Categories: INSPIRE

Hubba Co-working Space ก้าวออกนอกกรอบ สู่การสร้างชุมชนการทำงานยุคใหม่

5 / 5 ( 1 vote )

ด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สองพี่น้อง เจริญพันธ์กล้าที่จะก้าวข้าม Comfort Zone มาร่วมกันสร้างสรรค์ธุรกิจสมัยใหม่จนกลายเป็น สตาร์ทอัพ Co-Working Space ได้สำเร็จ

ด้วยเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตและโลกออนไลน์ที่ทำให้ข้อมูลและการติดต่อสื่อสารสามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลกทำให้การทำงานและการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องอยู่แต่เพียงในออฟฟิศแต่อย่างเดียวตรงกันข้ามกลับสามารถเลือกสถานที่ที่ชอบสร้างให้เป็นโต๊ะทำงานและแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ของผู้ที่ต้องการริเริ่มพัฒนาธุรกิจเป็นของตัวเอง และเหล่าฟรีแลนซ์ผู้ประกอบอาชีพอิสระให้สามารถพบปะกับผู้คนแปลกหน้าที่หมุนเวียนเข้ามาใช้สถานที่ ที่เรียกว่า Co-Working Space ได้ และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ธุรกิจสมัยใหม่ อย่าง Hubba สตาร์ทอัพ ของไทยกลายเป็นธุรกิจที่มาแรงและน่าสนใจ

วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 2 พี่น้องเจ้าของธุรกิจ Hubba Co-working Space ผู้ที่กล้าก้าวออกจาก Comfort Zone มาสร้างฝันเป็นสตาร์ทอัพจนประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักกันของเหล่าฟรีแลนซ์ คนทำอาชีพอิสระ และผู้เริ่มต้นธุรกิจรุ่นใหม่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ   

แรงบันดาลใจของ Hubba และการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็น Co-Working Space ชื่อดัง

  • ไอเดียและแรงบันดาลใจในการสร้าง สตาร์ทอัพ Co-Working Space

เนื่องจากการที่พี่น้อง ชาร์ล และเอม อมฤต เจริญพันธ์ ผู้ที่ต้องการริเริ่มพัฒนาธุรกิจของตัวเอง แต่ต้องเจอกับอุปสรรคและปัญหาว่าไม่มีที่ทำงาน และไม่สามารถหาพื้นที่เพื่อใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่ประกอบกับการมองเห็นไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเริ่มเห็นว่าคนไทยมีความต้องการพื้นที่ทำงานเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาธุรกิจของตัวเองประกอบกับการได้เห็นโมเดลของสตาร์ทอัพ Co-Working Space ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศจึงทำให้ 2 พี่น้องเกิดไอเดียในการสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันของกลุ่มฟรีแลนซ์กลุ่มคนทำอาชีพอิสระ และคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง หรือแม้กระทั่งคนทำงานออฟฟิศที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศความจำเจ จากการทำงานในสำนักงาน ให้สามารถเข้ามาใช้ Co-Working Space เพื่อเป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้นำไปสู่การสร้างชุมชนสตาร์ทอัพของธุรกิจสมัยใหม่ต่อเนื่องไปได้ในอนาคต

  • วิกฤต และจุดเปลี่ยนที่ทำให้สองพี่น้อง “เจริญพันธ์ กล้าออกจาก Comfort Zone มาสร้าง สตาร์ทอัพ Co-Working Space ได้สำเร็จ

สาเหตุที่ทำให้ Hubba Co-Working Space เป็นรูปเป็นร่างได้นั้นก็เนื่องจากวิกฤติการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่ทำให้การทำงานของ 2 พี่น้องเกิดปัญหาเป็นอย่างมากบ้านที่อยู่อาศัยก็ถูกน้ำท่วมทำให้ต้องหนีน้ำไปอยู่ต่างจังหวัดชั่วคราว การทำงานก็ต้องอาศัยนั่งทำงานตามร้านกาแฟ ย้ายร้านไปเรื่อย ๆ งานประจำทั้งหลายก็มีทีท่าว่าจะไม่มั่นคงอย่างที่คิด จึงเริ่มมองเห็นแนวคิดใหม่ว่าควรเริ่มต้นโปรเจ็กต์สตาร์ทอัพขึ้นอย่างจริงจัง จึงได้กัดฟันเลือกทำเลย่านเอกมัยใกล้รถไฟฟ้า ลงทุนเช่าบ้านพร้อมที่ดินบนพื้นที่ราว 200 ตารางเมตร รีโนเวทให้กลายเป็น Co-Working Space ที่ชื่อว่า Hubba ซึ่งมีที่มาจากคำว่า “Hub” ที่แปลว่า จุดศูนย์กลาง และ “Ba” ที่มาจากคำว่า บ้าในภาษาไทย ออกแนวเฮฮาตามสไตล์ขี้เล่นของพี่น้องทั้ง 2 คน

และด้วยวิกฤติในครั้งนี้เองที่ทำให้สองพี่น้องชาร์ล และเอม อมฤต เจริญพันธ์กล้าออกจาก Comfort Zone ที่เป็นอยู่ประจำ หันมาปลุกปั้นความฝันให้เกิดขึ้นและเป็นจริงได้ เกิดเป็น Hubba Co-Working Space เจ้าแรกของเมืองไทยขึ้นภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือนครึ่งเท่านั้น

“เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ปรับเปลี่ยนแนวคิด สร้างสถานที่ทำงาน ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นสตาร์อัพ Hubba Co-Working Space”ชาร์ล และเอม อมฤต เจริญพันธ์ ผู้ก่อตั้ง Hubba Co-Working Space

แนะนำบทความน่าอ่าน

ก้าวสู่การเป็นสตาร์ทอัพ Co-Working Space ไทย ในระดับนานาชาติ

  • ปัจจัยที่ทำให้ Hubba เป็น สตาร์ทอัพ Co-Working Space ไทยที่ประสบความสำเร็จ

เมื่อได้พื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็น Co-Working Space แล้ว สิ่งต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือการทำการตลาดเพื่อหาลูกค้า โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ Hubba จะมุ่งเน้นไปที่เจ้าของธุรกิจรายใหม่ หรือผู้ที่กำลังคิดเริ่มสร้างธุรกิจ ที่ต้องการพื้นที่สำหรับนั่งทำงานและมักจะหาโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลักประกอบกับสองพี่น้องที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง สตาร์ทอัพ Hubba Co-Working Space ต้องการประหยัดงบประมาณในการทำการตลาด จึงเห็นว่าการตลาดออนไลน์เป็นช่องทางที่เหมาะสมที่สุด อีกทั้งยังได้กำลังเสริมคือคุณโน้ตเฉลิมยุทธ์ บุญมา อดีตผู้จัดการตลาดด้านสื่อดิจิตอลที่ Ensogo และ Zalora เข้ามาเป็นหุ้นส่วนช่วยทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ  จึงทำให้ชื่อของ Hubba Co-Working Space เป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บุกเบิกธุรกิจรุ่นใหม่และเหล่าฟรีแลนซ์ได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ Hubba ไม่ได้มองเพียงแค่กลุ่มลูกค้าที่เป็นสตาร์ทอัพชาวไทยเท่านั้น แต่ยังมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าที่กำลังมองหาที่ทำงานในรูปแบบของ Co-Working Spaceชาวต่างชาติในย่านชุมชนเมืองให้เข้ามาใช้บริการอีกด้วย

“ความล้มเหลว คือ มารดาของความสำเร็จ” -ธนินท์ เจียรวนนท์

ปัจจุบัน Hubba มีสาขาของ Co-Working Space ทั้งหมด 4 แห่ง คือ

  • Discovery Hubba ตั้งอยู่ที่ Siam Discovery
  • Hubba Akamai ตั้งอยู่ที่เอกมัยซอย 4
  • Hubba-To ตั้งอยู่ที่ Habito Mall, Silom ตั้งอยู่ที่สีลม คอมเพล็กซ์ชั้น 19
  • Hubba ภูเก็ต

โดยมีสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพจำนวน 20,000 รายเข้ามาใช้บริการ

  • การต่อยอดออกสู่หัวเมือง และการจับมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาธุรกิจสมัยใหม่

Hubba ไม่ได้มองว่าธุรกิจอย่าง Co-Working Space จะต้องอยู่ในเมืองหลวง คือ กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมองเห็นโอกาสและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งนิยมประกอบอาชีพอิสระกันมากขึ้น จึงได้วางแผนการขยายสาขาของ Co-Working Space ออกไปยังหัวเมืองในต่างจังหวัด อย่างเช่น เชียงใหม่และหัวเมืองอื่น ๆ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการขยายธุรกิจ Co-Working Space ไปถึงเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว ซึ่งนับว่าเป็นการนำธุรกิจสมัยใหม่ เข้าไปบุกเบิกตลาดในประเทศนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ Hubba ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อตอกย้ำการก้าวสู่โมเดลธุรกิจสมัยใหม่ ที่พร้อมจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  • การร่วมมือกับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำเสนอโครงการประกันความคุ้มครองให้แก่ลูกค้าในกลุ่ม Co-Working Space เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นสตาร์ทอัพผู้พัฒนาธุรกิจใหม่สามารถเลือกแผนความคุ้มครองทั้งด้านสุขภาพ ประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุได้อย่างเหมาะสม โดยลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ จะต้องเป็นกลุ่มสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกผู้เช่า Co-Working Space ของ Hubba ที่มีระยะเวลาการเช่ามากกว่า 1 ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขด้านสุขภาพที่กำหนดไว้ในโครงการ
  • การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกอย่าง Google เพื่อให้สมาชิกของ Hubba สามารถเข้าถึงทรัพยากรและเครือข่ายผู้ประกอบการที่มีอยู่ทั่วโลกของ Google ซึ่งรวมถึง Co-Working Space และโปรแกรมในชุมชนต่าง ๆ ในอีก 135 ประเทศทั่วโลกได้ ซึ่งความร่วมมือกับ Google ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่สามารถต่อยอดไอเดียธุรกิจแนวใหม่ ทำให้กลายเป็นสตาร์ทอัพของไทย ที่สามารถเดินหน้าพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่รู้จักของนานาชาติ สอดรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ธุรกิจสมัยใหม่อย่าง Co-Working Space เป็นธุรกิจที่มาแรงและน่าจับตามอง Hubba จึงถือเป็นตัวอย่างของธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้ เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนแนวคิด สร้างแรงจูงใจให้เกิดแนวคิดใหม่กล้าที่จะออกจาก Comfore Zone และเริ่มลงมือทำเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ สู่การพัฒนาต่อยอดในอนาคตธุรกิจของคุณก็ย่อมสามารถที่จะก่อร่างสร้างตัวกลายเป็นสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

Passiongen

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.