Categories: INSPIRE

“TakeMeTour” ธุรกิจท่องเที่ยวแนวคิดใหม่ – ที่เจ๋งโดนใจแหล่งเงินทุน!

3.9 / 5 ( 7 votes )

อย่างที่รู้กันดีว่า ธุรกิจการท่องเที่ยว ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักของประเทศไทย ที่นับวันอัตราการเติบโตของธุรกิจนี้มีแต่ขึ้นกับขึ้นเพราะเมืองไทยเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมายตั้งแต่เหนือจรดใต้ คุณนพและคุณต้า ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพสุดแนวอย่าง TakeMeTour จึงคิดการทำทัวร์ในรูปแบบใหม่ที่จะให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสการใช้ชีวิตแบบคนไทยจริง ๆ เค้าเที่ยวกัน การกิน การอยู่ ที่ไม่เน้นหรูแต่เน้นโดนใจเหมือนเพื่อนพาเพื่อนเที่ยวแบบ One day tour ด้วยแนวคิดแบบใหม่ที่ไม่ธรรมดาจึงทำให้ตอนนี้ Takemetour กลายเป็น Marketplace ด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในไทย ไปดูกันดีกว่าว่าอะไรคือกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้ปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้

TakeMeTour จุดเริ่มต้นจากคนชอบเที่ยว

คุณนพกับคุณต้า ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ TakeMeTour เป็นคนที่ชอบท่องเที่ยวอยู่เป็นทุนเดิมซึ่งที่ผ่านมาเวลาไปเที่ยวที่ไหนก็จะให้เพื่อนที่เป็นเจ้าบ้านเป็นคนพาเที่ยวซึ่งทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการที่มีคนท้องถิ่นมาคอยพูดคุยบอกเล่าเรื่องราว เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย พาไปกินร้านอาหารอร่อย ๆ ที่คนแถวนั้นกินกัน และได้เดินลัดเลาะตรอกซอกซอยเพื่อชมสถานที่พิเศษ ๆ ในแต่ละท้องถิ่นนั้น มันช่างมีเสน่ห์และแตกต่างกว่าการเที่ยวแบบตามตารางในสถานที่ยอดฮิตแบบที่ผ่าน ๆ มาชนิดที่เทียบกันไม่ติด พวกเขาจึงเกิดแนวคิดใหม่ที่อยากเชื่อมโยงคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยวให้ได้มาเจอกันจึงเกิดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ TakeMeTour ในที่สุด

“พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และ เรียนรู้จากคนรุ่นใหม่”
แนวคิดผู้นำที่ดี ธนินท์ เจียรวนนท์

อุปสรรคในสนามจริงและการปรับแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจของ TakeMeTour ในตอนแรกเริ่ม ได้วางไว้ว่าจะเริ่มจากการติดต่อนักเรียนไทยในต่างประเทศให้เป็นคนพาคนไทยที่ต้องการไปเที่ยวในประเทศนั้น ๆ ซึ่งตอนนั้นคุณต้ากำลังเรียนอยู่ในประเทศทางยุโรปอยู่พอดีก็เลยเริ่มต้นกันแบบง่าย ๆ ด้วยการหาเพื่อนมาเป็นคนพาเที่ยว แต่หลังจากทำมาได้ระยะหนึ่งก็เริ่มมองเห็นถึงความยากในการขยายและสนับสนุนธุรกิจให้เติบโตเพราะทุกอย่างต้องทำด้วยมือและแรงคนทั้งหมดจึงคิดอยากหาตัวช่วยที่จะสร้างโอกาสให้ธุรกิจนี้เติบโตไปได้ด้วยตัวแพลตฟอร์มในเว็บไซต์ที่ให้ระบบมันเดินได้ด้วยตนเองในลักษณะของ Marketplace แต่เมื่อก็พบปัญหาต่ออีกว่าคนไทยยังไม่ค่อยคุ้นกับระบบอัตโนมัติแบบนี้จึงเกิดการปรับแผนธุรกิจใหม่ให้กลายเป็น Inbound หรือการดึงลูกค้าชาวต่างชาติให้มาเที่ยวแทน โดยเริ่มจากให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวในไทยแล้วให้คนไทยท้องถิ่นเป็นคนพาท่องเที่ยวเพราะกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติจะคุ้นเคยกับการจองทริปและชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์และเครดิตการ์ดมากกว่า

แนะนำบทความน่าอ่าน

บริการของ TakeMeTour

เป็นบริการพาท่องเที่ยวแบบ One Day Trip ซึ่งจะเป็นทัวร์ที่ออกแบบและนำเที่ยวโดยคนท้องถิ่นในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปนักท่องเที่ยวสามารถที่จะบริหารประสบการณ์การท่องเที่ยวของตัวเองได้ตามใจชอบ ตามรูปแบบการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่มีให้เลือกกว่า 10 หมวดหมู่ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถเฟ้นหา Local Expert หรือผู้นำเที่ยวที่ถูกใจเองได้จากโปรไฟล์การรีวิวที่ผ่านมาหรือจากการแนะนำของเว็บไซต์

