Categories: INSPIREPASSION TALK

DEESAWAT แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง | Passion Talk EP012

เพราะการหยุดนิ่ง ก็เสมือนการเดินถอยหลัง DEESAWAT จึงเดินหน้าธุรกิจตั้งแต่เกือบ 50 ปีที่แล้ว จากธุรกิจรับจ้างผลิต ก้าวสู่มีแบรนด์ของตัวเองและเป็นผู้กำหนดเทรนด์ ไมค์-จิรชัย เผยหัวใจของความสำเร็จว่า อยู่ที่การมีพันธมิตรที่ดี มีทีมงานที่เก่ง และเล่นกับผลิตภัณฑ์ให้เป็นเรื่องสนุก

ภายใต้สภาวะไม่ปกติของโลก การจะเลือกทำธุรกิจอะไรสักอย่างไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะต้องถูกใจลูกค้า สามารถแข่งขันได้ และยืนหยัดได้ในระยะยาว…ภายใต้ความเป็นผลิตภัณฑ์ของไทยนั้น เฟอร์นิเจอร์หนึ่งในธุรกิจของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และกวาดรางวัลในเวทีโลกมาแล้วมากมาย หนึ่งในแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแกร่งที่สุดของไทยคือ “DEESAWAT” แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในตลาดโลก

Passion gen ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ R&D &Marketing Director Deesawat Industries Co.,Ltd. เจ้าของแบรนด์ DEESAWAT ถึงการก้าวสู่ Trend Setter แห่งวงการเฟอร์นิเจอร์

 

DEESAWAT คือใคร ทำธุรกิจอะไร

แบรนด์ DEESAWAT เราเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ทำธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ตั้งแต่ปี 1972 หรือเกือบ 50 ปีที่แล้ว

DEESAWAT มีความเชี่ยวชาญในส่วนของงานเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เนื่องจากเรามีธุรกิจที่ครอบคลุม ตั้งแต่โรงเลื่อย โรงอบ เฟอร์นิเจอร์ ไม้พื้น กับประตูทั้งหมดของเราเอง ธุรกิจของเราเน้นการผลิตเพื่อและส่งออกเป็นหลัก ธุรกิจของ DEESAWAT เริ่มต้นจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และเริ่มพัฒนาสินค้าขึ้นมาเรื่อยๆ

ระยะแรกเป็นการผลิตแบบ OEM (Origianl Equipment Manufacturer) ตามแบบของลูกค้า ต่อมาจึงทำแบรนด์ของตัวเอง มีผลิตสินค้าในดีไซน์ของตัวเอง จนมาระยะหลัง DEESAWAT เป็นคนสร้างเทรนด์ให้กับธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เอง ทำให้แบรนด์ DEESAWAT เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในตลาดโลก

ปัจจุบันสินค้าของดีสวัสด์ 80-90% ส่งออก มีอยู่บางส่วนที่เป็น OEM และ Customize อยู่อย่างละครึ่ง เรามองโอกาสตลาดที่จะโตขึ้นในลักษณะแบรนด์หรือคอนเซ็ปต์ของ DEESAWAT จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนของฐานลูกค้าเรา เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เดิมซื้อเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันลูกค้ามองว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานไม้ จึงเลือกซื้อสินค้าของเราตั้งแต่ ไม้พื้น ประตู โปรเจ็คส์ แล้วเข้ามาปรึกษาถึงเรื่องการออกแบบด้วย

หัวใจความสำเร็จของ DEESAWAT คืออะไร

เรามองว่า DEESAWAT เกิดขึ้นจากเราทำงานไม้ของเรามานาน มีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับงานไม้ มีช่างที่เชี่ยวชาญในการผลิตงานไม้มายาวนาน เพราฉะนั้นลูกค้าที่เข้ามา DEESAWAT จะรู้สึกว่าได้ถึงสิ่งที่ดีๆ และเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์

ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของเราเกิดจากการได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก (DITP) ไม่ว่า จะเป็นการหาตลาด การชี้แนวการทำตลาด หรือการพัฒนาสินค้า ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออก ก็พยายามผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าสู่ตลาดที่มีศักยภาพมาโดยตลอด และ DEESAWAT เองก็เป็นผู้ประกอบการกลุ่มแรกๆ ที่มีส่วนร่วมในการเติบโตครั้งนั้น

