Categories: INSPIRE

ภาพเดียวบนสื่อโซเชียล ช่วยชีวิตชายไร้บ้าน

นายคอย เฟเธอร์สตัน  (Coy Featherston) ชายอเมริกันวัย 68 เคยเป็นหนุ่มนักกีฬาสุดฮ็อท ขวัญใจเพื่อนๆ เขาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วยทุนนักกีฬาฟุตบอล หลังจบการศึกษา เขาไปทำงานฝ่ายเวทีให้ศิลปินชื่อดังของอเมริกาอย่าง แฟรงก์ แซปป้า (Frank Zappa) และวงดนตรีแนวสมัยใหม่ “The Mothers of Innovation” อยู่นานหลายปี

แต่เมื่อยุครุ่งเรืองของ แซปป้าและ The Mothers of Innovation ผ่านไป เขาก็กลายเป็นคนตกงานในปี ค.ศ. 1995  และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง การหางานใหม่กลายเป็นเรื่องยากลำบาก ซ้ำร้ายญาติคนเดียวที่มีคือน้องชายยังประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต นายเฟเธอร์สตันจึงต้องเป็นคนไร้บ้าน ไร้งาน อาศัยข้างถนนเป็นที่ซุกหัวนอนนับแต่นั้น

จนกระทั่งเดือนกันยายนปีนี้ โชคจึงหวนกลับมาหานายเฟเธอร์สตัน เมื่อ สำนักข่าว American-Statesman ได้ถ่ายภาพเขาขณะกำลังเคลื่อนย้ายสัมภาระ ไปประกอบบทความบนเว็บไซต์ เรื่องสภาเมืองออสติน รัฐเท็กซัส เตรียมออกกฏห้ามคนไร้บ้านพำนักบนถนนในย่านเวสต์ แคมปัส

ภาพประกอบบทความดังกล่าว ทำให้ นางลีอา เมคลิง  (Leea Mechling) เพื่อนสมัย ม.ปลายของนายเฟเธอร์สตัน ตกใจมากที่เพื่อนคนดังในอดีตกลายเป็นคนไร้บ้าน เธอจึงขับรถออกไปตามหาเขาในเมืองออสติน และใช้เวลานานถึง 4 วัน กว่าจะเจอตัวเพื่อนเก่าซึ่งกำลังให้อาหารอาหารนกพิราบอยู่บริเวณโบสถ์  เมื่อทักทายกันแล้วเธอก็ขอให้เขาเก็บของขึ้นรถไปกับเธอทันที

นายเฟเธอร์สตันพักที่บ้านนางเมคลิงไม่นาน ก่อนที่เธอจะพาเขาไปพักกับ นายดอน แวนเดอเบิร์ก (Don Vanderburg) เพื่อนสมัยเรียนอีกคน ซึ่งเปิดบ้านต้อนรับเขาด้วยความยินดี  ด้วยเหตุนี้ นายเฟเธอร์สตันจึงมีบ้านให้หลับ-นอนอีกครั้ง หลังจากอาศัยข้างถนนมายาวนาน

ปัจจุบัน นอกจากที่อยู่อาศัยแล้ว นายเฟเธอร์สตันยังได้รับความช่วยเหลือมากมายจากเพื่อนร่วมรุ่นมัธยมอีกหลายคน ที่ช่วยพาเขาไปลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อรับความช่วยเหลือต่าง ๆ   รวมถึงเปิดระดมทุนผ่าน เว็บไซต์  Gofundme  เพื่อหาเงินซื้อที่พักอาศัยให้เขา โดยล่าสุด (ตุลาคม 2562) สามารถระดมทุนได้มากกว่า 13,000 ดอลลาร์แล้ว

เพื่อนๆของนายเฟเธอร์สตันบอกว่า สิ่งที่พวกเขาทำ เป็นการแสดงให้เพื่อนเห็นว่าเพื่อนยังอยู่ในใจเสมอ ไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยผ่านไปนานแค่ไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเพื่อนอย่างนายเฟเธอร์สตันที่ได้ชื่อว่าเป็นคนซื่อตรงและซื่อสัตย์กับเพื่อนเสมอมา

เรื่องของนายเฟเธอร์สตัน ทำให้คนอเมริกันจำนวนไม่น้อยเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับคนไร้บ้าน นั่นคือ แทนที่จะคิดแบบเดิมว่าพวกคนไร้บ้านล้วนขี้เกียจและติดยา ก็เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ว่า ห้วงเวลามืดดำของชีวิตอาจเกิดขึ้นกับใครและเมื่อใดก็ได้ เมื่อมีโอกาสช่วยเหลือเกื้อกูลกันจึงควรช่วยกันไป

ต้องขอบคุณภาพถ่ายใบนั้น ที่คืนชีวิตให้นายเฟเธอร์สตัน


แปล และเรียบเรียงจาก
statesman
goodnewsnetwork

 

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.