ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเปิดบริษัทขึ้นมามีคนรุ่นใหม่ Gen Y เข้ามาทำงานแต่ไม่ว่าจะกี่คนที่เข้ามาก็ทำอยู่กับบริษัทคุณได้ไม่นานอย่างมากก็เพียงหนึ่งปีแล้วก็ลาออกไป รับคนใหม่เข้ามาก็เป็นเช่นนี้อีก อุตส่าห์ฝึกสอนเทรนด์กันจนเก่งแล้วเชียวแต่เดี๋ยวเดียวพนักงานรุ่นใหม่เหล่านี้ก็ลาจากไป
บางคนอาจออกไปทำอาชีพอิสระ เป็นฟรีแลนซ์ คนมีต้นทุนที่ดีหน่อยก็ออกไปสร้างตัวเป็นเจ้าของธุรกิจเองเลยก็มี คำถามคือคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ผิดพลาดเป็นหัวหน้าที่ไม่เอาไหนหรืออย่างไร เหตุใดคนรุ่นใหม่ที่มีฝีมือต่างละทิ้งงานประจำไปง่าย ๆ เช่นนี้ คำตอบในเรื่องนี้เป็นไปได้หลายอย่างแต่ที่แน่ ๆ ก็คือวัฒนธรรมองค์กรของคุณอาจมีจุดบกพร่องทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกว่างานประจำที่ทำอยู่กับคุณนั้นขาดความท้าทายไปแล้วจึงทำให้พวกเขาต้องออกไปแสวงหาความท้าทายใหม่แล้วคุณจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี
เว็บไซต์สำหรับคนหางาน Glassdoor.com ที่มีทั้งการรวมรวมข้อมูลและการรีวิวเรื่องงานในบริษัทต่าง ๆ ได้มีการจัดอันดับ Office ยอดเยี่ยมประจำปี 2018 ซึ่ง Office ในฝันของคนรุ่นใหม่อันดับหนึ่งเลยก็คือ Office ของบริษัท Facebook แล้ว Office Facebook มีอะไรดี ?
Facebook เป็นบริษัทธุรกิจแห่งอนาคตจริง ๆ พนักงานเป็นหมื่น แต่การติดต่อสื่อสารประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องไม่มีสะดุด เพราะพวกเขาจะใช้สไตล์การทำงานแบบแบ่งกลุ่มย่อย งานชิ้นเดียวแต่แบ่งกลุ่มทำ เหมือนต่อจิ๊กซอว์ ใครมีหน้าที่ทำตรงส่วนไหนก็ทำไป สุดท้ายแล้วพอเอามารวมกันก็เป็นงานชิ้นหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ วิธีนี้บริษัทธุรกิจสมัยใหม่หลายแห่งก็เริ่มนำมาใช้กันแล้ว เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ พนักงานทุกคนได้ทำงานอย่างทั่วถึง งานไม่กระจุกตัว ไอเดียของคนทุกคนได้ถูกขุดออกมาใช้ ยิ่งคนรุ่นใหม่ที่ไฟยิ่งรู้สึกว่าการทำแบบนี้เขาได้โชว์ความสามารถเต็มที่ ทำให้มีแรงผลักดันและไฟในการทำงานมากขึ้น
พนักงานของ Facebook ทุกคนมีหน้าที่อย่างชัดเจนทุกคนจะรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของบริษัทเอกชนเล็ก ๆ ที่ทำธุรกิจของตนเองเพราะ Facebook เปิดรับไอเดียของทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานไหนก็มีส่วนในการสร้างสรรค์งานได้ และ “โอกาส” นี่แหละที่คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นที่สุด
ออฟฟิศ Facebook ได้รับเสียงชื่นชมจากพนักงานมาเนิ่นนานแล้วว่าเป็นออฟฟิศของธุรกิจสมัยใหม่ที่ทั้งสวย ทั้งเท่ ทั้งน่าทำงาน เพราะ Facebook ใส่ใจทุกรายละเอียดของการทำงาน Facebook เป็นบริษัทธุรกิจแห่งอนาคตเป็นธุรกิจร่วมสมัยที่ต้องการความสดใหม่ของไอเดียที่หลากหลายอยู่เสมอพวกเขาจึงมีพนักงานประจำที่หลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ความหลากหลายเหล่านี้ต้องการสภาพแวดล้อมที่ช่วยดึงความคิดสร้างสรรค์พวกเขา
