Categories: INSPIRE

#BoysDanceToo เด็กผู้ชายก็เต้นบัลเล่ต์ได้นะ ! เข้าใจกันต้องสื่อสารกัน

5 / 5 ( 1 vote )

โลกโซเชียลของสหรัฐอเมริกาช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีแฮชแท็กหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสคือ #BoysDanceToo หรือ “เด็กผู้ชายก็เต้นบัลเล่ต์ได้นะ” ดูกันว่าแฮชแท็กนี้มีที่มาอย่างไร ?

เหตุการณ์นี้เกิดจากการที่ ลารา สเปนเซอร์ (Lara Spencer) ผู้สื่อข่าวของรายการ กู๊ด มอร์นิ่ง อเมริกา (Good Morning America) รายงานข่าวเจ้าชายจอร์จ อเล็กซานเดอร์ หลุยส์  ทายาทลำดับ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ พระโอรสองค์โตในเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าหญิงเคท โดยพูดล้อเลียนเชิงขบขันที่เจ้าชายน้อยสนใจเรียนเต้นบัลเล่ต์ และพูดเสียดสีปิดท้ายทำนองว่าเจ้าชายจะสนใจ (บัลเล่ต์) ได้นานแค่ไหนกันเชียว

เมื่อคลิปรายการนี้ถูกเผยแพร่ออกไป  โลกโซเชียลอเมริกาก็ร้อนถึงขั้นเดือดภายในไม่กี่ชั่วโมง เพราะการล้อเลียนความชอบส่วนบุคคลของผู้อื่นแบบที่สเปนเซอร์ทำนั้น เป็นเรื่องรับไม่ได้อย่างยิ่งในสังคมลิเบอรัลอย่างอเมริกา

ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มนักบัลเลต์มืออาชีพ เขียนว่าเป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่งและสเปนเซอร์ทำให้พวกเขาไม่พอใจอย่างมาก ส่วนคนทั่วๆไป ก็บอกทำนองว่า

” ทำไมเด็กผู้ชายจะชอบบัลเลต์ไม่ได้  “

พวกเรายังอยู่ในยุคที่เด็กผู้ชายต้องตกเป็นเป้าการล้อเลียนเพียงเพราะชอบการเต้นอยู่อีกหรือไง ความคิดของคุณมันช่างล้าสมัยติดกรอบ คุณควรละอายใจกับจิตใจคับแคบของคุณ  และรายการกู๊ด มอร์นิ่ง อเมริกา ก็ควรละอายใจเช่นกันที่ยอมให้เกิดการกระทำแบบนี้ขึ้น

ส่วนพวกเหล่านักเต้นชายที่ไม่ได้เต้นเฉพาะบัลเลต์อีกหลายคน ก็พร้อมใจกันโพสต์ภาพถ่ายและคลิปวิดิโอของตัวเองในทวิตเตอร์ โดยติดแฮชแท็ก #BoysDanceToo  เพื่อแสดงการสนับสนุนเจ้าชายจอร์จ และสร้างความตระหนักแก่สังคม

เท่านั้นยังไม่พอ กระแสแฮชแท็ก #BoysDanceToo ยังนำไปสู่การรวมตัวทำกิจกรรมที่ไทม์ สแควส์ ในเมืองนิวยอร์ค ของกลุ่มนักบัลเล่ต์ชายหลากหลายวัยนับร้อย  โดยพวกเขาได้ร่วมกันเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งข้อความถึงผู้คนทั่วโลกว่าทุกคนมีสิทธิ์เต้นบัลเลต์

ในที่สุด สเปนเซอร์ จึงต้องออกมากล่าวขอโทษผ่านทางรายการว่าได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ไปแล้ว  “สิ่งที่ดิฉันพูดเกี่ยวกับการเต้นนั้นงี่เง่า และไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังเลย ดิฉันต้องขอโทษอย่างสุดซึ้ง”

เธอบอกว่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เธอมีโอกาสสัมภาษณ์นักบัลเล่ต์ชายชื่อดังของอเมริกา 3 คน และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ เพราะคนบางกลุ่มยังมีแนวคิดแบบโบราณว่าเพศไหนควรทำและไม่ควรทำอะไร

คนที่เคยต่อว่าเธอจึงยอมให้อภัย และขอบคุณที่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง

สรุปว่า เรื่องนี้จบแบบแฮบปี้ทุกฝ่ายเพราะคนทำผิดยอมรับผิด ยอมรับฟังเสียงวิจารณ์และเอ่ยปากขอโทษอย่างจริงใจนั่นเอง

วิธีนี้ปรับใช้ได้กับการทำธุรกิจและการบริหารงานเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก
tanksgoodnews
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.