Categories: INSPIRE

โฉมใหม่ที่ทำงานหลังโควิด

4.6 / 5 ( 11 votes )

“โควิด – 19” โรคระบาดใหญ่ที่ยังไม่มีวัคซีนรักษา บังคับให้เราต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home มาระยะหนึ่งแล้ว แต่สุดท้ายแล้ว การเดินกลับเข้าสำนักงานก็ต้องมาถึง มาดูกันว่า อะไรคือ สิ่งใหม่ หรือ ความปกติใหม่ ที่เราจะได้เจอจากสำนักงานหลังการระบาดใหญ่

สำหรับพนักงานออฟฟิศทั่วไปแล้ว การเดินกลับเข้าสำนักงานอาจทำให้พวกเขารู้สึกว่า ได้กลับคืนสู่ความปกติ แต่สิ่งที่พวกเขาจะได้พบ อาจไม่เหมือนที่เคยคุ้นอีกต่อไป นับตั้งแต่การมีพื้นที่ว่างระหว่างโต๊ะทำงานที่มากขึ้น มีการนำฉากกั้นต่าง ๆ มาติดตั้งไว้ มีจุดวางน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดมือกระจายทั่วสำนักงาน รวมถึงมีกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง ห้องประชุม ส่วนครัว มีแม้กระทั่งการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงาน

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่
New Normal ประสบการณ์ชีวิตแบบใหม่ๆ
จินตนาการและโอกาส “ใหม่” หลังโควิด 
กรุงเทพฯ เตรียมคลายล็อคดาวน์..เข้าสู่..ความปกติแบบใหม่

ใครบ้างที่ได้สิทธิกลับเข้ามาและในเวลาใด

บริษัทส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ให้พนักงานทั้งองค์กรกลับเข้าสำนักงานพร้อมกันในคราวเดียว แต่ทยอยกลับเข้าสำนักงานเป็นกลุ่ม ๆ บางแห่งเลือกใช้การเหลื่อมช่วงเวลาเข้างานและเลิกงานเพื่อจำกัดจำนวนคนที่อยู่ในสำนักงานและทำให้พนักงานสามารถสร้างระยะห่างระหว่างกันได้ นอกจากนี้ พนักงานบางกลุ่มอาจได้สิทธิทำงานจากที่บ้านแบบถาวรด้วย

ก่อนเข้าสำนักงาน

หนึ่งในความปกติใหม่ คือ การวัดอุณหภูมิร่างกายของพนักงานก่อนเข้าอาคาร หากพบว่า มีไข้ จะให้กลับบ้านทันที และบางบริษัท อาจจัดให้มีการทดสอบ แอนติบอดี แก่พนักงาน เช่น Rastegar Property Company ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ที่ได้จัดทำไปแล้ว ณ ห้องประชุมของบริษัท และให้สิทธิพนักงานเลือกว่าจะเปิดเผยผลการทดสอบหรือไม่

พื้นที่ทำงานแบบใหม่

สำนักงานในยุคหลังโควิด – 19 จะมีลักษณะหนึ่งที่เด่นชัด คือ การสร้าง   ะ  ย  ะ  ห่  า  ง  ท  า  ง  สั  ง  ค  ม  social distancing ซึ่งหมายถึงว่า แปลนพื้นที่สำนักงานแบบเปิดโล่งที่เคยนิยมกันจะเปลี่ยนไป มีการตั้งเครื่องกีดขวางมากขึ้น ในรูปแบบของ พาร์ทิชั่น พาแนล หรือ กำแพงสูง ระหว่างโต๊ะแต่ละตัว

โต๊ะแต่ละตัวจะถูกตั้งห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต ขณะที่ห้องประชุมก็จะมีการจัดวางพื้นที่ให้ผู้ร่วมประชุมแต่ละคนมีระยะห่างจากกันมากขึ้น พร้อมกับมีข้อความเตือนการสร้างระยะห่างทางสังคม social distancing เป็นระยะกระจายทั่วพื้นที่สำนักงาน

ใส่ใจกับสุขอนามัย

จะมีจุดตั้งน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาล้างมือในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วสำนักงาน นอกจากนี้ ยังมีพนักงานทำความสะอาดดูแลพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน วันละหลายรอบ โดยเฉพาะพื้นผิวที่มีการสัมผัสสูง บางบริษัทกำหนดว่า หลังจากมีการใช้งานโต๊ะทำงาน หรือห้องประชุมแล้ว โต๊ะ เก้าอี้ ทุกสิ่งที่มีการสัมผัส จะต้องได้รับการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทันที ขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้มีเฉพาะสิ่งของที่จำเป็นต่อการทำงานบนโต๊ะทำงานเท่านั้น ส่วนอีกแนวทางเพื่อรักษาความสะอาดของโต๊ะ ก็จะมีการปูแผ่นกระดาษไว้ด้านบน หลังการใช้งาน ก็แค่ดึงกระดาษแผ่นนั้นทิ้งเมื่อจบวันทำงาน

