Categories: INSPIRE

ร้อนนี้ดีต่อใจ

4.9 / 5 ( 14 votes )

เป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น จะเฝ้ารอให้หน้าร้อนมาถึง วันที่มีแดดจัด อากาศอบอุ่น และท้องฟ้าสดใส อย่างที่อังกฤษและที่อื่นๆในยุโรป ขณะนี้อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นเป็นสัญญานบอกว่ากำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว เริ่มมีเสียงนกร้อง ดอกไม้เริ่มผลิบาน ต้นไม้ผลัดใบ กิ่งก้านแต่งแต้มด้วยสีเขียวๆ พร้อมกับช่วงกลางวันที่ยาวนานขึ้น

ต่อจากฤดูใบไม้ผลิก็เป็นฤดูร้อน แต่ฤดูร้อนปีนี้ที่ในยุโรปหมุนเวียนมาประจบกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ทว่า อากาศที่ร้อนขึ้นแบบนี้กลายเป็นความหวัง ที่จะสกัดกั้นหรือทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อลดน้อยลงก็เป็นได้ ที่สำคัญก็คือ หน้าร้อนดีต่อใจมากๆ เพราะมันจะมีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความสุขและสุขภาพของคนเราอย่างที่หลายคนอาจไม่ได้สังเกต และต่อไปนี้คือเหตุผลที่ใครๆก็ชื่นชอบอากาศร้อน

วันเวลาของการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่

Katherine Milkman นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมมนุษย์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าว และพบว่า การเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ มีอิทธิพลสร้างแรงกระตุ้นให้คนเราอยากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยเป็นมา อะไรที่เราเคยทำแล้วรู้สึกว่า สร้างความยุ่งเหยิงให้ชีวิต เราจะอยากเปลี่ยนแปลง จัดระเบียบใหม่ เช่น ตัดสินใจและลงมือเลิกสูบบุหรี่ ตั้งใจจริงที่จะออกกำลังกายให้เป็นประจำ

ฟื้นฟูจิตใจ ผ่อนคลายความเศร้า

ในช่วงฤดูหนาว บรรยากาศรอบตัวที่ทึบทึม หนาวเย็น และไร้แสงแดดส่อง ทำให้ผู้คนมีอารมณ์หดหู่ และซึมเศร้า แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ อากาศที่อุ่นขึ้น แสงแดดที่เจิดจ้า ทำให้ผู้คนเบิกบาน มีชีวิตชีวามากขึ้น Hugh Selsick ประธานกลุ่มศึกษาเรื่องการนอนหลับ จาก Royal College of Psychiatrists บอกว่า คนส่วนใหญ่จะมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายลงเมื่อฤดูร้อนมาถึง ทั้งนี้ มีการสำรวจกลุ่มประชากรในอเมริกาเหนือ ที่ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงฤดูหนาวหากเดินทางขึ้นเหนือไปเท่าไร อารมณ์ของผู้คนก็ยิ่งหดหู่มากขึ้นเท่านั้น เพราะเราไม่ได้พบแสงสว่าง ดังนั้น สำหรับคนที่อยู่ในซีกโลกเหนือ สิ่งที่ชดเชยจากภาวะนี้คือ เราจะรู้สึกว่า วันเวลาในฤดูร้อนนั้น ช่างสว่างไสว เจิดจ้า ยาวนาน และสวยงาม เหลือเกิน

ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่เคยเกิดขึ้นในช่วงหน้าหนาว ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกหดหู่ เหนื่อยล้า การนอนที่ยาวนานกว่าปกติ รวมถึง ความอยากอาหารจำพวกแป้งที่มากขึ้น จะถูกขจัดออกไป เมื่อฤดูร้อนมาเยือน

นาฬิกาชีวิต ทำงานได้ดีขึ้น

“ร่างกายของเรามีชุดตัวรับที่วิเศษอยู่ในดวงตา โดยจะทำหน้าที่สื่อสารโดยตรงกับนาฬิกาชีวิตในสมอง ตัวรับนี้จะไวต่อแสงสีฟ้าเขียว (Blue-green light) ซึ่งก็คือแสงของท้องฟ้าในวันที่มีแดดจัดนั่นเอง” Selsick กล่าว และเสริมว่า สมองของเราไวต่อแสงจากดวงอาทิตย์ การได้รับแสงในตอนเช้า ทำให้เราตื่นตัว สลัดจากความง่วง และยังกำกับรูปแบบการนอนให้ดีขึ้น เมื่อร่างกายรับรู้ว่า วันได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด ก็ไม่ยากที่จะรับรู้ว่า เมื่อใดคือเวลาที่ต้องปิดเปลือกตาพร้อมกับเข้านอน ทั้งนี้ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพส่งผลดีต่ออารมณ์ ความรู้สึก และสุขภาพพลานามัยโดยรวม