อยากให้เล่าถึงโครงการที่ทำกับเด็กออทิสติกส์

ล่าสุด DEESAWAT มีโครงการความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันเราร่วมมือกับแบรนด์ Heartist ซึ่งเป็นแบรนด์ที่พัฒนาสินค้าประเภทผ้าทอ และผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กออทิสติกส์อยู่ ซึ่งตรงนี้ทำให้เราร่วมพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จนได้รับรางวัล Thailand Green Design Awards และกำลังจะส่งไปประกวดในต่างประเทศอยู่

ธุรกิจจำเป็นต้องหาโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ หลายคนมองว่า สินค้าสวยเพียงอย่างเดียวก็พอ แต่สำหรับ DEESAWAT แล้วสินค้าที่ดีจะต้องมีคอนเท้นท์ ทำอย่างไรจึงจะทำให้สินค้าใหม่ที่ออกมาดีกว่าสินค้าเก่า และที่ว่าดีคือดีกว่าอย่างไร ไม่ใช่เพียงแค่รูปลักษณ์แต่ประโยชน์ที่ได้รับน่าจะเป็นอะไรที่มากกว่าความสวยงาม 

ปัจจุบันเราได้เริ่มทำงานอาร์ท และกำลังจะได้ไปโชว์ที่เมืองเวนิส ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะมีส่วนผสมของงานอาร์ทมากขึ้น นอกเหนือจากฟังก์ชันและดีไซน์ที่เป็นจุดเด่นอยู่แล้ว DEESAWAT จะก้าวไปสู่ตลาดที่มีความเปลี่ยนแปลงขึ้น ตลาดใหม่ๆ ที่มีความท้าทายมากขึ้น เราไม่ย่ำอยู่กับที่ ไม่พอใจเพีงยงแค่ความสำเร็จในรูปแบบเดิมๆ 

ถึงตรงนี้ อยากจะแชร์ประสบการณ์กับผู้ประกอบการหลายคนว่า เมื่อทำธุรกิจแล้ว ต้องหมั่นหาโอกาสใหม่ๆ ช่องทางธุรกิจใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ตัวเอง เล่นกับผลิตภัณฑ์ให้เหมือนกับเป็นของเล่น เป็นเรื่องสนุก หมั่นหาตลาดใหม่ๆ เพื่อไปเจอลูกค้ากลุ่ม เพราะทุกช่องทางทุกตลาดมีโอกาส มีลูกค้าอยู่เสมอ แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องรู้ตัวคุณเองก่อน ว่าคุณเก่งตรงไหน ดีกว่าคนอื่นอย่างไร อย่าง DEESAWAT เราเก่งเรื่องงานไม้ เรามีวัตถุดิบที่เยอะกว่าคนอื่น ที่คัดสรรได้ดีกว่าคนอื่น

แนวโน้มของผู้บริโภค เแนวโน้มการออกแบบในระดับโลกเป็นอย่างไร

ถ้าพูดถึง trend ในต่างประเทศ แต่ก่อนเราดูเรื่องวัสดุกับสีและรูปทรง แต่ปัจจุบันผมมองว่า trend เปลี่ยนไป ภายหลังการระบาดของโควิด-19 ยังไม่มี trend ที่แน่นอนเกิดขึ้น DEESAWATเองจึงสร้าง trend ของตัวเองขึ้นมาว่า หลังโควิด-19 ทิศทางของ DEESAWAT คืออะไร ซึ่งเราเองก็เอาศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานเฟอร์นิเจอร์ที่กำลังจะเปิดตัวปลายปีนี้ ผมจะเอางานที่เป็น Zinc Nano ต้านเชื้อแบคทีเรียมาเสริมให้ลูกค้าเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ขึ้น

แนวโน้มในปัจจุบันจึงไม่เหมือนก่อนโควิด-19 การเติบโตเปลี่ยนไป โอกาสเปลี่ยนไป ถ้าคุณโดดเด่น ก็มีโอกาสที่เติบโตเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งได้

ธุรกิจต้องสร้างแนวโน้มตัวเอง

ล่าสุด DEESAWAT ได้โชว์ผลิตภัณฑ์ใน Trend Forum ที่ฝรั่งเศส การที่เราทำอะไรแตกต่าง ทำอะไรใหม่ๆ มีแนวคิดใหม่ๆ ต่างชาติมองว่าน่าสนใจ ฉะนั้นปัจจุบันแบรนด์ DEESAWAT ได้อยู่ใน Trend Forum คือ เราได้กลายเป็น Trend Setter กำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์ กลายเป็นเราไม่ต้องมองคนอื่นอีกต่อไป แต่เป็นคนอื่นมาดูมองเรา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราเก่งอยู่คนเดียว แท้จริงแล้วทุกคนสามารถทำได้แต่ต่องมองตลาดที่เปลี่ยนไป และสร้างความแตกต่างของตัวเองให้ได้เท่านั้นเอง

