคผักที่สดสะอาด ที่ส่งถึงมืออย่างรวดเร็ว จึงเป็นการการันตีว่า คุณจะได้สารอาหารจากผักอย่างครบถ้วน
มีความเข้าใจผิดหลายประการเกี่ยวกับผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิก อยากให้เล่าให้ฟังนิดนึง
จริงๆ ต้องบอกอย่างนี้ครับว่า ผักไฮโดรโปนิก กับผักออแกนิกที่เรากลัวกันว่าจะมีสารตกค้างที่มาจากปุ๋ยนั้น ส่วนใหญ่คนมีความเข้าใจผิดกัน เพราะนักวิชาการเกษตรในประเทศจะออกมาอธิบายว่า ผักไฮโดรโปนิกกับผักออแกนิกที่ปลูกไม่ได้มีปัญหา มีคุณภาพเท่าเทียมกัน มีความสดสะอาดเหมือนกัน ไม่ว่าหน่วยงานราชการ สาธารณสุข สสส. กระทรวงวิทยาศาสตร์ก็มีบทความว่า ผักไฮโดรโปนิก กับผักออแกนิก ไม่ได้มีสารตกค้างอันตรายที่แตกต่างกัน หรือบอกว่าผักไฮโดรโปนิกมีเยอะกว่า
ดังนั้นส่วนใหญ่แล้ว ในต่างประเทศเอง Plant Factory ทั่วโลกก็ใช้การปลูกแบบไฮโดรโปนิกหมดเลย บางประเทศเองอย่างอเมริกา คนปลูกไฮโดรโปนิกยังสามารถขอมาตรฐานออแกนิกได้ด้วย ฉะนั้นทุกคนสบายใจได้ไม่ว่จะเป็นไฮโดรโปนิก หรือออแกนิกก็มีความสะอาด บริโภคได้เท่าเทียมกัน
ประเทศชั้นนำของโลกที่ปลูกผักแบบไฮโดรโปนิก มีประเทศอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ การปลูกไฮโดรโปนิกมีการขยายตัวมากอย่างญี่ปุ่นก็ใช้ไฮโดรโปนิกเยอะมาก ใกล้ตัวเราอย่างมาเลเซียก็มีระบบปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกเกือบจะทั้งประเทศเลย เพราะเขาไม่มีสภาพพื้นที่ที่เหมาะกับการเพาะปลูกเหมือนบ้านเรา หรืออย่างในยุโรปอเมริกาก็ปลูกไฮโดรโปนิกเยอะมาก อย่างที่อเมริกาก็มีการลงทุน Plant Factory กว่า 7000 ล้านบาท และเป็นไฮโดรโปนิกแทบจะ 100%
การลงทุน Plant Factory ใช้เงินลงทุนมากน้อยเท่าไร
จริงๆ ผมเริ่มจากงานวิจัยเมื่อ 6 ปีที่แล้วด้วยเงินทุนจากรัฐบาล เราก็เลยวิจัยในเรืองที่ว่าการปลุกผักแบบนี้ต้องเปิดไฟ เปิดแอร์ สร้างห้องปลอดเชื้อให้ผัก ซึ่งเราได้วิจัยว่าทำอย่างไรจะปลูกผักเหล่านี้ได้ราคาถูก ปัจจุบันเราสามารถปลูกผักให้ได้ต้นทุนไม่ต่างจากออแกนิกแล้ว โดย 1 โรงเรือนพื้นที่ 40 ตารางวา ใช้เงินก่อสร้างประมาณ 5 ล้านบาท ซึ่งต้องบอกว่า ถ้าปลูกผักจำนวน 5 ตัน และปลูกแบบออแกนิกผมเชื่อว่าใช้เงินมากกว่า 5 ล้านบาท
ถ้าคนสนใจลงทุนด้วยจะคืนทุนไวขนาดไหน
ขึ้นอยู่กับคำว่า “ถูกที่ ถูกเวลา” ผมจะพูดเสมอว่า Plant Factory ต้องถูกที่ถูกเวลา ถ้าเราอยู่ในทำเลที่ดีมากๆ มีผู้บริโภคมาซื้อผักเรา และบริเวณนั้นจำหน่ายผักในราคาที่แพงด้วย ยกตัวอย่าง เช่น Plant Factory ที่สิงคโปร์ ซึ่งที่นั่นผักผลไม้แพงมากเพราะต้องนำเข้าหมด ถ้าเราปลูกเอง ต้นทุนก็จะถูกกว่านำเข้า ถ้าทำเลดี ลูกค้าซื้อเยอะ ก็จะคืนทุนได้ไว แต่อัตราการคืนทุนโดยเฉลี่ยของทั่วโลกจะอยู่ที่ 1-3 ปีต่อ 1 Plant
ถ้าหากคนเก่งมาก มีทำเลที่ดีมาก มีลูกค้าที่รอซื้อ อย่างบางอย่างที่ทำเป็น Subscription Model ยังไม่ทันสร้างฟาร์มก็เปิดให้จองผักก่อนเลย ถ้ามีแบบนี้อยู่แล้วตั้งในทำเลที่ดี เช่น สยาม ทองหล่อ เราสามารถคืนทุนได้เร็วน้อยกว่า 1 ปีด้วยซ้ำไป อยู่ที่การวางแผนการตลาด ทำที่ไหน ปลูกอะไรให้ใคร ถ้าเรามีลูกค้าที่กินผักราคาสูง หรืออยู่ชุมชนที่หนาแน่นพอ การคืนทุนก็จะเร็วมาก