ครัวจะถูกปิด

พื้นที่ครัว พื้นที่ที่พนักงานมักมาชุมนุมกันเพื่อชงกาแฟดื่ม พร้อมกับพูดคุยสัพเพเหระ หรือแลกเปลี่ยนไอเดียการทำงานในช่วงพักเบรก จะถูกปิดลง

Peter Cappelli ศาสตราจารย์ด้านการจัดการแห่ง Wharton Business School บอกว่า พื้นที่ครัวเป็นพื้นที่ที่จะก่อปัญหาได้มากหากยังเปิดอยู่ โดยเขาเชื่อว่าพื้นที่ส่วนนี้จะถูกปิดลง พร้อมกับมีการนำ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เข้ามาแทนที่เพราะมัน สะดวกกว่าและปลอดภัย กับพนักงานมากกว่า

ขณะที่บางองค์กร เช่น Rastegar ซื้อเครื่องทำกาแฟให้พนักงานไว้ใช้ทดแทนการหายไปของชุนชนกาแฟหลังจากพื้นที่ครัวถูกปิดลง ส่วน Puppet บริษัทไอที เข้มงวดกับการทำตามมาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม และมองว่าพื้นที่ครัวคือพื้นที่เสี่ยง ส่งเสริมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จึงเลือกปิดพื้นที่นี้ ย้ายอุปกรณ์ครัวและอาหารส่วนกลางออกไป

ป้ายเตือนทิศทางการสัญจรในสำนักงาน

ตู้หนังสือ ชั้นวางเอกสาร กระถางใส่ต้นไม้ขนาดใหญ่ ฯลฯ จะถูกนำมาตั้งในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อกำหนดทิศทางการสัญจรในสำนักงานแก่พนักงานแบบกลาย ๆ การทำแบบนี้ เพื่อลดโอกาสการติดต่อกันโดยไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด บางแห่งกำหนด เดินทางทางเดียว ไม่ย้อน สวนทางกัน เช่น พื้นที่โถงทางเดิน และบันได เป็นต้น

มีพื้นที่ว่างมากขึ้น

การทำ Social Distancing จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก แม้ว่าบางบริษัท จะให้พนักงานบางส่วน หรือบางแผนก ทำงานจากที่บ้านแบบถาวร พนักงานที่เข้ามาในสำนักงานก็ยังต้องการพื้นที่ต่อคนมากขึ้น อดีตซีอีโอ ของ กูเกิล อย่าง Eric Schmidt คาดว่า ความต้องการพื้นที่สำนักงานน่าจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถทำตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีแนวโน้มที่หลายๆ บริษัทอาจจะเปิดศูนย์ปฏิบัติการย่อยในหลายพื้นที่ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสำนักงานใหญ่ หรือบ้านพักของพนักงานเพื่อลดเวลาในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะของพนักงานให้สั้นที่สุด

วัสดุที่เปลี่ยนไป

ไม่ต้องแปลกใจหากจะเห็นวัสดุประเภททองแดงปรากฎทั่วสำนักงาน เพราะมีการวิจัยพบว่า เชื้อโคโรนาไวรัส สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสแตนเลส สตีล และพลาสติกได้นานหลายวัน แต่กับทองแดงจะอยู่ได้เพียงไม่เกิน 4 ชั่วโมง

ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สัมผัสให้น้อยที่สุด

ในไม่กี่เดือนข้างหน้า คาดว่าสำนักงานต่าง ๆ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้ามาใช้เพื่อลดโอกาสการสัมผัสให้ได้มากที่สุด เช่น Rastegar ที่บอกว่า จะนำ IoT sensors และระบบฆ่าเชื้ออัตโนมัติมาใช้กับสำนักงาน รวมถึงนำ เทคโนโลยีการสั่งการด้วยเสียงหรือเท้า มาใช้ ในการกดปุ่มลิฟต์ หรือเปิดปิดไฟเป็นต้น  นอกจากนี้ อาจมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงาน จำพวก หุ่นยนต์ชงกาแฟ ที่เราสามารถสั่งการผ่านไอแพดให้หุ่นยนต์ชงกาแฟมาเสิร์ฟให้เราดื่ม

โควิด – 19 บังคับให้เราปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด และโควิด – 19 ยังตอกย้ำความสำคัญของการมีสุขอนามัย เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้ต่อไป รูปแบบสำนักงานดังกล่าวข้างต้น จึงจะเป็นสิ่งที่เราจะได้เห็นได้สัมผัสมากขึ้นนับจากนี้


Source
Welcome to your new, post-pandemic office : edition.cnn.com

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.