แนะนำผู้ประกอบการไทยให้เติบโตในตลาดโลกอย่างไร

ผู้ประกอบการไทยและนักออกแบบไทยมีความสามารถเยอะมาก การออกแบบทุกคนสามารถทำได้ แต่จะออกแบบอย่างไรให้แตกต่าง ให้น่าสนใจ เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการต้องคิด ซึ่งความคิดนั้นต้องเชื่อมโยงกับความมีตัวตน เช่น บางครั้ง ถ้าออกแบบของที่ทันสมัยมากๆ ไฮเทคมากๆ ลูกค้าอาจจะไม่ยอมรับ เพราะภาพลักษณ์ของไทยในสายตาคนต่างประเทศ อาจจะนึกไม่ออกว่า ประเทศไทยจะทำสินค้าไฮเทคได้อย่างไร

การออกแบบหรือการสร้าง Trend เราต้องมองว่า เราคือใคร เราเป็นคนไทย เราเป็นคนเอเชีย ฉะนั้นเราไม่เก่งเรื่องเทคโนโลยี แต่เรามีภูมิความรู้เก่าแก่เรื่องสมุนไพร มีความเชี่ยวชาญเรื่อง People Interaction หรือการดูแล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับจริตกับหน้าตาของเราเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนมองว่า เอา Trend ยุโรปมาสร้างแบรนด์ยุโรป ดูเลิศหรูอสังการ แต่ตอนจบเราเป็นคนไทยไม่ใช่ฝรั่ง ไปแล้วจึงไปได้ไม่สุด

ผมเคยไปสอนในคลาสเรียน เคยบอกว่า สมมุติ ถ้าเมืองไทยเราคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิดได้ คนก็จะไม่เชื่อมั่น เพราะภาพลักษณ์ความเป็นไทย ทำให้คนไม่เชื่อมั่นว่าจะทำวัคซีนได้ดี ในทางกลับกันถ้าไปค้นพบสมุนไพร แล้วบอกว่าป้องกันโควิดได้ ความน่าเชื่อถืออิมเมจของประเทศจะน่าเชื่อถือมากกว่า คนจะซื้อสินค้ามากกว่า

ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการพัฒนาช่องทางการขายต้องดูจัวเองด้วย คาแรคเตอร์ตัวเอง และแบรนด์ของประเทศด้วยว่ามีจุดด้อยจุดเด่นอย่างไร แล้วทำไปสิ่งนั้น

คุณจิรชัย มีอะไรฝากถึงคนรุ่นใหม่บ้างไหม

ปัจจุบันน้องๆ  หลายคนพยายามคิดพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งคือ การเริ่มอะไรใหม่โดยมองตลาดลูกค้าไม่ออก ทำขึ้นมาแล้วค่อยมาหาลูกค้าเป็นสิ่งที่ผิด ก่อนอื่นในการพัฒนาอะไรขึ้นมาต้องวางแผนก่อนว่า จะทำอะไรเพื่อขายใคร ขายที่ไหน ขายอย่างไร ต้องตั้งโจทย์ก่อนจะได้เดินไปถูกทาง ถ้าตั้งโจทย์กว้างๆ สุดท้ายจะวิ่งไปไหนก็ไม่รู้ แล้วก็คาดเดาไปว่าจะหาปลาเจอในทะเล คำถามคือ ควรตั้งโจทย์ก่อนไหม อยากได้ปลาอะไร ใช้เหยื่ออะไร จะง่ายกว่าไหมในการหาปลา

ในทะเลมีปลาอยู่เสมอ…โอกาสจึงมีอยู่สำหรับผู้ไขว่คว้า แต่การจะคว้าโอกาสและทำให้สำเร็จได้นั้น “จุดเริ่มต้น” สำคัญ ถ้าเริ่มต้นไม่ถูก ก็เหมือนกับการติดกระดุมผิดเม็ด เสื้อจะออกมาสวยงามก็คงไม่ได้ คนรุ่นใหม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการคิดและการวางรากฐานให้มาก เพื่อทำให้ความฝัน สำเร็จได้ดังตั้งใจ

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.