Categories: INSPIRE

“แอนดี้ ยังเอกสกุล” แบบอย่างผู้นำที่ปรุงชีวิตให้ก้าวหน้าด้วย Mindset ที่เข้มข้น

5 / 5 ( 1 vote )

แอนดี้ ยังเอกสกุล หรือ “Andy Yang” แบบอย่างผู้นำของคนที่ใช้  “การทำงาน” เพื่อการสร้างโอกาสให้กับตนเองจนสามารถก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพตนเองได้

“แอนดี้ ยังเอกสกุล” หรือ “Andy Yang”  เขาคือเชฟชาวไทยคนแรกที่คว้ารางวัล Michelin Star รางวัลอันทรงเกียรติที่สุดของคนทำอาหารมาครองได้ เขาคือผู้ที่นำพาอาหารไทยแบบรสชาติดั้งเดิมไปแนะนำให้คนอเมริกาและคนทั่วโลกได้รู้จักแบบไม่เอาใจใครทั้งนั้นไม่สนว่าจะเป็นชาติไหนแต่ถ้าคุณต้องการลิ้มลองอาหารไทยที่ได้รสชาติแบบที่คนไทยกิน ต้องเป็นอาหารไทยจากร้านของเขาเท่านั้น และนอกจากนั้นเชฟแอนดี้ยังสามารถคว้ารางวัลการันตีศักยภาพในด้านการทำอาหารมาอีกมากมายนับสิบ ๆ รางวัลเลยทีเดียว วันนี้เชฟแอนดี้อาจจะมีอยู่ในจุดสูงสุดของอาชีพแล้วก็จริง แต่ใครจะรู้บ้างว่าเขาจะต้องผ่านจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตมาแล้วกี่ครั้ง ก่อนจะก้าวมาสู่การเป็นแบบอย่างของผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้แบบนี้

จุดเปลี่ยนของเด็กเกเรไร้เป้าหมาย สู่การเป็นคนที่มี Passion ในการทำอาหาร

เส้นทางชีวิตของเชฟแอนดี้มีจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่เปลี่ยนเส้นทางจากความสำเร็จไปสู่ความล้มเหลว และเปลี่ยนสิ่งที่เปลี่ยนความล้มเหลวเป็นความสำเร็จอยู่หลายครั้ง มีบทเรียนที่ถูกลิขิตมาเพื่อทดสอบศักยภาพในตัวของเขาอยู่บ่อย ๆ เสมือนเป็นบททดสอบว่าเขาเหมาะสมหรือไม่ กับการเข้ามาอยู่ในฐานะแบบอย่างของผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่เชฟแอนดี้มาจากครอบครัวที่ไม่ได้ลำบาก มีฐานะทางบ้านและถูกเลี้ยงดูอย่างตามใจสไตล์ลูกคุณหนู ในวัยเด็กเขาปฏิเสธความลำบากทุกอย่างมี Comfort Zone ของตนเองที่เขาสร้างขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเยาว์เลือกที่จะใช้ชีวิตอิสระแบบไม่สนใคร

ในโลกนี้ไม่มีใครทำงานแล้วไม่เคยผิดพลาด คนยิ่งทำงานมากยิ่งผิดพลาดมาก ถ้าทำผิดอยู่ในขอบเขตที่รับได้ก็ถือว่าไม่เป็นไร แก้ไขและทำใหม่ แต่คนที่ไม่ผิดพลาดเลยนั่นคือคนที่ไม่ทำอะไรเลย” –ธนินท์ เจียรวนนท์

เมื่อเวลาผ่านไปเติบใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นคนที่ไร้เป้าหมายและไร้แก่นสารในชีวิต Comfort Zone ในชีวิตที่ตนเองสร้างไว้เสมือนกำแพงกั้นตัวเองก็หนาขึ้นเรื่อย ๆ จนบังตาใช้ชีวิตอย่างผิด ๆ มาโดยตลอดจนทำให้ทางบ้านและครอบครัวรู้สึกเอือมระอาถึงขนาดประกาศตัดขาดไม่เหลียวแล และนั่นก็คือจุดเปลี่ยนแรกในชีวิตเขาเชฟแอนดี้ในวัยนั้นต้องจำใจไปใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกาแบบโดดเดี่ยวเพราะความจำเป็นบังคับ จากลูกคุณหนูที่ในจุดที่สูงมาก่อน ต้องเปลี่ยนมาเป็นคนที่ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิดการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของตนเองเขาเริ่มหาเป้าหมายและแก่นสารให้กับชีวิต และตัดสินใจที่จะทลาย Comfort Zone ที่ตัวเองสร้างมาให้หมด

