Categories: INSPIRE

อิคิไก (Ikigai) : เคล็ดลับการมีอายุยืนและมีความสุข

อิคิไก (Ikigai) คือ เคล็ดลับการมีอายุยืนและมีความสุขของคนญี่ปุ่น ที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตให้ “มีความหมาย” มากขึ้นได้

ในประเทศญี่ปุ่น มีคนนับล้านนำหลักการ อิคิไก มาใช้ เริ่มจากการดีดตัวจากที่นอนในทุกเช้า

แล้วคุณล่ะ อะไรคือเหตุผลให้คุณตื่นนอนในแต่ละวัน ?

ที่เกาะโอกินาวา พื้นที่ที่เป็นจุดกำเนิดของแนวคิด อิคิไก ยังเป็นพื้นที่ที่คนอายุยืนนับร้อยปีอาศัยอยู่ มากที่สุด ในโลก

เป็นไปได้หรือไม่ ที่ อิคิไก คือ ปัจจัยทำให้คนเรามีอายุยืนยาว ???

Dan Buettner ผู้เขียน Blue Zones: Lessons on Living Longer from the People Who’ve lived the Longest เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นไปได้

เขายังบอกอีกว่า ไม่ใช่แค่ที่โอกินาวาที่มีแนวคิดเรื่องอิคิไก พื้นที่อื่น ๆ บนโลกใบนี้ เช่น เกาะ Sardinia และคาบสมุทร Nicoya ที่ผู้คนมีอายุยืนยาวเช่นกัน ก็มีแนวคิดแบบนี้ปรากฏขึ้น แต่อาจใช้คำเรียกที่แตกต่างกันก็เท่านั้น

Buettner แนะนำให้ทำลิสต์ 3 สิ่งต่อไปนี้ นั่นคือ

คุณค่าของคุณ อะไรคือสิ่งที่คุณชอบทำ และอะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดี

จุดเชื่อมโยงของสามสิ่งนี้แหละ คือ อิคิไก ของคุณ

ผลการศึกษายังพบว่า หากขาดสิ่งใดไปสักสิ่งหนึ่งในสามสิ่งนี้ จะส่งผลเสียกับตัวคุณได้

Joseph Campbell นักเล่าตำนานและนักเขียนชาวอเมริกัน เคยกล่าวไว้ว่า หนึ่งในกฎที่เรียบง่ายที่เขาใช้กับนักศึกษา คือ “ตามติดสิ่งที่เป็นความสุขของคุณ หาให้เจอ ว่ามันอยู่ไหน และอย่ากลัวที่จะไล่ตาม”

ขณะที่ Hector Garcia นักเขียนร่วม หนังสือ Ikigai: The Japanese Secret to a Long and Happy Life บอกว่า อิคิไกของคุณจะอยู่ที่จุดตัดของสิ่งที่คุณทำได้ดี และสิ่งที่คุณอยากจะทำนั่นเอง

มนุษย์ปรารถนาในสิ่งของและเงินทอง บางคนไม่ยินดีแสวงหาเงินทอง หรือชื่อเสียง แต่ต้องการบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าความมั่งคั่งด้านวัตถุ นั่นคือ บทสรุปความต้องการที่เป็นแก่นแท้และความหมายของการมีชีวิตของแต่ละคน

ในหนังสือ Ikigai: The Japanese Secret to a Long and Happy Life ผู้เขียนอย่าง Hector Garcia และ Francesc Miralles ได้แจกแจง 10 กฎที่จะช่วยให้แต่ละคนสามารถค้นหา อิคิไก ของตนเองพบ นั่นคือ

1. ตื่นตัวเสมอและไม่ถอนตัวจากสิ่งนั้น

2. ทิ้งเรื่องเร่งด่วนไว้เบื้องหลังและพยายามผ่อนจังหวะชีวิตให้ช้าลง

3. กินอาหารให้อิ่มแค่ 80 เปอร์เซ็นต์

4. แวดล้อมด้วยเพื่อนที่ดี

5. ออกกำลังกายทุกวัน

6. ยิ้มและสร้างสัมพันธ์กับคนรอบตัว

7. อยู่กับธรรมชาติ

8. รู้สึก “ขอบคุณ” ทุกสิ่งที่ทำให้วันของคุณสดใส และทำให้คุณมีชีวิตชีวา

9. อยู่กับปัจจุบัน

10. ทำตาม อิคิไก ของคุณ

อะไรคือสิ่งที่คุณใส่ใจอย่างมาก จะช่วยปลดล็อก สิ่งที่เรียกว่า อิคิไก ของคุณนั่นเอง

