Categories: INSPIRE

PODCAST the (photo) series EP.03: “ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว” วัฒนธรรมองค์กรแบบไหนที่คุณต้องการ

 

ใครที่ทำงานตามองค์กรต่าง ๆ อาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรแบบหนึ่ง

วัฒนธรรมองค์กร คือ แนวปฏิบัติที่เป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร ระบุถึงความสัมพันธ์ของคนต่าง ๆ ในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้การทำงานในองค์กรนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่น

วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัฒนธรรมองค์กรใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) วัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว และ 2) วัฒนธรรมองค์กรแบบทีมกีฬา

วัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว (family) คืออะไร ?

องค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบนี้จะเหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีผู้นำทำตัวเหมือนเป็นพ่อแม่หรือพี่ใหญ่ให้คำปรึกษาสนับสนุนพนักงานที่เปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว

องค์กรจะมีแบบแผนค่านิยมของครอบครัวที่ทุกคนเคารพเชื่อฟัง มีการสื่อสารที่ดีและมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่แน่นแฟ้นเป็นกันเอง ทุกคนมีส่วนร่วมรู้เห็น ร่วมกันตัดสินใจและช่วยกันทำงานเพื่อดูแลลูกค้าอย่างเอื้ออาทร มีการทำงานแบบเป็นทีมสูง การมีส่วนร่วมของทุกคนคือจุดแข็งของวัฒนธรรมแบบนี้ ส่วนใหญ่มักพบในองค์กรขนาดเล็ก

ข้อดี

  1. อยู่กันแบบอบอุ่น เอื้อเฟื้อกัน เพราะดูแลกันเหมือนพี่น้อง เป็นครอบครัวเดียวกัน
  2. มีความยืดหยุ่น มีอิสระในการทำงาน
  3. พูดคุยกันง่าย เป็นกันเอง
  4. ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย

  1. ความเกรงใจ บ่อยครั้งที่ความเกรงใจอาจนำมาซึ่งความลำบากใจของคนที่ร่วมงานด้วย ไม่กล้าปฏิเสธเวลาโดนโยนงานมาให้ หรือโดนสั่งงานนอกเวลางาน
  2. ความอาวุสโส แม้ว่าครอบครัวอาจจะดูแลกันดี แต่บางครั้งก็อาจเกิดกรณีที่ใช้ความอาวุสโสกว่าในการเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน หรือในการประชุมที่ต้องการความคิดเห็นของทุกคน แต่ความอาวุสโสก็ทำให้คนที่เด็กกว่าไม่กล้าเสนอความคิดเห็น หรือโต้แย้งในเรื่องที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง จนอาจนำไปสู่การไม่พัฒนาขององค์กรตามที่ควรจะเป็น
  3. ไม่เคารพความเป็นส่วนตัว บางทีการสนิทกันเกินไปก็นำมาสู่การยุ่งย่ามเรื่องส่วนตัวกันจนเกินพอดี จนหลายฝ่ายอาจจะอึดอัดใจและนำไม่สู่การผิดใจกัน จนเกิดผลเสียหายกับงานขึ้นได้
  4. เลือกที่รักมักที่ชัง อาจจะเกิดกรณีที่หัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมเลือกปฏิบัติ เพราะความสนิทสนมกับคนใดคนหนึ่งมากกว่า เช่น การเลื่อนตำแหน่งงาน หรือการตำหนิเวลาทำผิดพลาด ซึ่งควรจะดูที่ผลงานมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนตัว

วัฒนธรรมองค์กรแบบทีมกีฬา (Sport team) คืออะไร ?

องค์กรที่ใช้รูปแบบทีมกีฬามืออาชีพในการบริหารองค์กร ซึ่งแตกต่างจากองค์กรแบบครอบครัวที่จะดูเรื่องของความสัมพันธ์มากกว่าผลลัพธ์ร่วมกัน ส่วนมากพบในองค์กรขนาดใหญ่

ข้อดี

  1. ทุกคนมีเป้าหมายชัดเจน
  2. ทุกคนมีบทบาทและความรับผิดชอบชัดเจน
  3. ทุกคนมีความแตกต่างที่เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกัน
  4. ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม เพื่อเป้าหมายและองค์กร

ข้อเสีย

  1. ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์จนดูเหมือนจะละเลยความสัมพันธ์ของคนในองค์กร
  2. ถ้ามีคนฉายเดี่ยว ไม่ทำงานเป็นทีม งานอาจเสียหายได้
  3. ความเครียดจากการทำงานในสภาวะที่ต้องแข่งขันกันตลอด

แล้วจะเป็นองค์กรแบบไหนดี ?

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ใช้วัฒนธรรมแบบไหน แต่เป้าหมายคือสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข

การเหมารวมว่าวัฒนธรรมแบบ “ครอบครัว” ไม่ดีก็อาจจะไม่ใช่ หรือการบอกว่าวัฒนธรรมแบบ “ทีมกีฬา” ดีที่สุดก็ไม่ถูก

แม้ว่า “ทีมกีฬา” จะมีตัวชี้วัดผลงานชัดเจน มีรางวัลและบทลงโทษเพื่อกระตุ้นและจูงใจ แต่ขาดอารมณ์แห่งการถ้อยทีถ้อยอาศัย

องค์กรที่ดีอาจลองหาวิธีที่ทำให้อารมณ์และเหตุผลสามารถอยู่ร่วมกันได้

ทำยังไงให้คนในองค์กรมีกติกาการอยู่ร่วมกัน มีผลชี้วัดเพื่อสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็มีความรัก ความเอื้อเฟื้อ ความเสียสละ และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.