Categories: INSPIRE

“บูลลี่” เรื่องใหญ่ของสังคมไทย ที่มาที่ไปและวิธีรับมือ

ก่อนหน้านี้ หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า “บูลลี่” หรือการระราน ข่มขู่ กลั่นแกล้ง รังแก ทำให้คนอื่นอับอายในที่สาธารณะจะเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมไทย แต่หลังจากมีข่าวติด ๆ กันจากต้นปีถึงปลายปีเรื่องนักเรียนมัธยมปลายฆ่าตัวตายเพราะโดนเพื่อนล้อว่าอ้วน, นักเรียนมัธยมต้นยิงเพื่อนตายเพราะโดนเพื่อนตบหัวเยาะเย้ยว่าผิดเพศ และนักเรียนประถมปลายผูกคอตายเพราะโดนเพื่อนล้อว่ายากจน หน้าตาน่าเกลียด ฯลฯ

ไม่แปลกที่สังคมไทยจะตื่นตัว ให้ความสนใจกับเรื่อง “บูลลี่ (bully)”

ยิ่งดูสถิติเรื่องนี้จากกรมสุขภาพจิต จะยิ่งน่าตกใจว่าในปี 2561 มีนักเรียนไทยโดนบูลลี่ในโรงเรียนสูงถึง 600,000 คนหรือคิดเป็น 40% ของนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น

นี่ยังไม่นับการบูลลี่ที่เกิดขึ้นกับคนโต ๆ ในสถานที่ทำงาน และการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย ที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัยจนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ

ข้อเขียนวันนี้ passion gen จึงว่าด้วยเรื่อง “บูลลี่” ล้วน ๆ ตั้งแต่ที่มาของพฤติกรรม ไปจนถึงวิธีรับมือของผู้ที่โดนบูลลี่เพื่อให้สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้ใหม่ และ วิธีปรับพฤติกรรมของผู้ที่มักบูลลี่คนอื่น

บูลลี่คืออะไร ใครคือนักบูลลี่

บทความโดยกองบรรณาธิการ Psychology Today เมื่อต้นปี 2019 และวารสารวิชาการของ American National Association of School Psychologists อธิบายว่า บูลลี่เป็นรูปแบบพฤติกรรมซ้ำ ๆ ของการทำร้ายและทำให้คนอื่นรู้สึกอับอาย เป็นพฤติกรรมที่มุ่งกระทำต่อบุคคลที่อยู่ในสถานะ “อ่อนด้อย” กว่า ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อายุ หรือสถานภาพทางสังคม และพฤติกรรมดังกล่าวแสดงออกได้ทั้งทางกาย วาจา สังคม (แพร่ข่าวลือทางลบปากต่อปากหรือทางใบปลิว) และทางออนไลน์

งานวิจัยทางจิตวิทยาจำนวนมาก ระบุตรงกันว่า พฤติกรรมบูลลี่ “ไม่ใช่พฤติกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด” แต่พัฒนาขึ้นในช่วงขวบปีแรก ๆ  โดยเฉพาะระหว่างวัยทารกจนถึงวัยก่อนเข้าอนุบาลและพัฒนาอย่างรวดเร็วในวัยอนุบาล ซึ่งถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ช่วยปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม พฤติกรรมบูลลี่จะติดตัวเด็กไปจนโตเพราะเด็กเกิดการเรียนรู้ว่า บูลลี่ ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ

งานวิจัยอ้างว่า นักบูลลี่ส่วนใหญ่ไม่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง (personal awareness) ไม่เข้าใจความรู้สึกตนเองอย่างถ่องแท้ ไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกหรือมุมมองของคนอื่น รู้เพียงสนองตอบความพึงพอใจฉพาะหน้าเท่านั้น และเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ (low self-esteem) หลายคนเติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ทักษะสื่อสารแบบเดียวที่รู้จักคือใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องตัวเอง พวกเธอ/เขา จึงมักมองหาคนอื่นที่ “อ่อนแอ” กว่ามากลั่นแกล้งทำร้าย เพื่อยืนยันความมั่นใจว่าพวกเธอ/เขา ยังคงเข้มแข็งและอยู่รอด

