ใกล้สิ้นปีแล้ว สำหรับมนุษย์เงินเดือนเช่นเรา เป็นช่วงที่ต้องวางแผนการลดหย่อนภาษี วันนี้ passion gen จะพาไปรู้จักกัน SSF กองทุนรูปแบบใหม่ที่มาแทน LTF เมื่อปีที่แล้ว และไปดูกันว่า ถ้าจะเลือกซื้อ SSF ซักกองในปีนี้ ควรเลือกกองไหนดี…

 

ก่อนอื่นแนะนำ SSF ก่อนว่าคืออะไรเพราะหลายคนยังไม่รู้จัก  SSF ย่อมาจาก Super Savings Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม ที่รัฐออกมาเพื่อทดแทนกองทุน LTF  (Long Term Equity Fund) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้คนออมเงินในระยะยาว โดยเจ้า SSF ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้เหมือน LTF แต่ต้องถือหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปีบริบูรณ์โดยนับแบบวันชนวัน ซึ่งต่างจาก LTF ที่ถือครองเพียง 7 ปีปฏิทิน ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนจะซื้อปลายปีขายต้นปี ทำให้ระยะเวลาถือครองจริงๆ เพียง 5 ปีนิดๆ เท่านั้น (5 ปี+วันถือครองช่วงปลายปีและต้นปี)

   

ลดภาษีเงื่อนไขการลด

SSF เป็นหนึ่งในค่าลดหย่อนด้านการออมการลงทุน เงินที่ซื้อกองทุน SSF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกินเพดานที่กฎหมายกำหนด นั่นคือลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีหรือ 200,000 บาท (นับจำนวนที่น้อยกว่า) 

 

SSF เหมาะกับใคร

ผู้ที่มีเงินได้สุทธิต่อปีมากกว่า 150,000 บาท ยิ่งมีเงินได้สุทธิสูงยิ่งต้องเสียภาษีมาก การพิจารณาซื้อกองทุน SSF  และ RMF ยิ่งมีความจำเป็นสูง 

 

เงินได้สุทธิ คืออะไร

เงินได้สุทธิ คือ รายได้รวมตลอดทั้งปี (เงินเดือนบวกรายได้อื่นๆ) หักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนทั้งหมด ถ้าหลักแล้วเหลือน้อยกว่า 150,000 บาท นั่นคือไม่ต้องเสียภาษี

   

ซื้ออย่าไรให้ลดภาษีได้สูงสุด

คำนวณจากเงินได้สุทธิส่วนที่เกินกว่า 150,000 บาทหากมีเงินได้ส่วนเกินเท่าไร ให้แบ่งไปซื้อ SSF และ RMF เท่านั้น โดยเลือกซื้อที่ SSF ก่อนแล้วค่อยซื้อ RMF เนื่องจาก SSF มีระยะเวลาการถือครองที่สั้นกว่า

 

ทำไมต้อง SSF 

เพราะในบรรดารูปแบบการออมทั้งหมดอันได้แก่ ประกันสังคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข., กองทุนการออมแห่งชาติ, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)แล้ว SSF และ RMF เป็นเงินลงทุนที่สามารรถหักลดหย่อนภาษี แล้วยังเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนได้ในระยะยาวอีกด้วย

 

เลือก SSF กองไหนดี ?

SSF มีรูปแบบการลงทุนที่หลากหลายทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และยังมีกองที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ามีความเสี่ยงแตกต่างกันไป หากรับความเสี่ยงได้สูงอาจจะเลือกลงทุนในหุ้นมากสักหน่อย ซึ่งแน่นอนในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนดีกว่าตาราสารหนี้ แต่มีก้มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นกัน

 

หนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจคือ การลงทุนโดยการจัดสรรเงินลงทุนแบบ Asset Allocation ที่เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายจะช่วยกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนได้ดี

 

 

แสกน QR Code เพื่อดูผลประกอบการได้เลย ขอบคุณ Morningstar Thailand สำหรับข้อมูลกองทุน SSF ครับ

Passion in this story