Categories: FeaturedINSPIRE

Checklist ฉบับมนุษย์เงินเดือน คุณเจ๋งพอที่จะขอขึ้นเงินเดือนหรือยัง?


Checklist ฉบับมนุษย์เงินเดือน คุณเจ๋งพอที่จะขอขึ้นเงินเดือนหรือยัง?

ทำงานมาตั้งนานไม่ว่าใครก็ต้องการความก้าวหน้าในบริษัทกันทั้งนั้น ตำแหน่งอาจปรับยากอันนั้นเข้าใจได้ แต่อย่างน้อยก็ควรปรับเงินเดือนให้สมน้ำสมเนื้อกับการทุ่มเททำงานให้กับบริษัทอย่างเต็มศักยภาพกันสักหน่อย จนทำให้หลายคนคิดน้อยใจว่า หากปีนี้เงินเดือนยังไม่ขึ้นคงต้องขอลาออกไปหางานใหม่ที่พร้อมจ่ายมากกว่านี้ แต่หากคุณยังสนุกกับงาน การเดินทางก็สะดวกสบาย แถมเพื่อนร่วมงานก็แสนดี การหางานใหม่คงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด สิ่งที่ควรทำคือการเดินเข้าไปพูดคุยกับหัวหน้าเพื่อขอขึ้นเงินเดือนแบบตรงไปตรงมาจะดีกว่า แต่ก่อนจะทำอย่างนั้นมา เรามี Checklist ดีๆ ที่จะช่วยให้คุณประเมินตัวเองได้ว่า ที่ผ่านมาคุณทำงานอย่างเต็มศักยภาพและพัฒนาตัวเองแบบเต็มความสามารถจริงๆ หรือแค่มโนไปเอง!

1. วินัยการทำงาน

เป็น KPIs พื้นฐานที่ทุกบริษัทใช้ในการประเมินปรับเงินเดือน คุณจึงควรเช็กตัวเองว่าที่ผ่านมาวินัยการทำงานของคุณเป็นอย่างไร เช่น ใช้วันหยุด-วันลาเกินกำหนดหรือไม่? มาเข้างานสายบ่อยแค่ไหน? รวมไปถึงการกลับบ้านก่อนเวลาที่ควรต้องแจ้ง HR ทุกครั้ง คุณเคยทำมั้ย? สิ่งเหล่านี้มีข้อกำหนดหรือกฏของบริษัทที่ชัดเจน ดังนั้นหากที่ผ่านมาคุณเคารพกฎกติกาทุกข้อ ไม่เคยทำผิดข้อตกลงใดๆ ก็ถือว่าข้อนี้ ผ่าน!

2. ตีราคาความสามารถของตัวเอง

ก่อนจะขอขึ้นเงินเดือน คุณควรที่จะลองเช็กดูว่า คนที่ทำตำแหน่งและหน้าที่เดียวกันกับที่คุณทำอยู่ ในบริษัทอื่นๆ นั้น ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่กันบ้าง เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณไม่ตั้งเป้าในการขอปรับเงินเดือนที่สูงหรือต่ำจนเกินไป และคาดหวังได้ใกล้เคียงกับความจริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากเช็กแล้วปรากฏว่าค่าตอบแทนที่คุณได้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป ก็เดินหน้าขอขึ้นเดินเดือนต่อได้เลย

3. ทำงานหนักเกินกว่าหน้าที่

อาจมีหลายครั้งที่คุณจะถูกขอให้ทำในสิ่งที่เกินหน้าที่ ไม่ว่าจะเพราะพนักงานไม่พอหรือเพราะถูกกว่าการจ้างคนข้างนอก ซึ่งหากเป็นการช่วยเหลือกันชั่วครั้งชั่วคราวระหว่างรอหาพนักงานใหม่ ก็คงไม่เป็นไร เพราะคิดในแง่ดีได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสให้คุณได้เรียนรู้งานใหม่ๆ และได้พัฒนาตัวเอง แต่ถ้าผูกขาดจนกลายเป็นหน้าที่ประจำของคุณ มันก็ดูไม่ยุติธรรม หากคุณจะไม่ได้รับค่าจ้างจากการทำงานเหล่านั้น ลองเช็กดูว่าคุณต้องทำงานที่ไม่ได้ตกลงกันไว้มากเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานของตัวเองแล้วหรือยัง? ถ้าใช่ คุณก็มีอีกหนึ่งเหตุผลที่จะขอขึ้นเงินเดือนได้แล้ว