Victoria Costello นักเขียนด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ The Complete Idiot’s Guide to Child & Adolescent Psychology ร่วมกับ นายแพทย์ Jack C Westman เผยแพร่บทความเรื่อง How a Bully is Made ในเว็บไซต์ mentalhealthmomblog เมื่อปี 2018 อ้างอิงถึงบุตรชายของเธอ ซึ่งเคยเป็นเด็กเรียบร้อยแต่กลายเป็นนักบูลลี่เมื่ออายุ 14 ปี ว่า นอกจากวิธีเลี้ยงดู ซึ่งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นต้นเหตุของพฤติกรรมบูลลี่แล้ว ยังมีสาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม คือ ภาพยนตร์และรายการออนไลน์ต่าง ๆ ที่แสดงพฤติกรรมรุนแรงให้เด็กเลียนแบบ รวมถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตในวัยรุ่น เช่น โรคจิตเภทสคิสโซฟรีเนีย (schizophrenia) และโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder)  ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม

บูลลี่ในวัยผู้ใหญ่

Mary Lamia ดอกเตอร์ด้านจิตวิทยา เสนอมุมมองที่ต่างไปในบทความ “The psychology of a workplace bully” ของ “The Guardian” เมื่อปี 2018 ว่า ไม่จำเป็นเสมอไปว่านักบูลลี่จะประเมินคุณค่าตัวเองต่ำ เพราะเมื่อพวกเธอ/เขา พัฒนาพฤติกรรมบูลลี่ไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเธอ/เขา อาจรู้สึกภาคภูมิใจที่ผ่าน “ชีวิตขมขื่น” มาได้ด้วยความ “แข็งแกร่ง” ดังนั้น แม้ในทางจิตวิทยา พวกเธอ/เขา จะยังคงรู้สึกอับอายกับชีวิตที่ผ่านมา พวกเธอ/เขา ก็ต้องทำร้ายคนอื่นต่อไปเพื่อหลีกหนีความรู้สึกอับอายที่แสนเจ็บปวดนั้น

ในทัศนะของดอกเตอร์ลาเมีย เมื่อรับมือความรู้สึกอับอาย คนทั่วไปมักแสดงออกใน 4 รูปแบบ คือ ทำร้ายคนอื่น ทำร้ายตัวเอง หลีกเลี่ยงการรับรู้ และ ถอนตัวจากสถานการณ์ นักบูลลี่ ใช้วิธีแรก และสำหรับนักบูลลี่ผู้รู้สึกว่ากำลังมีการแข่งขันในที่ทำงานแล้วเธอ/เขา ต้องเป็นฝ่ายแพ้ ก็จะเริ่มกลั่นแกล้งคนที่เธอ/เขา เห็นว่าเป็นคู่แข่ง

ส่วนคนที่โดนบูลลี่นั้น ดอกเตอร์ลาเมียชี้ว่า มักมีแนวโน้มจัดการกับความรู้สึกอับอายด้วยการทำร้ายตัวเอง ซึ่งยิ่งทำให้ตกเป็นเหยื่อของนักบูลลี่ เช่นเดียวกับคนประเภทถอนตัวออกจากสถานการณ์ซึ่งมักโดนนักบูลลี่แบล็กเมล์ได้ง่ายเช่นกัน

ในทางจิตวิทยา นักบูลลี่สร้างความอับอายให้คนอื่น ๆ ด้วยการขุดคุ้ยโจมตีจุดอ่อนโดยเฉพาะเรื่องที่ทำให้คนนั้น ๆ รู้สึกอับอายอย่างมาก เช่น เรื่องทางเพศ หน้าตา รูปร่าง และฐานะทางเศรษฐกิจ

