วันนี้ เดวิด เจพี ฟิลลิปส์ (David JP Phillips) ผู้ก่อตั้ง JP University ในประเทศสวีเดน ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการพูดสร้างแรงบันดาลใจ จะมาแบ่งปันประสบการณ์และเทคนิคสำคัญเกี่ยวกับการ เปลี่ยนความประหม่าให้เป็นพลัง หรือ Transform Your Nervosity into a Superpower! หนึ่งในหัวข้อสัมมนาออนไลน์ในรายการ David JP Phillips Virtual World Tour ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป
ฟิลลิปส์ ตั้งข้อสังเกตว่าความประหม่า มักจะเกิดขึ้นกับคนที่กำลังขึ้นพูดบนเวทีการประชุมสัมมนา หรือกำลังเตรียมนำเสนองานต่อคนฟังจำนวนมาก รวมถึงการเจรจาต่อรอง แม้ว่าความประหม่าตื่นเต้นเป็นเรื่องสัญชาตญาณของมนุษย์ทุกคนก็ตาม
passion gen ขอสรุปคำแนะนำ 4 ข้อของฟิลลิปส์ในการรับมือกับความประหม่า มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการสร้างเงื่อนไขใหม่ เงื่อนไขที่ว่านี้คือ การเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ก้าวผ่านความประหม่าไปให้ได้ ทำสิ่งที่ตรงข้ามให้กลับมาดีขึ้น
ปกติแล้วคนทั่วไปจะไม่ค่อยชอบการนำเสนอผลงานต่อที่ประชุม เพราะมองว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าสามารถเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ ต้องคิดว่าการประชุมครั้งนี้ต้องออกมาดีแน่ ๆ จะน่าตื่นตาตื่นใจแน่นอน เพียงแค่นี้ก็จะปิดจุดบอดที่เป็นข้อจำกัดเดิมไปได้
ลูกสาวของฟิลลิปส์คือตัวอย่างที่ชัดเจน จากเด็กหญิงที่เคยกลัวที่จะเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์ ในระหว่างที่ครอบครัวเดินทางไปฮ่องกง แต่หลังจากได้เล่นจริง ๆ กลับชอบและประทับใจกระทั่งโตขึ้น
นั่นเป็นเพราะการสร้างเงื่อนไขใหม่ให้กับชีวิตนั่นเอง เปลี่ยนเงื่อนไขที่ตัวคุณเองก่อน แล้วสิ่งดี ๆ จะตามมา
เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมจากภายในตัวเองก่อน อาจจะเริ่มจากการมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้เป็นบวก หากคิดบวกแล้วมันก็จะแสดงออกทางร่างกาย ให้ดูมีพลัง และมีความมั่นใจระหว่างการพูดหรือนำเสนองาน
เคยสังเกตกันไหม บางครั้งคนที่ขึ้นพูดบนเวทีจะไปเดินมาตลอดเวลา คล้าย ๆ ว่าไม่รู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ ดังนั้น ต้องเรียนรู้เรื่องนี้และควรปรับปรุงเสียใหม่ ต้องกำหนดการเคลื่อนไหวทุกอย่างให้มีพลัง การมีท่าทางที่มีพลังจะดูมีอำนาจ การใช้ภาษากายเหล่านี้สามารถทำได้ในระยะอันสั้นมาก ๆ จนแทบไม่มีใครจับผิดได้
จงจำไว้ว่าเคล็ดลับการพูดในที่สาธารณะ มีความเชื่อมโยงกับระบบฮอร์โมนในร่างกายอย่างมาก เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คือฮอร์โมนพลังบวกซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพูดต่อหน้าสาธารณะ ผู้พูดต้องดึงมันขึ้นมาใช้ให้มาก ยิ่งมีมากเท่าไหร่จะทำให้มีพลังมากขึ้น ที่สำคัญมันช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นด้วย
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความเครียดขึ้นมา ฮอร์โมนแห่งความเครียดซึ่งรู้จักกันในชื่อ คอร์ติซอล จะเข้ามาแทน เพราะฉะนั้น จะต้องรีบสลัดฮอร์โมนตัวนี้ออกไปให้เร็วที่สุด ซึ่งทำได้ง่ายนิดเดียว เพียงแค่สะบัดตัวแรง ๆ หรือไม่ก็กระโดด แล้วความเครียดก็จะหายไปทำให้พูดต่อได้
ลองคิดดูว่า จะเป็นอย่างไร หากผู้เข้าร่วมประชุมไม่เข้าใจเรื่องที่พูด หรือไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการประชุม
ดังนั้น สิ่งที่ผู้พูดบนเวทีหรือผู้นำเสนองานต่อที่ประชุม ต้องสร้างขึ้นคือ การสร้างจุดรวมความสนใจไว้ที่ตัวเอง หากทำได้เท่ากับสามารถควบคุมการประชุมทั้งหมดไว้ในมือ นอกจากนี้ ผู้พูดจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะควบคุมการประชุมอย่างไร ต้องรู้ว่าจะควบคุมไม่ให้คนพูดคุยกัน หรือทำเรื่องแย่ ๆ ระหว่างการประชุมได้อย่างไร
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Transform Your Nervosity into a Superpower! Transform your behaviour with focus questions How to Win Deals with Storyselling How to Avoid Death by Video Conference รู้จัก เดวิด เจพี ฟิลลิปส์
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.