เมื่อครอบครัวไม่สนับสนุนอีกแล้วแต่ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปเขาจึงเริ่มหางานทำในร้านอาหารเริ่มต้นจากตำแหน่งงานเล็ก ๆ ในร้านเป็นคนกวาดพื้นเป็นเด็กเสิร์ฟ และค่อย ๆ ขยับไปสู่ห้องครัวการได้รับค่าจ้างครั้งแรกของเขาที่เป็นเพียงเงิน 20 ดอลลาร์ คือจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของชีวิตเชฟแอนดี้เงินจำนวนเพียงน้อยนิดนี้หากเอาไปใช้ซื้อสิ่งของต่าง ๆ ก็คงได้วัตถุสิ่งของเพียงแค่ 2 – 3 อย่าง แต่เงินจำนวนนี้กับมีค่ามหาศาลต่อชีวิตเชฟแอนดี้เพราะมันสามารถซื้อ Mindset ชุดใหม่ที่สร้างจุดเปลี่ยนอันเป็นโอกาสในการก้าวเดินต่อไปของชีวิตเขาได้ความภาคภูมิใจและ รสชาติของการทำงานหาเงินมาด้วยตัวเองมันเป็นแบบนี้นี่เอง และนั่นเป็นครั้งแรกของเขาที่ได้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของตนเองเขาพัฒนาตนเองขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้เข้ามาสู่ห้องครัวและได้เรียนรู้เรื่องของการทำอาหาร

แนะนำบทความน่าอ่าน

แบบอย่างผู้นำที่สร้างโอกาสให้ตนเองจากการ “ลงมือทำ”

คำกล่าวของสุดยอดนักธุรกิจไทยอย่าง เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ชี้ให้เห็นว่าคนทำงานทุกคนไม่ว่าใครจะเก่งแค่ไหนก็ต้องมีผิดพลาด ยิ่งเก่งมากทำมากก็ยิ่งผิดพลาดมาก แต่เมื่อผิดพลาดแล้วสิ่งสำคัญต้องรู้จักแก้ไขพัฒนาตนเองไม่ให้ผิดพลาดอีกแม้กระทั่งเจ้าสัวธนินท์เอง ก่อนจะกลายมาเป็นสุดยอดผู้นำและนักธุรกิจไทยชั้นแนวหน้า หรือเป็นแบบอย่างของผู้นำด้านธุรกิจในทุกวันนี้ก็มีการตัดสินใจและลงทุนที่ผิดพลาดมานับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน แต่เมื่อเจ้าสัวธนินท์รู้ตัวว่าผิดพลาดก็จะรีบแก้ไขถ้าไม่ถอยก็เปลี่ยนกลยุทธ์จึงทำให้เขากลายมาเป็นสุดยอดผู้นำและนักธุรกิจไทยชั้นแนวหน้าได้ในทุกวันนี้ สำหรับเส้นทางความสำเร็จของเชฟแอนดี้เองก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าได้ลองไปสัมผัสถึงจะรู้ว่าชอบหรือไม่ถ้าชอบก็จะเริ่มสนใจ และทำให้เกิดคำถามเมื่อมีคำถามที่หาคำตอบไม่ได้ก็จะเริ่มศึกษา และเมื่อศึกษามาก ๆ ก็จะเกิดความหลงใหล คนที่เกิดความหลงใหลในสิ่งใดก็จะเริ่มใส่ใจรายละเอียดทุกรายละเอียด และนั่นก็จะทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้น” –แอนดี้ ยังเอกสกุล

หลังจากที่ได้เริ่มเรียนรู้เรื่องการทำอาหาร เชฟแอนดี้ก็เริ่มสนุกและสนใจมากขึ้นจึงตั้งใจเริ่มพัฒนาตนเองขึ้นมาเรื่อย ๆ Mindset เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นลงมือทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนความสนใจธรรมดากลายเป็นความ “หลงใหล” ทำผิดแล้วผิดอีก ถูกตำหนิต่อว่าดูถูกสารพัดบ่อยเข้าเชฟแอนดี้ก็เริ่มไม่รู้สึกระคาย เพราะตอนนี้เขาเริ่มวาง Mindset ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตได้แล้วเขาพัฒนาฝีมือและทักษะของตนเองในเรื่องการทำอาหารจนกลายเป็นเชฟ แต่เขาก็ยังไม่หยุดพัฒนาตนเองอยู่แค่นั้น เพราะความฝันของคนทำอาหารทุกคนก็คือ การมีร้านอาหารเป็นของตนเอง และเขาก็ทำได้สำเร็จสามารถสร้างร้านอาหารไทยที่มีชื่อเก๋ไก๋ว่า “โรงเตี๊ยม” (Rhong Tiam) อยู่กลางมหานครนิวยอร์ก ที่ทำให้อาหารไทยเลอค่า “ดูแพง” มากขึ้นในสายตาของชาวต่างชาติเป็นการเพิ่มศักดิ์และศรีให้กับอาหารไทย เขาสามารถคว้ารางวัล Michelin Star มาได้ในตอนนั้นจากการทำร้านอาหารแห่งนี้ เขาอาจขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้วก็ได้ในสายอาชีพ

แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้สร้างแนวคิดใหม่ ๆ หรือ Mindset ที่รสชาติเข้มข้นที่สุดให้กับเขาเลยความสำเร็จทำให้เขาลืมใส่เครื่องปรุงบางอย่างลงไปในแนวคิดจึงขาดความสดใหม่ไป เขามั่นใจในศักยภาพของตนเอง จึงเปิดร้านอาหารใหม่อีกสองร้านแต่ปรากฏว่าทุกอย่างไม่สวยหรูอย่างที่คิดด้วยความมั่นใจที่มากเกินไปของเขา ทำให้การบริหารจัดการร้านมีความผิดพลาด ทั้งสองร้านต้องปิดกิจการไปในเวลาไม่นานการที่ร้านอาหารทั้งสองร้านที่ลงทุนไปมหาศาลของเชฟระดับ Michelin Star อย่างเขาต้องมาปิดตัวลงแบบง่าย ๆ แบบไม่มีใครคาดคิดนี้เป็นวิกฤตครั้งสำคัญสำหรับเขา แต่ในวิกฤตก็ย่อมมีโอกาส การล้มลงครั้งนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งสำหรับเชฟแอนดี้ เพราะเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดที่ทำให้เขาเข้าใจชีวิตมากขึ้น เชฟแอนดี้มองความผิดหวังครั้งนี้ด้วยแนวคิดใหม่มองด้วยสายตาที่หมดแล้วซึ่งความผยองลำพองตน “นี่คือรสชาติของชีวิต” เขาได้ลิ้มลองรสชาติของชีวิตที่แตกต่างไปเขาพยายามเรียนรู้จากความผิดพลาด ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เขาต้องล้มลง นั่นจึงทำให้เขาค่อย ๆ มองเห็นตัวเองได้ชัดขึ้นทีละนิดจากคนที่ไม่มีเป้าหมาย แต่สามารถเดินไปจนถึงจุดสูงสุดได้ และก็ร่วงลงมานับหนึ่งได้อีกครั้งตอนนี้เขาเรียนรู้แล้วว่ารสชาติชีวิตที่ครบรสเป็นอย่างไร เขาจึงตัดสินใจละทิ้งความเศร้าความท้อทั้งหมดค่อย ๆ ประคองตัวเองให้ลุกขึ้นอีกครั้งนับหนึ่งใหม่กับสิ่งที่เขารัก

เชฟแอนดี้กลับมาทำร้านอาหารอีกครั้งเป็นร้านเล็ก ๆ โดยมีภรรยาช่วยคราวนี้เขาทำอย่างค่อยไปค่อยไปทำอย่างรอบคอบละเมียดละไมทั้งเรื่องของอาหารและการบริหารจัดการร้าน จนทำให้ร้านอาหารเล็ก ๆ ค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นทีละนิดอีกครั้งจนในที่สุดก็สามารถขยายสาขาเพิ่มได้ในอเมริกา และปัจจุบันนี้เชฟแอนดี้ยังได้ร่วมกับเพื่อนเชฟต่างชาติกลับมาเปิดร้านอาหารที่ไทยเพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานอาหารไทยให้สามารถมีที่ยืนในเวทีอาหารชั้นนำระดับโลกได้อย่างไม่ต้องอายใครนั่น คือ ร้านอาหารเชฟส์เทเบิล” ในซอยสุขุมวิท 38 ตอนนี้เชฟแอนดี้ กลับมายืนหยัดอย่างสง่าอีกครั้งทั้งในฐานะเชฟระดับอินเตอร์และเจ้าของร้านอาหารเพราะเข้ามี Mindset ที่ถูกต้องในการใช้ชีวิต และช่างมีรสชาติเข้มข้นจริง ๆ ต้องบอกเลยว่ากว่าจะได้ Mindset ที่รสชาติเข้มข้นขนาดนี้ก็เล่นเอาเชฟแอนดี้เพลียไปเหมือนกัน

เส้นทางชีวิตของเชฟแอนดี้เต็มไปด้วยจุดเปลี่ยนของชีวิตมากมาย แต่ก็นั่นล่ะคือชีวิตที่แท้จริงจะต้องมีรสชาติแบบครบรสฉะนั้นคุณต้องการให้รสชาติของชีวิตคุณเป็นอย่างไรล่ะ เรียนรู้จากเชฟแอนดี้แล้วหยิบเครื่องปรุงที่จะปรุงแต่งชีวิตของคุณให้ถูกนะ แล้วชีวิตคุณจะหอมมันกลมกล่อมอย่างที่คุณต้องการ

Passiongen

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.