พูดถึง Plant Factory แล้วมักนึกถึงพืชผักกินใบกัน จริงๆแล้วเราปลูกได้หลายอย่าง เล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่าปลูกอะไรได้บ้าง
จุดเริ่มต้นของ Plant Factory เริ่มจากผักกินใบที่เราเรียกว่า Leafy vegetable อันนี้จะปลูกง่ายเพราะผักกินใบไม่มีออกดอกผสมเกสร Plant Factory ส่วนใหญ่ก็ปลูกผักทรงพุ่งสูงไม่เกิน 25เซ็นติเมตร ซึ่งทำได้ง่ายมากใน Plant หลังๆ ก็เริ่มมีปลูกพืชอื่นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น สตรอว์เบอร์รี มะเขือเทศ เราก็วิจัยและเอามาปลูกใน Plant Factory ซึ่งแน่นอนพืชเป็นผลก็ต้องมีขั้นตอนที่พิเศษขึ้น ต้องมีการผสมเกสรก็จะยุ่งยากมากขึ้น แต่ถ้าทำได้ก็หมายถึงว่าจะมีสตรอว์เบอร์รีกินเกือบทั้งปีโดยที่ไม่ต้องรอฤดูหนาว ต่อไปจะมีสตรอว์เบอร์รีทุกวัน
อีกประการคือ การปลูกสมุนไพร รัฐบาลเองก็มี สวทช.ที่ทำ Plant Factory เพื่อรณรงค์ในการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในการทำยา ใน Plant Factory มีข้อดีคือ สามารถเพิ่ม Yield ให้กับผลผลิตได้ เช่น เราสามารถเพิ่มสารสำคัญในสมุนไพร ทำให้การนำไปสกัดได้สารสำคัญมากขึ้น ต้นทุนการปลูกก็จะน้อยลง ฉะนั้นการวิจัยเรื่องสมุนไพรก็แพร่หลายมากขึ้น
อย่างปัจจุบันบ้านเราก็กำลังสนใจในเรื่องกัญชา นักวิจัยส่วนใหญ่ก็ใช้ Plant Factory ในการทดลองปลูกกัญชา ทำให้กัญชาโตเร็วขึ้นออกดอกมากขึ้น และมีสารสกัดในกัญชามากขึ้นด้วย
อยากให้เล่าถึงสิ่งที่เราทำตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จที่เราทำมีอะไร อย่างไร
ใน 6 ปีที่ผ่านมาเราเริ่มจากการทำวิจัย ได้ทุนจากรัฐบาล พอปีที่ 3-4 ก็แปลงร่างเป็น Startup โดยเอางานวิจัยและ Business Model ที่ทำไปพิชชิ่ง (Pitching: การขายผลงานของ Startup ต่อนักลงทุน) เพื่อทดสอบดูว่ามีนักลงทุนรายไหนให้ความสนใจบ้าง ปรากฎว่าในตอนที่เราเสนอปีที่ 3-4 มีนักลงทุนให้ความสนใจเยอะมาก ตั้งแต่ปี 2561 ต้องคุยธุรกิจ ลงทุน มีการออกแบบก่อสร้างตามจุดต่างๆ ที่ Venture Capital (VC : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) ให้เราเข้าไปทำ ซึ่งในช่วงปีหลังๆ เราพยายามเติบโต แต่ช่วงโควิดก็มีสะดุดลงนิดนึง
แต่ที่เราโฟกัสในปัจจุบันคือการเป็นที่ปรึกษาการสร้าง Plant Factory ที่วัดพระบาทน้ำพุของหลวงพ่ออลงกต ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคมหรือ Social Enterprise ของวัดพระบาทน้ำพุ ภายใต้ชื่อ “สยามปันสุข” ด้วยดำริของหลวงพ่อที่ต้องการให้วัดมีที่เพาะปลูกพืชเลี้ยงผู้ป่วยที่มารับการรักษา รวมถึงเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้กับวัด เพื่อสร้างความมั่นคงลดการพึ่งพาเงินบริจาค รานได้ทีเกิดขึ้นจาก Plant Factory ทั้งหมดจะนำไปสนับสนุนกิจกรรมที่วัดดำเนินการ ซึ่งทุกคนทราบอยู่แล้วว่า วัดพระบาทน้ำพุเป็นวัดที่ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย HIV และเด็กกำพร้าด้วย ซึ่งในแต่ละเดือนวัดจะต้องใช้เงินในการดูแลผู้ที่ขาดโอกาสเป็นจำนวนมาก เราคาดหวังว่าปัญหาเหล่านี้จะทุเลาเบาบางลง
และ “สยามปันสุข” แห่งนี้จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับเกษตรกร และผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้การทำ Plant Factory ด้วย เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าใจเกษตรนวัตกรรมและนำแนวคิดของ Plant Factory ไปทำเพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้กับชุมชนได้ด้วย