Facebook จึงจัดสรรความหลากหลายตอบสนองพนักงานประจำทุก ๆ คนทั้งเรื่องของสวัสดิการสุขภาพอาหารการกินอาหารสมอง (การเวิร์คช็อปต่าง ๆ) รถรับส่งวันหยุดที่พอเพียง (หยุดไปเที่ยวรอบโลกก็ยังได้ถ้างานไม่เสีย) และที่สำคัญค่าตอบแทนแบบที่เรียกว่าทำแล้วรวยจริง ๆ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานประจำให้พนักงานไม่รู้สึกว่านี่คืองาน แต่นี่คือชีวิตประจำวันสิ่งเหล่านี้หลอมรวมกันจนเป็นวัฒนธรรมองค์กรของ Facebook
เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจจะคิดว่าคนหนุ่มสาวชอบทำงานฟรีแลนซ์หรือมีอาชีพอิสระมากกว่าการเป็นพนักงานบริษัทแต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลยคนรุ่นใหม่ไม่ได้รังเกียจหรือรู้สึกแอนตี้งานประจำ แต่บริบทแวดล้อมในบริษัททำให้พวกเขารู้สึกว่างานทำให้เขาขาดอิสระที่จะคิดและใช้ชีวิตและก็ไม่ท้าทายอีกต่อไป
ถ้าจะดูกันตามความเป็นจริงแล้วคุณก็จะทราบดีว่าอาชีพอิสระหรือการทำงานฟรีแลนซ์นั้นน่าจะขาดอิสระมากกว่าการทำงานประจำด้วยซ้ำ เพราะด้วยตารางงานที่ไม่แน่นอนวันหยุดที่ไม่แน่นอนอีกทั้งรายได้ที่ไม่แน่นอนด้วย แต่ทำไมคนรุ่นใหม่ยังเลือกที่จะลาออกจากงานประจำหันไปทำอาชีพอิสระอีกนั่นก็เพราะว่าคนรุ่นใหม่รู้สึกว่าอย่างน้อย ๆ พวกเขามีอิสระที่จะได้เลือกทางเดินชีวิตของตนเองและสิ่งเหล่านี้คือความท้าทายที่จะได้สั่งสมประสมการณ์นำไปต่อยอดเป็นธุรกิจในอนาคตของพวกเขาได้
สิ่งที่น่าสนใจตรงนี้สำหรับคนเป็นเจ้าของธุรกิจและเป็นหัวหน้าของหนุ่มสาวเหล่านี้ก็คือ คุณจะปรับเปลี่ยนสไตล์และรูปแบบการทำงานในบริษัทของคุณอย่างไรที่จะทำให้หนุ่มสาวเหล่านั้นรู้สึกว่างานประจำก็คืออาชีพอิสระ
ทางออกในเรื่องนี้ที่เราขอแนะนำก็คือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการให้ทีมงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ งานประจำไม่จำเป็นต้องนั่งทำที่ออฟฟิศอีกต่อไป ทุกพื้นที่ในตอนนี้สามารถทำงานได้แม้กระทั่งนั่งอยู่ในร้านกาแฟก็สามารถออนไลน์ถึงกันได้หมดแล้ว การหาพื้นที่แบบ Co-Working หรืออนุญาตให้พวกเขาสามารถทำงานอยู่ที่บ้านดูจะช่วยทำให้ความรู้สึกของพวกเขาดีขึ้น พวกเขาได้ทำอาชีพแบบพนักงานประจำ แต่มีความรู้สึกที่เป็นอิสระมากขึ้น คุณค่าและความท้าทายของงานก็ไม่ได้ลดลงไป
คุณเป็นเจ้าของบริษัททำธุรกิจจำเป็นต้องมีออฟฟิศเป็นหลักแหล่งก็จริง แต่ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องให้พนักงานทุกคนต้องเข้าไปนั่งในออฟฟิศทุกวันให้เขาทำงานที่บ้านบ้างพูดคุยสื่อสารผ่านออนไลน์ หรือ หาพื้นที่บรรยากาศดี ๆ นัดพบกันในการนั่งระดมสมองคิดงานสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งก็น่าจะเป็นไอเดียที่ดีที่จะช่วยทำให้ความรู้สึกของพนักงานหนุ่มสาวปลอดโปร่งถึงแม้จะทำงานประจำแต่ก็ไม่รู้สึกว่ากดดันและรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้น
คนรุ่นใหม่ก็ไม่ต่างจากคนรุ่นเก่าทุกคนต่างต้องการ “อิสระในชีวิต”
