Categories: FeaturedINSPIRE

นักสื่อสารผ่านตัวอักษร…เบื้องหลังความสำเร็จของทุกธุรกิจ

5 / 5 ( 1 vote )

นักสื่อสารผ่านตัวอักษร…เบื้องหลังความสำเร็จของทุกธุรกิจ

สังเกตไหมว่าการใช้ชีวิตแต่ละวันของคุณ ผูกพันกับตัวอักษรมากมายขนาดไหน ตั้งแต่หนังสือเรียนกองโตที่เราต้องอ่านและท่องจำให้ได้แทบทุกตัวอักษร หนังสือพิมพ์เพื่อติดตามข่าวสารบ้านเมือง แม้กระทั่งโบรชัวร์สินค้า โฆษณาธุรกิจออนไลน์ หรือข้อความส่งเสริมการขายต่างๆ ที่กระตุ้นให้เราสนใจควักกระเป๋าซื้อผลิตภัณฑ์หรือตัดสินใจใช้บริการนั้นๆ

แต่คุณเคยสังเกตไหมว่า ตัวอักษรไทยหรือตัวอักษรต่างประเทศที่เราเห็นกันจนชินตาตั้งแต่เด็กจนโตนั้น มีการพัฒนารูปแบบและไม่หยุดนิ่ง เช่นเดียวกับเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ ทำให้ปัจจุบันตัวอักษรมีลวดลายและรูปแบบที่สวยงามแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะงานที่ใช้

เราขอพาไปรู้จักนักออกแบบอักษร หรือ Type Designer – อนุทิน วงศ์สวรรคกร ผู้ร่วมก่อตั้งและเจ้าของธุรกิจ บริษัท คัดสรร ดีมาก จำกัด บริษัทออกแบบตัวอักษรและออกแบบเรขศิลป์เพื่อวางแผนสื่อสารองค์กร ที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 16 ปี

Type Designer เป็นอาชีพใหม่สำหรับคนไทย?

หลายคนอาจจะคิดว่า อาชีพนักออกแบบตัวอักษร หรือ Type Designer เป็นอาชีพใหม่สำหรับเมืองไทย แต่อนุทินกล่าวว่า จริงๆ แล้วอาชีพนักออกแบบอักษรอยู่คู่กับธุรกิจในประเทศไทยมานานแล้ว เพราะเราใช้ตัวอักษรในการสื่อสารมาโดยตลอด อย่างตัวอักษรในเครื่องพิมพ์ดีด ตัวตะกั่วเรียงพิมพ์ ตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ มันมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ เพียงแต่ที่ผ่านมาคนที่เป็นนักออกแบบไม่ได้เปิดเผยตัวมากนัก ตัวเขาไม่ได้เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจนี้ แต่เป็นรุ่นล่าสุดที่เข้ามาดูแลเรื่องตัวอักษรที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ว่ามีข้อแม้อะไรบ้าง และข้อจำกัดที่ต้องทำให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน

แรงบันดาลใจในการเป็น Type Designer ที่เกิดจาก “จริต” และการตั้งคำถาม

อนุทินกล่าวว่าในชีวิตของแต่ละคน มีเรื่องที่จะคลิ๊กหรือถูกจริตไม่เหมือนกัน บางทีเราหาคำตอบไม่ได้ว่า ทำไมแต่ละคนถึงชอบทำงานต่างกัน เพราะมันมีอะไรบางอย่างในเนื้องานที่ ภาษาไทยเรียกง่ายๆ คือ ถูกจริตกัน สำหรับคนทำงานออกแบบ ก่อนจะถึงขั้นตอนงานออกแบบ มันจะมีส่วนประกอบ ที่จะทำงานออกแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพประกอบ เป็นต้น ซึ่งภาพประกอบ เราทราบกันดีว่ามาจากภาพถ่าย หรือมาจากโปรแกรมที่วาดขึ้น

แต่เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่าตัวอักษรมาจากไหน? ตัวอักษรมาอยู่ใน font เมนูให้เราเลือกได้อย่างไร และใครเป็นคนนั้นที่ทำให้สิ่งนี้มันเกิดขึ้น?

ผมเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง ผมก็เลยรู้สึกว่า ตัวอักษรมันถูกจริตกับผม และเป็นจุดเริ่มต้นว่า สิ่งนี้น่าสนใจ และอยากทำ

วงการธุรกิจ Type Designer บ้านเราเป็นอย่างไร

เป็นที่น่ายินดีว่า นักออกแบบรุ่นใหม่สนใจงานออกแบบตัวอักษรมากขึ้น และเราก็พยายามเข้าไปหา International Standard มากขึ้น เพราะทุกวันนี้ อินเตอร์เน็ททำให้โลกแคบลง และ ฟ้อนต์ 1 ฟ้อนต์ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภาษาใดภาษาเดียว ใน 1 ฟ้อนต์อาจมีมากกว่า 1 ภาษา เพื่อช่วยให้หน่วยงานชหรือองค์กร ได้บุกเบิกตลาดระดับโลก โดยที่ยังคงอัตลักษณ์ของแบรนด์ไว้ได้

เพราะฉะนั้น การที่จะทำให้ทุกภาษามันทำงานด้วยกันได้ใน ฟ้อนต์ๆ เดียว มันจะต้องสื่อสารกับคนอื่นๆ นอกเหนือจากในประเทศไทย ทุกวันนี้อุตสาหกรรมการออกแบบตัวอักษรบ้านเรา ได้เริ่มมีการบุกเบิกไปหาตลาดและธุรกิจมาตรฐานข้างนอกมากขึ้น และพยายามผสมผสานภาษาไทย เข้าไปในระบบฟ้อนต์นานาชาติ

คัดสรรดีมาก กับกิจกรรมที่พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้นักออกแบบไทย

ผมมองว่าอีกบทบาทสำคัญของ คัดสรรดีมาก คือเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน (Sharing Society) เราจึงได้จัดงานสัมมนาวิชาการอักขรศิลป์นานาชาติ กรุงเทพฯ (Bangkok International Typographic Symposium : BITS เป็นเวทีระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การออกแบบระหว่างกัน ให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังจะเข้ามาในสายงานนี้ หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่สนใจ เพื่อจะได้รู้ว่า สิ่งที่เค้าใช้มันคืออะไร มันมีที่มาที่ไปอย่างไร มันมีข้อจำกัดอย่างไร และสำหรับคนในวงการ Type Designer จะได้รู้ว่า ปัญหาที่เค้าเจอมันทีทางแก้อย่างไร และในอีกซีกโลกหนึ่งมีการแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อเราสามารถปรับใช้ได้ในอีกบริบทหนึ่ง

เราจัดมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 แล้ว แต่ละปีก็ได้รับความสนใจมากขึ้น หลายคนมาทุกปีจนคุ้นหน้ากัน เกิดเป็นชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้เราเกิดการพัฒนาเรื่องที่เราทำอยู่

วงการ Type Designer บ้านเราปัจจุบันเป็นอย่างไร

ปัจจุบัน Type Designer คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายมาก เพราะคนไทยมีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ อีกทั้ง BITS เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ Type Designer คนไทยได้มีบทสนทนากับต่างชาติ และคนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ซึ่งปีนี้มีคนมาจาก Adobe หรือปีก่อนๆ ก็มีคนมาจาก Google Microsoft มาร่วม

เพราะฉะนั้น เวลาที่คนเหล่านี้มา เราสามารถขอความช่วยเหลือได้ หรือให้คำแนะนำเขาได้ อย่างภาษาไทยเราต้องการการสนับสนุนแบบไหน เพื่อให้สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการของเขาได้ดีขึ้น

ตรงนี้ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ และผมคิดว่าจะยังคงเดินหน้าจัดงานต่อไป เท่าที่กำลังเราจะสามารถทำได้

มีอะไรฝากถึงคนรุ่นใหม่ ที่สนใจเข้ามาสู่วงการ Type Designer บ้าง

ถ้าคุณสนใจอะไร อะไรที่มันคลิ๊กกับคุณ คุณต้องพยายามลงไปในเชิงลึก เพราะเด็กรุ่นใหม่ จะออกไปในเชิงกว้างมาก ผมมองว่าสนใจหลายอย่างได้ สนใจในเชิงกว้างก็ดี จะได้รู้ว่า มีอะไรรอเขาอยู่บ้าง แต่ก็ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า อะไรที่ถูกจริตกับเรามากที่สุด ซึ่งมันเป็นปกติกับทุกๆ อาชีพ ไม่เฉพาะกับ Type Designer อย่างเดียว

Key Takeaways

  • เริ่มต้นธุรกิจหรืออาชีพจากส่งที่ชอบ ศึกษาลงลึกในสิ่งที่ใช่ ฝึกให้ตัวเองเริ่มจากการรู้ลึก เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ แล้วจึงศึกษาเพื่อให้รู้กว้าง เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจหรือเปิดตลาดใหม่ และยังได้มีโอกาสติดต่อกับบุคคลในสาขาอาชีพอื่นๆ
  • เข้าร่วมกิจกรรมหรือการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ เป็นแหล่งความรู้ชั้นดี (ที่บางงานก็ฟรี) ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ และอาจจะช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจของคุณได้เช่นกัน
Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.