Categories: FeaturedINSPIRENews

5 จุดอ่อน SME ที่เจ้าของธุรกิจต้องระวัง พร้อมเทคนิคการป้องกันตัว


เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมธุรกิจ SME และสตาร์ทอัพ ของคุณถึงไม่สามารถพัฒนากิจการให้เติบโตและขยายออกไปได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งที่ช่วงเปิดตัวแรกๆ ก็ดูว่าไปได้ดี มีลูกค้ามากมาย ยอดขายกระฉูด แต่พอทำไปเรื่อยๆ ยอดขายเริ่มตก ลูกค้าเริ่มหาย ปรับเปลี่ยนความคิดวางกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ก็ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นมา บางทีอาจเป็นเพราะว่าธุรกิจ SME ของคุณมีจุดอ่อนที่คุณมองไม่เห็นและไม่รู้ตัวว่าหลายสิ่งที่คุณทำกำลังทำลายธุรกิจของตัวเองอยู่ วันนี้เราจึงรวบรวมจุดอ่อนและข้อผิดพลาดที่เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มักคาดไม่ถึงมาฝากกัน

1. ยึดความชอบตัวเองเป็นหลัก

เจ้าของธุรกิจ SME หลายคนเลือกที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจโดยใช้ตัวเองเป็นหลัก ซึ่งการทำธุรกิจหรือผลิตสินค้าที่ใช้หลักความชอบของตัวเอง หรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ที่จริงแล้วเป็นหนึ่งในไอเดียการทำธุรกิจที่ดี แต่คุณต้องทำการบ้านเพิ่ม ด้วยการสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าสินค้าของคุณตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน พวกเขามีปัญหาในแบบเดียวกับคุณหรือไม่และพวกเขาเลือกแก้ปัญหาโดยการใช้สินค้าของคุณมั้ย พูดง่ายๆ ก็คือ ตัวคุณสะท้อนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ของสินค้าที่คุณขายหรือไม่ ถ้าหากคำตอบที่ได้คือ ไม่ใช่ ก็ไม่แปลกอะไร ที่สินค้าของคุณจะขายได้ไม่ดี มียอดขายไม่เยอะ

เทคนิคการป้องกันตัว : ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ด้วยการคิดอยู่เสมอว่าสินค้าหรือบริการของคุณ ไม่ได้มีเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณหรือกลุ่มเพื่อนของคุณเท่านั้น แต่นี่คือการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก


2. ตั้งราคาผิดพลาด

การตั้งราคาเป็นหนึ่งข้อสำคัญในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ เจ้าของธุรกิจ SME ส่วนมากมักกลัวว่าราคาขายที่ตั้งนั้นจะแพงเกินไป กลัวไปแข่งขันกับราคาของคู่แข่งในตลาดไม่ได้ จึงพยายามตั้งราคาให้อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าแบรนด์คู่แข่งเล็กน้อย เพราะทำให้เจ้าของกิจการรู้สึกว่าราคาที่ตั้งแข่งขันกับแบรนด์อื่นได้ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง หากต้นทุนสินค้าไม่ได้สูง อาจไม่ค่อยมีปัญหา เพราะยังมีส่วนต่างของผลกำไรให้เอาไปใช้ทำการตลาดได้ แต่หากเจ้าของกิจการเลือกทำสินค้าที่แตกต่างจากแบรนด์ในตลาด ด้วยการเน้นคุณภาพและภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ก็อาจทำให้ต้นทุนสินค้าสูง หากยังตั้งราคาใกล้เคียงกับแบรนด์คู่แข่ง ผลกำไรที่ได้ก็จะน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะใช้ทำการตลาดและการขายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการป้องกันตัว : ยอดขายไม่ได้เป็นสิ่งวัดความสำเร็จของธุรกิจ แต่ผลกำไรต่างหากที่ทำให้ธุรกิจ SME ของคุณเดินต่อไปได้ ตั้งราคาให้เหมาะสม ถึงแม้ว่าราคาของคุณอาจสูงกว่าคู่แข่ง แต่หากนำผลกำไรที่ได้มาสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ ชูจุดแข็งในเรื่องคุณภาพและการบริการ รับรองได้ว่าธุรกิจของคุณจะไปได้ไกลมากกว่าการมามัวตัดราคาแข่งกันขายถูกกว่าอย่างแน่นอน


3. ไม่รักษามาตรฐาน

ธุรกิจ SME หลายๆ เจ้า เมื่อขายดิบขายดีจนกิจการเริ่มเติบโต เจ้าของกิจการกลับไม่ใส่ใจที่จะรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ เช่น ธุรกิจร้านอาหารบางแห่ง ช่วงแรกเริ่มกิจการ คุณภาพของอาหารและการบริการดีเยี่ยมจนขายดีลูกค้าแน่นร้าน แต่เมื่อลูกค้าเยอะขึ้น ก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องการจัดเวลาทำงานและจำนวนพนักงาน จนทำให้รับพ่อครัวที่ไม่มีฝีมือเข้ามาเพิ่ม หรือลดปริมาณอาหารในจานลงเพื่อหวังกำไรที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกค้าไม่พอใจและเลิกเข้ามาอุดหนุนในที่สุด

เทคนิคการป้องกันตัว : เมื่อธุรกิจ SME ของคุณเริ่มเติบโต ต้องรู้จักวางแผนธุรกิจเพื่อรับมือกับการจัดการปัญหาด้านต่างๆ ให้รอบคอบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุดิบ เรื่องกำลังคน รวมไปถึงการบริการที่จะต้องคงมาตรฐานเดิมไว้ให้ได้ หากยังหาวิธีมารองรับการขยายตัวของธุรกิจไม่ได้ก็ไม่ควรรีบเร่งขยายกิจการเพราะเมื่อชื่อเสียงเสียไปแล้ว การจะกู้กลับมาได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก


4. ไม่มองการณ์ไกล

เมื่อสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาดได้สักระยะหนึ่งและได้ผลตอบรับที่ดีจากลูกค้า เจ้าของกิจการจำนวนไม่น้อย มักจะหลงประเด็นและคิดว่าสินค้าตัวเองดี มีลูกค้าชื่นชอบประทับใจ และคิดว่ากลยุทธ์หรือแผนธุรกิจที่ทำนั้นประสบความสำเร็จ จนโฟกัสที่จะขายสินค้าไปแค่กลุ่มเป้าหมายนี้เพียงกลุ่มเดียว จนละเลยที่จะพัฒนาตัวเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วยังมีลูกค้าอีกเยอะมากที่ยังไม่ยังไม่รู้จัก และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ คุณควรต้องมานั่งวิเคราะห์ว่าเพราะอะไร และจะสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจตรงไหนให้เข้าไปครองใจพวกเขาได้บ้าง หากอยากให้ธุรกิจ SME ของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จต้องรู้จักมองการณ์ไกลและไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง

เทคนิคการป้องกันตัว : เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนมากล้วนแต่มีคอนเนคชั่นที่ดีช่วยสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจแทบทั้งนั้น ดังนั้นอย่ามัวอุดอู้อยู่แต่ในธุรกิจของตัวเอง คุณควรหาคอร์สฝึกอบรมหรือคอร์สพัฒนาตัวเอง ที่จะทำให้คุณได้พบปะกับเจ้าของธุรกิจในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะทำให้คุณได้มุมมองและไอเดียดีๆ ในการทำธุรกิจกลับมาแล้ว อาจได้ลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ดีๆ ในการทำธุรกิจ SME ให้เติบโตกลับมาด้วยก็ได้


5. ขาดการวางแผนงานที่ชัดเจน

จัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจ SME ที่มักพบเจอกันอยู่บ่อยๆ เพราะเจ้าของธุรกิจ SME มองว่าเป็นการทำธุรกิจขนาดเล็ก จึงมักทำธุรกิจแบบให้พออยู่รอดไปวันๆ ไม่มีการวางแผนรายปี รายไตรมาส รายเดือนว่าต้องทำอะไร หากเจอปัญหาวิกฤต ต้องทำอย่างไร ซึ่งตามหลักแล้วไม่ว่าธุรกิจไซส์ไหนการวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นมาก หากต้องการให้ธุรกิจเราเดินหน้า และมียอดขายเติบโต การวางแผนงานที่ดีจะทำให้คุณรู้ว่ายอดขายที่เติบโตขึ้นนั้นมีที่มาจากไหนและเวลาที่ยอดขายตก คุณก็จะรู้ว่ายอดขายตกได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

เทคนิคการป้องกันตัว : เจ้าของกิจการหลายคนเริ่มต้นธุรกิจ SME จากความรู้ ประสบการณ์และความถนัดเฉพาะทางที่มี ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นนักบริหารที่ดีได้ ดังนั้นคุณอาจเริ่มต้นด้วยการใช้บริการบริษัท Consult ต่างๆ ให้พวกเขาวางแผนธุรกิจให้ หรือลองเจียดเวลาและงบประมาณสักนิด มาเรียนรู้วางแผนทดลองตลาดเอง ศึกษาเรียนรู้จากการลงมือทำ ไม่ช้าไม่นานคุณก็สามารถตั้งเป้าหมายเองและไปต่อได้แล้ว


Key Take Away

  • อยากให้ธุรกิจ SME หรือสตาร์ทอัพเติบโต ต้องมองเห็นจุดอ่อนของตัวเองและเรียนรู้ที่จะป้องกันสิ่งนั้นไม่ให้เกิดขึ้น
  • ธุรกิจที่เกิดขึ้นโดยใช้ตัวเองเป็นหลักนั้นดี แต่หากไม่ศึกษาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ยอดขายก็ไม่เติบโต
  • เป้าหมายของการทำธุรกิจคือผลกำไร การตั้งราคาที่ไม่เหมาะสมหรือขายตัดราคาเพื่อเรียกลูกค้า จะทำให้ธุรกิจ SME ของคุณไปได้ไม่ไกล
  • การไม่รักษามาตรฐานของสินค้าหรือบริการ ก็เหมือนการหักหลังลูกค้าที่ให้การสนับสนุนธุรกิจของคุณและชื่อเสียงที่เสียไปเรียกกลับคืนมายากมาก ดังนั้นหากยังไม่พร้อมอย่าขยายกิจการ
  • การพอใจกับยอดขายที่ได้มาไม่ใช่เรื่องผิด แต่ห้ามคิดที่จะหยุดพัฒนาตัวเอง คู่แข่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน หาคอนเนคชั่นให้เยอะ วางแผนธุรกิจระยะยาว จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตและประสบความสำเร็จ
  • การไม่วางแผนงานธุรกิจนอกจากจะทำให้ธุรกิจ SME ของคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะปิดตัวเมื่อเจอกับวิกฤติต่างๆ แล้ว ยังทำให้คุณขาดเป้าหมายในการดำเนินกิจการอีกด้วย ถ้าไม่ถนัดจริงๆ ใช้บริการจากมืออาชีพเช่น พวกบริษัท consult ต่างๆ ก็เป็นทางออกที่ดี

 

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.