ส่งเสริมความจำ และความคิดสร้างสรรค์

งานวิจัยโดยนักจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนเมื่อปี 2005 พบว่า เพียงแค่ออกไปรับแสงอาทิตย์สักครึ่งชั่วโมงต่อวัน ก็ช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก ความจำ และความคิดสร้างสรรค์ของเราให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ในประเด็นความคิดสร้างสรรค์นั้น พวกเขาได้ทำการประเมินการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เรียกว่า การขยายเพิ่มขึ้นของการรู้จำ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีคิดที่ทำให้คนเรามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปปรับใช้ ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ยึดหยุ่น และส่งเสริมการสำรวจค้นหา

แสงสุดท้ายของวันในตอนเย็นมีอิทธิพลต่อนาฬิกาชีวิตน้อยกว่าแสงแรกในตอนเช้า แต่ก็มีคนไม่น้อยที่รายงานว่า คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้น หากได้รับแสงในตอนเย็นบ้าง นอกจากนี้ การวิจัยในปี 2016 โดยทีมวิจัยจาก Birgham Young University, Utah ที่ติดตามข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 1 หมื่น 6 พันราย มาตลอด 6 ปี พบว่า ชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นของแสงอาทิตย์ในฤดูใบไม้ผลิสัมพันธ์กับการลดลงของภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาทางจิตใจ

ใช้ประโยชน์จากช่วงวันที่ยาวนานขึ้น

ช่วงวันที่ยาวนานขึ้น ทำให้ผู้คนมีเวลาสำหรับทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น มีเวลาเหลือเฟือสำหรับทำอาหาร อบขนมปัง หรืออาจจะนั่งจิบเบียร์พูดคุยกับเพื่อนๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น  Zoom รวมถึงอาจเลื่อนเวลานอนออกไป และผู้คนยังรู้สึก ตื่นตัว มากขึ้น เมื่อมีแสงสว่างสดใส

ระดับความพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้น

ข้อมูลการวิจัยในปี 2017 จาก University of Exerter ระบุว่า ฤดูใบไม้ผลิ นำแสงสว่างและความสดใสของธรรมชาติกลับคืนมา เดือนเมษายนเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนได้เห็นการกลับมาของนกนานาชนิด  พร้อมกับพุ่มไม้เขียวๆ ทำให้ผู้คนมีสภาพจิตใจดีขึ้น ขณะที่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดียวกันนี้ในปี 2019 ที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างชาวอังกฤษ 2 หมื่นรายก็พบว่า ยิ่งได้ใช้เวลาเบิกบานกับธรรมชาติมากขึ้นเท่าใด ผู้คนก็จะยิ่งมีระดับความพึงพอใจในชีวิตมากขึ้นเท่านั้น

และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่แพทย์เวชปฏิบัติมักแนะนำคนไข้ให้ “ทำสวน” เพื่อบำบัดแทนการจ่ายยา ลองเลือกเมล็ดพันธุ์อะไรสักอย่างมาปลูก และเฝ้าดูการเติบโต อาจปลูกในกระถางแขวนริมหน้าต่าง หรือที่ระเบียงบ้าน พร้อมกับจัดมุมให้อาหารนก แล้วหยิบกล้องส่องทางไกลมาส่องดูว่า เสียงที่ได้ยินนั้น มาจากนกตัวใดที่แวะเวียนมาหาเรา เท่านี้ เราก็สามารถสร้างความรื่นรมย์ให้ตัวเองได้แล้ว

อย่างที่กล่าวไปแล้ว ว่าหน้าร้อนปีนี้มาพร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 แต่ Milkman นั้นกลับมองว่าวิกฤตนี้อาจเป็นอีกหนึ่งจุดพลิกผันให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกไป พร้อมพิจารณาเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะส่งผลดีต่อชีวิตเรา ใช้โอกาสนี้สร้างคุณคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม พร้อมกับหาหนทางช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่ลืมปฏิบัติตามหลักการเว้นระยะห่างทางสังคมไปพร้อมๆ กัน


Sources
- Birds, buds and bright days: hot spring can make us healthier and happier (theguardian.com)
- Sunshine and happiness: 7 ways the weather can influence our mood (trafalgar.com)

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.