ซึ่งถือว่าเป็นอีกช่องทางที่ช่วยสร้างงานและสร้างโอกาสให้กับคนในชุมชนต่าง ๆ อีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าใครก็มีสิทธิ์พาเที่ยวได้นะเพราะ TakeMeTour มีความเข้มงวดและกวดขันมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในระดับเข้มข้นเลยทีเดียวเพราะสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจนำเที่ยว คือเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการจัดทริปนั้น ๆ ดังนั้นคนที่จะมาเป็น Local Expert  จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดเข้มงวดส่วนในเรื่องคุณภาพนั้นเป็นมุมมองเฉพาะบุคคล เช่น ลูกค้าคนหนึ่งอาจมองว่าประทับใจ แต่อีกคนอาจมองว่าเฉย ๆ ซึ่งสิ่งที่จะบอกได้จริง ๆ คือการกลับมารีวิวให้บางคนจบทริปไปแล้วกลายเป็นเพื่อนกันไปเลยก็มี ซึ่งตรงนี้คือคุณค่ามากกว่าที่จะมองว่าครั้งหน้าลูกค้าอาจจะดีลกับ Local Expert โดยตรงโดยไม่ผ่านเรา เพราะทาง TakeMeTour มองว่าถ้าเขามาเมืองไทยอีกครั้งเขาก็คงไม่อยากได้ประสบการณ์ที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ จากเมืองไทยแน่นอนส่วนในกรณีที่เป็น Local Expert เข้าชิงใหม่ยังไม่มีคะแนนรีวิวถ้าเขาออกแบบทริปได้น่าสนใจในราคาคุ้มค่าทาง TakeMeTour ก็จะดึงมาโปรโมทที่หน้าแรกของเว็บไซต์ให้เพื่อเป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสที่จะได้เข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนี้ด้วยกัน

แหล่งเงินทุนและ 3 รางวัลการันตีจากเวทีสตาร์อัพ

ด้วยไอเดียและแผนการทำธุรกิจที่แตกต่าง จึงเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสทางธุรกิจกับ TakeMeTour โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่เน้นการท่องเที่ยวแบบ Local Experience ตรงกับธีมที่การท่องเที่ยวแผ่งประเทศไทยพยายามที่จะผลักดันมาตลอดจึงไม่น่าแปลกใจที่ TakeMeTour สามารถคว้ารางวัลใหญ่ในเวทีระดับประเทศและเอเชียมาได้หลายรางวัล

  • รางวัล People’s choice award จากงาน e27 Thailand Qualifier
  • รางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน “Startup Thailand 2016 Pitch Challenge
  • รางวัลชนะเลิศจากงาน Digital Winners Asia
  • รางวัล APICTA Awards 2017 สาขา Tourism and Hospitality

นอกจากนะมีรางวัลมาการันตีความเจ๋งแล้วด้วยแนวความคิดที่แปลกใหม่ ไอเดียการท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใครแถมยังเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ช่วยสร้างงานสร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับคนในท้องถิ่นของสถานที่เที่ยวทั่วไทยแหล่งเงินทุนใหญ่ ๆ จึงพร้อมเข้ามาให้การสนับสนุนเพื่อช่วยให้ธุรกิจของ TakeMeTour ยิ่งเติบโต เช่น  500TukTuks, dtac Accelerate และคุณต๊อบจากเถ้าแก่น้อย

ความสำเร็จและก้าวต่อไปที่ใหญ่กว่าเดิม

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 3 ปี มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาใช้บริการธุรกิจสตาร์ทอัพสุดแนวอย่าง TakeMeTour ร่วม 800 คน ต่อเดือนสร้างงานสร้างโอกาสให้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ ครอบคลุมกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศไทยและมีผู้นำทางท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือ Local Expert ประมาณ 10,000 คน ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารได้ถึง 9-10 ภาษา  

และเป้าหมายต่อไปของ TakeMeTour  คือการวางกลยุทธ์และแผนธุรกิจที่จะรุกตลาดท่องเที่ยวในรูปแบบแนวคิดใหม่ให้หนักขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาคุณภาพของทริปในระบบให้มีความโดดเด่นมากขึ้น เพื่อที่เตรียมรองรับการขยายบริการออกไปในยังประเทศเพื่อนบ้านในย่าน ASEAN เพราะจากการวิเคราะห์โมเดลธุรกิจแล้วประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่สูง ซึ่งกลุ่มประเทศที่ TakeMeTour มองไว้ คืออินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมาร์ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่เป็นปลายทางในฝันของเหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหลายไม่แพ้ประเทศไทยเลยทีเดียว

เห็นมั้ยล่ะว่า การเริ่มต้นทำธุรกิจซักอย่างด้วย Passion นั้นแม้ว่าตอนเริ่มต้นแผนธุรกิจที่คิดและวางไว้จะไม่เป็นดั่งที่ฝัน แต่หากมุ่งมั่นและยังต้องการที่ก้าวต่อไป คุณก็จะพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจที่รักยังคงเติบโตและเดินต่อไปได้ ใครจะไปคาดคิดว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพ เรื่องกิน เรื่องเที่ยว สไตล์บ้านๆ แนว Local Experience ที่เริ่มต้นมาจากความชอบส่วนตัวของคุณต้าร์และคุณนพนั้น วันนี้จะเดินทางมาไกลจนสามารถเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Startup สายเลือดไทย ที่กวาดทั้งรางวัลจากหลายเวทีรวมถึงสร้างรายได้ สร้างโอกาสและสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างประสบความสำเร็จขนาดนี้ ดังนั้นหากคุณมีฝัน อย่าหยุดที่จะตามมันและรีบลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่างที่คุณต้าร์ ผู้ก่อตั้ง TakeMeTour ทิ้งท้ายไว้ว่า

“ถ้ามี idea อยากจะเริ่มทำอะไรซักอย่าง หาทีมให้ดีแล้วเริ่มเลยครับ แล้วเรื่องอื่นๆก็จะตามมาเองครับ Fail cheap & fail fast is better than “never” fail” -คุณต้าร์ founder of TakeMeTour

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.