ขณะที่นักปราชญ์และผู้นำสิทธิมนุษยชน Howard W Thurman กล่าวไว้ว่า

“ถามตัวเองว่าอะไรทำให้คุณมีชีวิตชีวา และจงทำสิ่งนั้น” …

“อย่าถามว่า โลกต้องการอะไร ถามตัวเองว่า อะไรทำให้คุณมีชีวิตชีวา และจงทำสิ่งนั้น เพราะสิ่งที่โลกต้องการคือ คนที่มีชีวิตชีวานี่เอง”

สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับคนนับล้านคน คือ พวกเขาหยุดความสงสัยใคร่รู้ในประสบการณ์ใหม่ ๆ เพราะมองว่ามันเป็นความรับผิดชอบ และทำให้มันกลายเป็นกิจวัตรไป

ความรู้สึกสงสัยใคร่รู้ของพวกเขาจึงเริ่มหลีกเร้นจากไป

แต่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ได้ โดยเฉพาะหากคุณยังคงมองหาความหมายของชีวิตและการบรรลุเป้าหมายในแต่ละวัน

Albert Einstein สนับสนุนให้เราไล่ตามความอยากรู้อยากเห็น ครั้งหนึ่ง เขาเคยกล่าวไว้ว่า อย่าคิดว่าทำไมคุณถึงถาม อย่าหยุดตั้งคำถาม อย่ากังวลกับสิ่งที่คุณตอบไม่ได้ และอย่าพยายามอธิบายสิ่งที่คุณไม่รู้ ความกระหายใคร่รู้คือเหตุผลทั้งหมดแล้ว คุณไม่รู้สึกชื่นชมเลยหรือ ในเวลาที่ตริตรองเกี่ยวกับความลึกลับของความเป็นนิรันดร์ของชีวิต และของโครงสร้างสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่อยู่เบื้องหลังความจริง และนี่คือมหัศจรรย์แห่งจิตใจมนุษย์ – ในการใช้องค์ประกอบนั้น ๆ แนวคิดนั้น ๆ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมืออธิบายในสิ่งที่มนุษย์มองเห็น รู้สึก และสัมผัส พยายามทำความเข้าใจทีละเล็กละน้อยไปในแต่ละวัน จงมีความกระหายใคร่รู้อยู่เสมอ

ตัวอย่างที่คลาสสิก คือ ความกระหายใคร่รู้ในเรื่องของแบบตัวอักษรของ Steve Job ที่ทำให้เขาไปเข้าชั้นเรียนเกี่ยวกับการจัดวางและออกแบบตัวอักษรเพื่อการสื่อสารที่ดูเหมือนเปล่าประโยชน์ และต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นความรู้สึกในการออกแบบ

ความรู้สึกเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์แอปเปิล และตัวสร้างความแตกต่างหลักของแอปเปิลจากผู้ประกอบการรายอื่นในตลาด

เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสงสัยใคร่รู้ ความไม่รู้จักพอของเราที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเเรียนรู้ คิดค้น สำรวจ และศึกษา จึงสมควรได้รับสถานะแบบเดียวกับทุกสิ่งที่ขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของเรา

ส่วนการบรรลุเป้าหมายนั้นได้กลายเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ผู้คนนับล้านยังประสบปัญหาในการค้นหาความหมายของการทำสิ่งนั้น ๆ อะไรทำให้เขาตื่นเต้น อะไรทำให้เขาสูญเสียสัมผัสด้านเวลา และอะไรดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเขาออกมา

“การหยั่งรู้และความสงสัยใคร่รู้ คือเข็มทิศภายในตัวเราที่มีพลังอำนาจมากที่จะช่วยให้เราเชื่อมต่อกับอิคิไกของเราได้ ” Hector Garcia และ Francesc Miralles บรรยายไว้เช่นนี้

อะไรคือสิ่งสามัญที่คุณทำได้ หรือเป็นได้ในวันนี้ ที่จะกลายเป็นการแสดงออกของอิคิไกของคุณ

หาสิ่งนี้ให้เจอ และไล่ตามมันกับทุกสิ่งที่คุณมี อะไรอื่นก็ไม่มีคุณค่าพอกับเวลาที่มีจำกัดของคุณบนโลกใบนี้


แปลและเรียบเรียงจาก

Ikigai: The Japanese Secret to a Long and Happy Life Might Just Help You Live a More Fulfilling Life

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.