อนาคตจะเห็นเราเติบโตอย่างไรบ้าง
สิ่งที่คนไทยเก่งมากคือการเกาตร การเกษตรจึงเป็นสิ่งที่คนไทยแข็งขันได้ ในอนาคตเราจึงคิดว่า จะมี Mar One Plant Factory อยู่ที่โตเกียว ลอนดอน มิวนิค สิงคโปร์ แล้วเราปลูกผักไทยให้ลูกค้าต่างประเทศได้ทาน ตรงนี้เป็นศักยภาพของคนไทยที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เราเลยมุ่งหวังทำสิ่งนี้เพื่อบ่งบอกกับทั่วโลกว่า ประเทศไทยเองก็ไม่แพ้ใครในด้านนี้ แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมอื่นเราอาจจะสู้เขาไม่ได้แล้ว แต่เรื่องเกษตรเราเป็นประเทศที่มี DNA การเกษตรทั้งประเทศ เราสามารถพาเรื่องนี้ไปสู่ระดับโลกได้ง่าย
ฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่มี Passion ต้องการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง
อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่ทุกคนทิ้ง เด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ทำ เพราะเราจดจำภาพการเกษตรที่ทุกข์ยาก ลำบาก ยากจน แต่ในปัจจุบัน Plant Factory กลายเป็นสิ่งที่พลิกโฉม ทำเกษตรที่ไม่ต้องตากแดดตากฝน ทำงานในห้องปลอดเชื้อที่สะอาด ไม่ต้องใช้แรงงานมากมาย แต่สามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพสูง สะอาด ในราคาที่จับต้องได้
จึงเป็นโอกาสที่เด็กรุ่นใหม่สามารถเข้ามาทำได้ โดย Plant Factory สามารถออกแบบเป็นแผนธุรกิจที่น่าสนใจแล้วนำเสนอเพื่อให้นักลงทุนมาลงทุนโดยที่ไม่ต้องใช้เงินตัวเองเลยก็ยังได้ เรื่องนี้เด็กรุ่นใหม่ ถนัดอยู่แล้ว แต่ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้คือ เรามีเครื่องมืออะไร มี Business Model อะไร Plant Factory เป็นเครื่องมือหนึ่ง
เด็กรุ่นใหม่อาจจะสร้างโมเดล Plant Factory ที่ผลิตสมุนไพรส่งป้อนให้กับบริษัทผลิตยา แน่นอนว่าโรงงานผลิตยาก็ต้องการผลิตยาสม่ำเสมอ เราก็สามารถส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สามารถนำไปสกัดทำยาได้ทุกเดือน ฉะนั้น Business Model แบบนี้คุณก็สามารถนำเสนอได้ ถ้าคุณไปเจอโรงงานผลิตยาที่เขาต้องการสารสำคัญจากพืชบางอย่างแล้วคุณปลูกได้
ดังนั้นถ้ามีไอเดียแบบนี้ แล้วปลูกได้ เมื่อนักลงทุนเห็นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากๆ ก็จะเลือกลงทุนกับเรา ดังนั้นเด็กรุ่นใหม่ ไม่ต้องกังวลว่ามีทุนน้อยทุนมาก ให้กระโดดเข้ามาในธุรกิจ Startup แล้วพยายามนำเสนอออกแบบธุรกิจ จนกว่าจะมีคนรับฟังโมเดลธุรกิจของคุณ นั่นหมายความว่าถ้ามีคนยอมที่จะฟังและซื้อไอเดียของคุณ นั่นคือคุณประสบความสำเร็จแล้ว
Plant Factory จะเป็นเกษตรนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนมุมมองด้านการเกษตรของไทย จากเกษตรแรงงานสู่เกษตรนวัตกรรม จากการปลูกพืชบนดินเป็นการปลูกในร่มแบบ Medical Grade ซึ่งแน่นอนว่าผักที่สดกว่า สะอาดกว่า ปลอดภัยกว่า ก็ย่อมที่จะแพงกว่า นวัตกรรม Plant Factory ของ Mars One จึงเป็นหนึ่งในตัวปลดล็อกอนาคตทางการเกษตรของไทย
อภินัทธ์ เชงสันติสุขเด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.