แต่ในความเหมือนนี้ก็มีความแตกต่าง คนรุ่นเก่าใช้วิธีการเลือกทำงานประจำที่มั่นคง ทำอย่างมุ่งมั่นทุ่มเท แล้วเงินทอง ความร่ำรวยก็จะตามมา และเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่าง ๆ ในตนเอง แต่คนรุ่นใหม่นั้นมองว่าวิธีการนั้นมันช่างเชื่องช้าไม่ทันใจเสียเหลือเกิน จึงขอคิดแบบรวบรัดตัดตอน และหาทางลัดที่จะไปสู่อิสรภาพที่คิดว่ารวดเร็วกว่า นั่นคือ ‘การบริหารเวลา’ คนรุ่นใหม่เลือกที่จะใช้เวลาทุกนาทีอย่างมีรูปแบบ งานประจำก็ยินดีทำแบบเต็มใจ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องการหารายได้เสริมจากงานอื่น ๆ ตามความรู้ความสามารถที่พวกเขามีไปด้วย เมื่อมีช่องว่างและโอกาส บางคนก็หางานทำตอนหลังเลิกงานอีกด้วย ตรงนี้จึงทำให้คนที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นเจ้าของธุรกิจมองว่า ลูกน้องที่เป็นคนรุ่นใหม่ดูจะไม่จริงจังกับงานประจำที่ได้ฝากฝังความรับผิดชอบไว้ เหมือนทำไม่เต็มที่ แต่ในความเป็นจริงถ้ามองอย่างลึกซึ้งแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย
คนรุ่นใหม่ก็เต็มที่กับงานไม่ว่าจะงานประจำหรืองานนอกส่วนตัวถ้าจะพูดถึงเรื่องการทำงานอย่างมุ่งมั่น จะเห็นได้เลยว่าคนรุ่นใหม่ก็มีความมุ่งมั่นทำงานอย่างหนัก และพวกเขายังมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางอาชีพหรือหารายได้เสริมได้ตลอดเวลาแม้ในยามพักผ่อน ซึ่งนี่เป็นความสามารถที่บางทีคนรุ่นเก่าก็อาจทำไม่ได้เหมือนกัน ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ใจที่ให้กับงานและการใช้ชีวิตที่จริงจัง ไม่ได้ต่างกันเลยระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เป้าหมายเดียวกันเพียงแต่ต่างวิธีการที่จะไปถึง คนรุ่นเก่าเลือกที่จะเดินตามเส้นทางที่กำหนดกรอบเป้าหมายไว้เพื่อไปถึงเส้นชัยคืออิสระภาพแต่คนรุ่นใหม่เลือกที่จะใช้วิธีการเดินไปลัดเลาะไปตามสถานที่ต่าง ๆ ชมนกชมไม้ สัมผัสกับอิสระในขณะที่ก้าวเดินไปเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายก็เดินไปสู่จุดหมายเดียวกัน
พวกเขามีแนวคิดที่ว่า สะดุดนิด ล้มหน่อย แวะลองผิดลองถูกทำนั่นทำนี่ระหว่างทางคือประสบการณ์ที่ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จที่ปลายทางฉะนั้น จึงไม่มีฝ่ายไหนผิดนี่จึงเป็นโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจทั้งหลายที่ต้องพิจารณาและทำความเข้าใจ เพื่อการบริหารจัดการเรื่องของรายได้ที่สมน้ำสมเนื้อกับความสามารถและเวลาการทำงานของคนรุ่นใหม่เงินเดือนไม่จำเป็นที่จะต้องสูงเว่อร์ แต่โดยรวมแล้วต้องทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่าทำงานกับบริษัทคุณแล้วมีโอกาสรวย รวยทั้งรายได้รวยทั้งเวลาที่เป็นอิสระสิ่งเหล่านี้หัวหน้าและเจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องลองนำไปปรับใช้ดูถ้าสามารถปรับสไตล์เป็นแบบออฟฟิศ Facebook ได้เราก็ขอแนะนำว่าจงทำเถอะ
[full_width]
จากนั้นคุณก็จงสร้างปัจจัยต่าง ๆ ในองค์กร ทั้งรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนให้ดูสมัยใหม่มากขึ้น วัฒนธรรมองค์กร และวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ค้นหาวิธีที่จะแบ่งงานและมอบหมายงานให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำงาน จะได้เพิ่มความท้าทายและแปลกใหม่ ให้อิสระในการทำงานกับพวกเขาทั้งเรื่องของสถานที่ บรรยากาศและเวลา อันเป็นการสร้างปัจจัยที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่างานประจำก็ไม่ต่างจากอาชีพอิสระ แล้วคุณจะได้คนคุณภาพที่ภักดีกับองค์กรของคุณตลอดไป
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
View Comments