4. สร้างผลงานที่ดีเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

ที่ผ่านมาคุณเคยสร้างผลงานหรือนำเสนอแนวคิดใหม่ดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากน้อยแค่ไหน? เพราะคนที่กล้านำเสนอไอเดียที่จะช่วยพัฒนาให้บริษัทที่ตัวเองทำงานอยู่นั้นเจริญก้าวหน้า และเป็นตัวตั้งตัวตีในโปรเจ็คที่สร้างผลประโยชน์ให้กับบริษัทอย่างเต็มที่นั้น แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเท มุ่งมั่น จัดเป็นบุคลากรชั้นดีที่บริษัทควรมองเห็นคุณค่า ดังนั้นหากที่ผ่านมาคุณสร้างผลงานที่โดดเด่นและสร้างรายได้ให้กับบริษัท คุณก็ควรได้รับผลตอบแทนจากสิ่งเหล่านั้น อย่าลืม take credit จากสิ่งที่คุณทำ และอย่าลืมพูดถึงเรื่องนี้ตอนขอขึ้นเงินเดือนด้วย

5. ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกัน

ทุกบริษัทย่อมต้องมีทั้งขาขึ้นและขาลง วันหนึ่งอาจเคยปิดดีลด้วยยอดขายทะลุเป้า แต่ไม่นานอาจโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนแทบล้มละลาย จนต้องลดเงินเดือน ตัดทอนสวัสดิการ หรือควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ จนพนักงานหลายคนเลือกที่จะหนีเอาชีวิตรอดจากเรือที่กำลังจะจมด้วยการหางานใหม่ แต่บางคนอาจอดทนอยู่ต่อและร่วมฝ่าวิกฤตินั้นด้วยกัน เพื่อให้บริษัทผ่านพายุไปได้ อย่าให้หัวหน้าของคุณลืมไปว่าคุณคือผู้ที่ยึดมั่นหนักแน่นและไม่เคยทิ้งพวกเขาไปไหน ดังนั้นเมื่อผลประกอบการกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง คุณก็ควรที่จะได้รับการปรับเงินเดือนตามสมควร

ถ้าหากคุณเช็กตัวเองแล้ว มีคุณสมบัติผ่านตาม 5 ข้อด้านบน
มาลองดูกันว่า อะไรควรทำและไม่ควรทำตอนเจรจาขอขึ้นเงินเดือน

DOs & DON’Ts เมื่อเจรจาขอขึ้นเงินเดือน

ดูจังหวะและโอกาส

ก่อนเข้าไปพูดคุยเรื่องการปรับเงินเดือนกับหัวหน้า ควรหาโอกาสที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา สถานที่หรือบรรยากาศต่างๆ ที่เอื้อกับการขอเงินเดือนขึ้น เช่น หัวหน้าอารมณ์ดี ไม่ตึงเครียด และเป็นช่วงที่ผลประกอบการของบริษัทอยู่ในขาขึ้น

สุภาพและพูดจาอย่างมีเหตุผล

เมื่อได้โอกาสเข้าหาเจ้านายแล้ว ก็ควรดูบรรยากาศและเริ่มเกริ่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจถามถึงมุมมองของหัวหน้าที่มีต่อการทำงานของคุณ สร้างโอกาสด้วยการขอคำแนะนำว่าคุณควรพัฒนาตัวเองด้านไหนอีกบ้าง รวมถึงพูดเชื่อมโยงไปยังผลงานของคุณที่ผ่านมา ให้หัวหน้ารับรู้ถึงช่วงเวลาที่ทำงาน ว่าคุณได้ให้ความทุ่มเทมากแค่ไหน และใส่ความเป็นเหตุเป็นผลเข้าไป เพื่อบอกหัวหน้าเป็นนัยๆ ว่า ต้องการขอขยับปรับเงินเดือน