รับมือและปรับพฤติกรรมบูลลี่

ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหลายคนเห็นตรงกันว่า พ่อแม่ โรงเรียน และสถานที่ทำงาน ช่วยแก้ปัญหาบูลลี่ได้ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการบูลลี่ เช่น

  • สร้างบรรยากาศความเข้าใจในชุมชนเรื่องการบูลลี่ ให้เกิดความรับรู้ว่าการบูลลี่ไม่ใช่เรื่องปกติ และ “ผิดกฎหมาย”
  • สร้างบรรยากาศให้ทุกคนในชุมชนสามารถใช้ชีวิตด้วยความ “มั่นใจ” กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งที่ไม่ทำร้ายผู้อื่น กล้าแสดงความไม่พอใจต่อนักบูลลี่ รู้ว่า “ความแตกต่าง” ของตัวเองทุกเรื่อง “ไม่ใช่ปัญหาน่าอาย” ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านเพศสภาพ เชื้อชาติ รูปร่าง หน้าตา หรือฐานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาทั้งหมดเกิดจากความคิดของผู้กระทำคือนักบูลลี่ ซึ่งไม่มีความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ และไม่จำเป็นที่เราจะต้องเสียใจหรืออับอายเพราะการกระทำของนักบูลลี่ซึ่งยังคงต้องเรียนรู้และปรับปรุงตัวเอง

ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาแนะนำว่า ใครที่โดนบูลลี่ ต้องอย่าปล่อยตัวเองให้เครียด จงพยายามวิธีจัดการกับความเครียด เช่น บอกเล่าปัญหากับผู้ที่ไว้ใจได้ หรือดูแลสุขภาพกายใจให้แข็งแรงเข้าไว้ หรือมองตัวอย่างบุคคลที่เคยโดนกลั่นแกล้งแต่กลับประสบความสำเร็จ เป็นต้น

ส่วนวิธีไม่ยุ่งเกี่ยวกับบูลลี่ที่ดีที่สุด คือ “หลีกเลี่ยง” ไว้ก่อน ซึ่งต้องถือเป็น “ความฉลาด” หรือ “ปัญญา” ไม่ใช่ “ความอ่อนแอ” เพราะเราไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับเรื่องไร้สาระประเภททะเลาะกับอันธพาล ถัดมาคือ “หาเพื่อน” เพราะมีสถิติชี้ชัดว่านักบูลลี่จะไม่ยุ่งกับคนมีเพื่อนหรือคนที่ไปไหนมาไหนกับเพื่อนเป็นกลุ่ม

นักจิตวิทยาเสนอว่า การ “รวมกลุ่ม” สู้กับนักบูลลี่ด้วยการเปิดโปงพฤติกรรมของนักบูลลี่ ไม่ว่าในโรงเรียนหรือสถานที่ทำงาน นอกจากช่วยให้คนโดนบูลลี่ปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้นักบูลลี่เติบโตในทางที่ดี เพราะได้เรียนรู้ความผิดหวังว่าเธอ/เขาไม่สามารถกลั่นแกล้งทำร้ายคนอื่นได้เสมอไป ได้เรียนรู้ว่าคนอื่น ๆ ก็แข็งแรงและมีอำนาจ และได้เรียนรู้ ซึ่งด้านหนึ่งอาจหมายถึงได้ทบทวนประสบการณ์ว่า การถูกกีดกันเป็น “ขยะสังคม” ให้ต้องอยู่โดดเดี่ยวนั้นเจ็บปวดเพียงใด และการทำตัวเองให้ตกอยู่ในสภาพนั้น หรือทำร้ายคนอื่นให้ตกอยู่ในสภาพนั้น ไม่ช่วยแก้ปัญหาใด ๆ

บางที เมื่อเจอเข้าจัง ๆ กับตัวเอง นักบูลลี่อาจตระหนักรู้ความผิดพลาด และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในที่สุด

ปีใหม่นี้ขอให้ทุกคนแคล้วคลาดจากบูลลี่ มีชีวิตสดใสดีงามตามปรารถนา


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.