ขอเป็นหนึ่งในแรงใจ เอาใจช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้…อย่ายอมแพ้ !! Passion gen ได้ถอดประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 เดือน เป็นบทเรียนที่เรียนรู้จากวิกฤต เพื่อพัฒนาให้เพื่อน ๆ ก้าวต่อไป
ในวิกฤตการณ์เรามักต้องเผชิญกับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาพร้อมกันทุก ๆ ด้านจนยากรับมือ ปัญหามักผลักดันเราไปอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายสุดขีดเสมอ…ความมืดมน ท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้หนทาง…มักประเดประดังมาพร้อมกัน น้ำหนักที่โถมทับทำให้หลายคนคิดสั้น…
แท้จริงแล้ว “ชีวิตเป็นสิ่งมีค่าสูงสุด” และ “ทุกปัญหามักมีทางออกเสมอ” จงมีสติคิดใคร่ครวญ แก้ปัญหาทีละเรื่อง ทำสิ่งสำคัญที่สุดก่อน เมื่อปัญหาหลักถูกแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องเบา
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปัญหากลายเป็นเรื่องที่ยากเกินแก้ คือ การไม่มองปัญหาอย่างที่มันเป็น เมื่อไม่เข้าใจปัญหาก็ยากที่จะแก้ไข ดังนั้นหัวใจของการแก้ไขปัญหาในลุล่วง คือ มองปัญหาอย่างเป็นจริงและยอมรับกับมัน จากนั้นใช้สติปัญญาแก้ไข
การจมและคลุกอยู่กับปัญหาไม่ได้ช่วยให้การแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น เพราะปัญหาไม่ได้แก้ด้วยแรงกายแต่แก้ด้วยปัญญา “ถอย 1 ก้าว” หรือบางครั้งเรียก “ถอยมาตั้งหลัก” เป็นการดึงตัวเองออกมาจากปัญหาจะทำให้เราเห็นปัญหาได้รอบด้านยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น…ผู้ที่ผ่านการล้มแล้วลุกทุกคนให้ความสำคัญกับการถอย 1 ก้าวเสมอ
บทความที่น่าสนใจ เรียนรู้จากวิกฤต COVID-19 บริหารเงินให้เป็น ลดโอกาสเจ็บช้ำอีกในอนาคต 7 บทเรียนด้านการเงินจากช่วงวิกฤติโควิด-19
หลายคนที่พ่ายแพ้-ล้มเหลว มักจะมีทัศนคติเชิงลบ “ทำไมเรื่องร้ายต้องเกิดกับเรา” “ทำไมมีแต่ปัญหา” ความคิดลบ ๆ นอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังบั่นทอนจิตใจและสติปัญญา การมองโลกในมุมบวกนอกจากจะเป็นการให้กำลังตัวเองแล้ว ยังเป็นพลังดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต พรุ่งนี้พระอาทิตย์จะขึ้นใหม่เสมอ- The sun’ll come out tomorrow.
อาจจะฟังดูจับต้องไม่ได้…แต่ทุกการกระทำที่นำไปสู่ความสำเร็จ ต้องประกอบด้วยรากฐานความคิดและความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าเป็นพลังผลักดันเสมอ ถ้าคุณเชื่อมั่นว่าจะผ่านวิกฤตไปได้ คุณก็จะผ่านไปได้ ความเชื่อมั่นจะเป็นพลังผลักดันให้สำเร็จ หากวันนี้คุณเผชิญปัญหาแล้วยังนั่งถอนใจ ไม่เห็นทาง ไม่เชื่อมั่น…คุณกำลังหลงทาง
หนึ่งในผลกระทบของโควิดที่ทุกคนเผชิญคือ การหยุดชะงักของภาคธุรกิจส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ใครที่มีเงินสำรองมีสายป่านยาวก็พอรับมือได้ ส่วนใครที่หมุนเงินเดือนชนเดือนคงเผชิญสภาวะ “มือก่ายหน้าผาก” ดิ้นรนหาทางออกกันไป ยิ่งมีลูกสามที่กำลังเปิดเทอมก็ยิ่งหนักไปใหญ่…สิ่งนี้สะท้อนถึงความสามารถในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินและวิกฤต คนที่คิดเผื่อกรณีเลวร้ายที่สุดคงยังพอประคองตัวรอดจากช่วงแรกนี้มาได้จึงมีโอกาสฟื้นตัว
บทความที่น่าสนใจ TUKTUK-X สู้วิกฤติต้องรอด ส่งคนได้ ส่งของดี CORONAVIRUS: วิกฤติและโอกาส
ในโลกของธุรกิจ-แม้ขณะที่เผชิญกับวิกฤตก็มักมีโอกาสอยู่เสมอ ขณะที่ห้างต้องปิดทำการ ธุรกิจออนไลน์และการสั่งอาหารกลับเติบโตแบบก้าวกระโดด บางรายขายเดือนเดียวได้ยอดขายเท่ากับทั้งปี โอกาสจึงมีอยู่เสมอ อยู่ที่มุมมองว่าเราจะมองสิ่งนั้นเป็นเช่นไร และเราตอบสนองต่อโอกาสนั้นอย่างไร ปล่อยผ่านไปหรือพุ่งเข้าใส่มัน
เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน ไม่ว่าคุณจะทำได้ดีหรือทำได้ไม่ค่อยดี สุดท้ายผลลัพธ์ก็มีเพียงชนะหรือแพ้ โจโฉ กล่าวไว้ว่า “คนคำนวณ มิสู้ฟ้าลิขิต” แม้จะลงมือทำอย่างเต็มที่ก็เพิ่มโอกาสสำเร็จได้แค่ 30% ส่วน 70% ต้องสุดแล้วแต่บุญวาสนา…หากพยายามอย่างเต็มที่แล้วยังไม่สำเร็จ ก็ต้องยอมรับความพ่ายแพ้และลุกขึ้นสู้ใหม่…โอกาสมีให้สำหรับคนที่ลุกขึ้นสู้เสมอ จงหัวเราะให้กับความล้มเหลว
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.