พูดคุยอย่างมั่นใจแต่ไม่โอ้อวด

ถึงแม้ผลงานที่ผ่านมาผลงานของคุณจะดีมากขนาดไหนก็ตาม หากคุณพูดคุยแบบโอ้อวดและรุกเร้าจนเกินพอดีก็อาจทำให้การพูดคุยครั้งนี้ดูน่าหมั่นไส้ จนหัวหน้าอาจจะเซย์โนให้กับการเจรจาขอขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ก็เป็นได้

  • ไม่เจาะจงตัวเลข
    หากหัวหน้าถามคุณเรื่องความก้าวหน้าในบริษัทที่คุณต้องการและตัวเลขที่ขอขึ้นเงินเดือน ก็ไม่ควรโพล่งบอกเจาะจงตัวเลขไปเลย ควรบอกไปว่าขอให้เพิ่มขึ้นตามผลงานที่ผ่านมา หรือเป็นไปตามความเห็นของหัวหน้าและฝ่าย HR จะดีที่สุด
  • ไม่ควรก้าวร้าวกับหัวหน้า
    เมื่อพูดคุยกับหัวหน้าจนถึงจุดที่คุณพอมองออกว่า ผลลัพธ์ที่ได้ในการขอปรับเงินเดือนคือการเซย์โน ก็ควรจะใจเย็น ไม่แสดงกิริยาที่เสียมารยาทหรือก้าวร้าว ถึงแม้ครั้งนี้เงินเดือนยังไม่ขึ้น แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหัวหน้าจะไม่รับเรื่องนี้ไปพิจารณาในภายในหลัง ส่วนคุณเอง ลองย้อนกลับไปอ่าน 5 Checklists นั้นอีกครั้งแล้วดูว่ารอบหน้าเราจะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร เพื่อให้ 5 ผ่านจากทุก 5 ข้อ
Key Take Away
  • ชีวิตคนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในบริษัทและค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ หากรู้สึกว่ากำลังถูกเอาเปรียบควรเลือกที่จะเจรจาขอขึ้นเงินเดือนแบบตรงไปตรงมาดีกว่าการชิงลาออกเพราะคิดว่าบริษัทไม่เห็นค่า
  • ก่อนเข้าพบหัวหน้าเพื่อขอขึ้นเงินเดือนต้องแน่ใจว่าที่ผ่านมาคุณมีศักยภาพในการทำงานที่ดีมากพอ ด้วยการทำ Check list เช็กตัวเอง 5 ข้อ ดังนี้
  1. วินัยการทำงาน : ขาด ลา มาสาย บ่อยแค่ไหน?
  2. ตีราคาความสามารถของตัวเอง : เช็กเรทเงินเดือนของตำแหน่งงานเดียวกับที่คุณทำอยู่ในบริษัทอื่นๆ จะได้รู้ถึงอัตราเงินเดือนที่ควรใช้ต่อรอง
  3. ทำงานหนักเกินกว่าหน้าที่ : หากต้องทำงานอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ที่ตกลงกันไว้มากจนเบียดบังเวลาของงานหลัก คุณควรได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม
  4. สร้างผลงานที่ดีเป็นประโยชน์ต่อบริษัท : ที่ผ่านมาคุณสร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อบริษัทบ้างหรือไม่?
  5. ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกัน : ในช่วงที่บริษัทเกิดวิกฤติ หากคุณยังคงยืนคียงข้างและช่วยเหลือบริษัท เมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ คุณก็ควรได้รับการตอบแทน

เมื่อตัดสินใจเข้าเจรจาเพื่อขอขึ้นเงินเดือน ควรเลือกช่วงเวลาที่หัวหน้าอารมณ์ดี โดยเข้าไปพบและพูดคุยด้วยเหตุและผล ไม่ควรโอ้อวดผลงานที่ผ่านมามากเกินไป และหากหัวหน้าเปิดโอกาสให้บอกตัวเลขที่ต้องการ ไม่ควรเจาะจงตัวเลขแต่ขอให้พิจารณาตามผลงานที่ผ่านมา หรือหากผลการเจรจาการขอขึ้นเงินเดือนไม่สำเร็จ ก็ไม่ควรเสียมารยาทเพราะหัวหน้าอาจจะต้องนำไปพิจารณาก่อนจึงจะแจ้งคุณอีกครั้งก็ได้

 

 

 

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.