Categories: INSPIRE

PODCAST the (photo) series EP.02: “รู้ลึก vs รู้กว้าง” รู้แบบไหนที่ยุคนี้ต้องการ

เพราะโลกทุนนิยมมันโหดร้าย มันทำให้เราแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน และถ้ามีเวลาเราก็อยากหาอะไรสนุก ๆ ดู หาอะไรชิล ๆ ฟัง เราคงจะไม่อยากเสพคอนเทนต์หนัก ๆ กันสักเท่าไหร่

แต่ปัญหานั้นจะหมดไป ! ไม่มีเวลาฟัง podcast ของเราก็ไม่เป็นไร เพราะเราได้สรุปสาระสำคัญมาเสิร์ฟให้คุณถึงที่ ด้วย infographic ง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้เวลาถึง 10 นาทีในการฟัง แต่ใช้เวลาแค่ 2 นาทีในการดู !!!

ไปพบกับ PODCAST the (photo) series ของเรากันได้เลยยยย

Generalist คืออะไร ?

Generalist คือ คนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ รู้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือเก่งในทางใดทางหนึ่งอย่างชัดเจน

ข้อดี

  1. มีความเข้าใจเบื้องต้นและมองเห็นภาพรวมของ process งานต่าง ๆ และมีกระบวนการคิดที่ดีกว่า
  2. มี transferable skills คือทักษะที่สามารถถ่ายทอดระหว่างงานได้ เช่น ทักษะการสื่อสาร การวิเคราะห์ ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม
  3. มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และทำงานได้หลากหลาย

ข้อเสีย

  1. ไม่ค่อยมีความมั่นคงในอาชีพ เพราะ Generalist มีโอกาสตกงานมากกว่า Specialist
  2. โดยเฉลี่ยแล้วได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า เพราะ Specialist มีทักษะเฉพาะทาง

 

Specialist คืออะไร ?

Specialist คือ คนที่มีความรู้ลึก รู้จริง มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เก่งอะไรอย่างหนึ่งมาก ๆ

ข้อดี

  1. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ผ่านการสั่งสมประสบการณ์มานาน จึงเป็นที่ต้องการของตลาด
  2. เรียกค่าตอบแทนได้สูง เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีประสบการณ์ทำงานในด้านนั้น ๆ เยอะ

ข้อเสีย

  1. สายงานไม่ค่อยยืดหยุ่น ยากที่จะหางานนอกเหนือสายงานที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
  2. มีความเสี่ยงที่ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ จะล้าสมัย เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบันตลาดมีแนวโน้มต้องการคนที่เป็น Generalist มากกว่า เพราะ

  1. Generalist ทำงานได้หลากหลาย ปรับตัวได้ดี และมีมุมมองในภาพรวมที่กว้างกว่า Specialist จึงเป็นที่ต้องการมากกว่า
  2. ปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มปรับตัวให้มีขนาดเล็กและคล่องตัวมากขึ้น บริษัทจึงมีแนวโน้มเลือกจ้างงานคนที่สามารถทำได้หลายหน้าที่ Generalist ซึ่งทำงานได้หลากหลายจึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่า
  3. จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลาย ๆ บริษัทจึงเลือกจ้าง Generalist ที่ค่าจ้างถูกกว่าและฝึกให้ตรงกับความต้องการของบริษัทง่ายกว่า เพราะคุ้มค่ากว่าการจ้าง Specialist ที่ค่าตัวแพงกว่าและฝึกยากกว่า

จริง ๆ แล้ว เราควรจะมีความรู้แบบไหน ?

เราควรจะมีความรู้แบบรูปตัว T คือ ทั้งรู้ลึกแบบเชี่ยวชาญอะไรสักด้าน ในขณะเดียวกันก็รู้กว้างในศาสตร์ด้านอื่น ๆ ด้วย

การเป็น Generalist ไม่ได้ดีกว่า Specialist เพราะในบางสาขาอาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก หรือวิศวกร แต่ในขณะเดียวกันการเป็น Specialist ก็ไม่ได้เก่งไปกว่า Generalist

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ถ้าทุ่มเทกับงาน ถ้ามี passion กับมัน ทุกคนก็บรรลุเป้าหมายในการทำงานและประสบความสำเร็จกันได้ทั้งนั้น


 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.