Categories: INSPIRE

เรียนรู้ “พนมเทียน” เขียนอย่างไร…ครองใจคนอ่าน

4.4 / 5 ( 10 votes )

นับแต่วันแรกที่นวนิยายผจญภัย เรื่อง  “เพชรพระอุมา” ของ”พนมเทียน” ได้รับการตีพิมพ์ในปลายปี พ.ศ. 2507  จนถึงวันสุดท้ายที่นวนิยายจบลงอย่างสมบูรณ์ในต้นปี พ.ศ. 2533  กินเวลา 25 ปี 7 เดือน

ปัจจุบันชื่อของ “พนมเทียน”  ซึ่งเป็นนามปากกา ของคุณ “ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ”  ยังเป็นที่จดจำของผู้คน ซึ่งยกให้ “เพชรพระอุมา” เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีผู้ติดตามยาวนานที่สุด รวมถึงมีความยาวที่สุดในโลกด้วย เนื่องจากเมื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก เนื้อหาของ “เพชรพระอุมา” ทั้งหมด จะรวมได้ถึง 48 เล่ม

“พนมเทียน” เป็นนักเขียนผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เขาได้รับยกย่องเป็น “ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540”    และนอกจาก “เพชรพระอุมา” แล้ว เขายังได้เขียนนวนิยายที่โด่งดังไม่แพ้กันอีกหลายเรื่อง เช่น จุฬาตรีคูณ, เล็บครุฑ, ศิวาราตรี และ กัลปังหา เป็นต้น

รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ในรูปแบบงานวิชาการ บทความ และ สารคดี อีกจำนวนมาก ภายใต้นามปากกาแตกต่างกันไป

วันนี้ “พนมเทียน” ในวัย 88 ปี หยุดเขียนนวนิยายแล้ว แต่ยังคงรักที่จะถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง ล่าสุด “พนมเทียน” ได้ให้สัมภาษณ์รายการ  “บุรินทร์ เจอนี่” ถึงรื่องราว ชีวิต ความเป็นมา และแรงบันดาลใจการเขียนหนังสือไว้อย่างละเอียด

ทั้งยังแนะนำหลักการเขียนง่าย ๆ ตามสไตล์ “พนมเทียน ที่สามารถครองใจคนอ่านทุกเพศทุกวัยมาเป็นเวลานานอีกด้วย โดย “พนมเทียน” ย้ำว่า พื้นฐานง่าย ๆ ของการเขียนนวนิยายทุกเรื่อง คือ คำนึงถึง “ผู้อ่าน” นักเขียนต้องคิดก่อนว่าผู้อ่านจะได้รับความสนุก ถ้าคิดว่าเขียนแล้วผู้อ่านไม่สนุกก็ไม่ต้องเขียน

สำหรับ “พนมเทียน” ความสนุกมิได้มีความหมายเพียง เนื้อหาเข้มข้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบการใช้สำนวนเขียนที่เข้าถึงทุกอารมณ์  เช่นงานเขียนเรื่อง “เพชรพระอุมา” ที่ “พนมเทียน” สามารถถ่ายทอดบุคลิก ลักษณะท่าทางของทุกตัวละคร ให้ผู้อ่านจินตนาการตามได้ทุกอารมณ์ ความรู้สึก กระทั่งผู้อ่านรู้สึกมีส่วนร่วมหรือเกิดความรักในตัวละคร

หาก “พนมเทียน” ก็ย้ำว่าสิ่งสำคัญไม่แพ้การเขียนให้สนุก  คือแทรกหลักคำสอนเพื่อสังคมลงไปในนวนิยายแต่ละเรื่องเสมอ   โดยเฉพาะหลักของ “มนุษยธรรม จริยธรรมและคุณธรรม” ไม่ว่าจะเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย ทุกตัวละครต้องมี  “มนุษยธรรม” เพราะเขาเชื่อว่า เมื่อคนมีมนุษยธรรม ย่อมมีจริยธรรมและคุณธรรมตามมา  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม

“พนมเทียน” เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดีว่า ข้อมูลในงานเขียนของ “พนมเทียน”  เกือบทั้งหมด มาจากประสบการณ์ และความชำนาญ  เรื่องไหนที่ไม่รู้ก็ต้องหาข้อมูลศึกษา หรือสอบถามผู้รู้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริงที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ไปจนถึงเรื่องลี้ลับ เรื่องเก่าแก่โบราณและประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น งานเขียนที่เกี่ยวกับอินเดีย ก็มาจากความคุ้นเคยและรู้จักอินเดียพอสมควรจากการที่เขามีโอกาสได้ไปเรียนที่นั่นหลายปี

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือ พนมเทียน

          “พนมเทียนเขียนนวนิยายได้ทุกชนิด แต่ชีวิตนี้ ยอมรับว่าไม่กล้าเขียนเรื่อง ประวัติศาสตร์ประเทศไทย เพราะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก  โดยเฉพาะวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในยุคต่างๆ ดังนั้นเมื่อไม่รู้ ก็ไม่กล้าที่จะเขียน”

“เพชรพระอุมา” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ “พนมเทียน” อาศัยข้อมูลจากประสบการณ์เช่นกัน เนื่องจากเขาเป็นนักสำรวจป่าตัวยงตั้งแต่เด็ก ทำให้มีโอกาสพบเจอเรื่องน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผจญภัย วิชาความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับป่า และแม้แต่นิสัยใจคอของสัตว์แต่ละประเภท

เรื่องราวเหล่านั้น มีทั้งที่เป็นประสบการณ์ตรงและการดัดแปลงเรื่องเล่าของพรานป่า ตลอดจนเรื่องเล่าประจำท้องถิ่นต่างๆ แล้วนำมาแต่งเติมเพิ่มสีสัน ผ่านการบรรยายรายละเอียดให้มีอรรถรสมากขึ้น สนุกยิ่งขึ้นและเข้าใจง่ายขึ้น

          “การเข้าป่า เป็นสิ่งที่รักและชอบ จนกระทั่งกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามีผลบังคับใช้ จึงได้หยุดไป แต่ก็ยังนำเอาประสบการณ์ก่อนหน้ามาเป็นวัตถุดิบในการเขียนและถ่ายทอดให้คนอ่านเห็นภาพ ซึ่งบางเรื่องก็มาจากเรื่องแปลกที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น การเผชิญหน้ากับช้าง ที่เป็นสัตว์ใหญ่และเคยอธิษฐานไว้ว่าจะไม่ทำร้ายเขา ดังนั้นแม้ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในภาวะยืนเผชิญหน้ากันอย่างจัง แต่เมื่อเราตั้งจิตสื่อถึงเจตนาของเราที่ไม่ต้องการทำร้ายกัน สุดท้ายเขาก็ยอมหลีกทางให้ผ่านไปด้วยดี”

ทุกวันนี้ “พนมเทียน” มีปัญหาสายตาที่ฝ้ามัวไปตามวัย และหยุดเขียนนวนิยายแล้ว หากยังคงเฝ้ามองความเคลื่อนไหวของวงการหนังสือในเมืองไทยมาโดยตลอด และทราบดีด้วยว่าขณะนี้กระแส E-book กำลังจะมาแทนที่หนังสือ แต่สำหรับเขาแล้ว แม้ E-book จะเป็นเทคโนโลยีน่าสนใจ ก็คงได้รับความนิยมเพียงชั่วคราว ซึ่งเขาเชื่อว่า อีกไม่เกิน 3-4 ปีนี้ กระแสการอ่านหนังสือจะกลับมา

          “การอ่านบนโทรศัพท์มือถือหรือในคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการอ่านอะไรสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ไม่เหมาะกับการอ่านนวนิยายที่มีความยาวมาก  และต้องใช้เวลานาน เพราะแสงจากโทรศัพท์ หรือคอม จะมีผลต่อสายตา”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจากบทสัมภาษณ์ของ “พนมเทียน” ส่วนใครที่ต้องการพิสูจน์ว่า “เพชรพระอุมา” สนุกจริงสมกับคำกล่าวอ้างนี้หรือไม่ แนะนำว่า คงต้องใช้วิธีสรรหากันอย่างจริงจัง  เพราะแว่ว ๆ มาว่าปัจจุบันหาอ่านแบบครบทั้ง 48 เล่ม เป็นไปได้ยากมาก

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.