Categories: FeaturedINSPIRE

6 เทรนด์การลงทุน เพื่อผลตอบแทนที่ดี พร้อมเทคนิคจัดพอร์ทการลงทุน

6 เทรนด์การลงทุน เพื่อผลตอบแทนที่ดี พร้อมเทคนิคจัดพอร์ทการลงทุน

เทรนด์การลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่ดีในปัจจุบันมีหลากหลายทางเลือก โดยนักลงทุนต้องวางเป้าหมายการลงทุนควบคู่ไปกับการประเมินอัตราความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และการศึกษาเงื่อนไขของการลงทุนแต่ละประเภทโดยละเอียด

คนที่มีเงินก้อนแล้วกำลังมองหาช่องทางการลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผล ไม่ว่าจะเพื่อนำเงินก้อนนี้ไปสร้างครอบครัว เก็บไว้เป็นทุนการศึกษาให้กับบุตรหลาน นำผลกำไรและผลตอบแทนที่ได้ไปลงทุนต่อยอดในธุรกิจของตัวเอง หรือเก็บเงินที่งอกเงยเหล่านี้เอาไว้ใช้ในยามเกษียณ วันนี้เรา 6 เทรนด์ลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่ดี รวมถึงเทคนิคการจัดพอร์ทการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการมาฝากกัน

6 เทรนด์การลงทุน เพื่อผลตอบแทนที่ดี

  • ฝากประจำแบบปลอดภาษี หากคุณมีเงินก้อนที่สามารถตัดฝากได้ในแต่ละเดือน ดอกเบี้ยของเงินฝากประจำก็ถือเป็นอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นดอกเบี้ยแบบปลอดภาษี ซึ่งจะให้ดอกเบี้ยในอัตราที่แตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร ซึ่งการลงทุนประเภทนี้จะเป็นการการันตีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะได้รับในอัตราคงที่แน่นอน แต่อาจจะมีความยุ่งยากเนื่องจากต้องตัดฝากเงินเป็นประจำทุกเดือนและต้องฝากให้ครบตามกำหนดระยะเวลาจึงจะได้ผลตอบแทนตามเงื่อนไข คือ 2 ปี
  • ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ของภาครัฐและเอกชนส่วนใหญ่ล้วนให้ผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผลรายปี ในอัตราที่มากกว่าเงินฝากธนาคารทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหากคุณทำงานอยู่ในหน่วยงานที่มีรูปแบบการฝากเงินลักษณะนี้ การจัดสรรปันส่วนเงินในสหกรณ์เพื่อรอรับปันผลเป็นเงินก้อนรายปี ก็ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมเข้าร่วมประชุมและติดตามข้อมูลข่าวสารการบริหารจัดการสหกรณ์อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการประเมินความเสี่ยงด้วย
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประเภทนี้คนที่ส่งเงินเข้าจะได้รับผลตอบแทนแบบ 2 ต่อ คือ เงินสบทบจากนายจ้างและดอกผลจากการลงทุนของกองทุน เนื่องจากนักลงทุนยังสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนของกองทุนตามความเสี่ยงที่รับได้แต่ละคน เพื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับมากขึ้นตามความเสี่ยงที่เลือก ซึ่งแนะนำว่าควรนำส่งเงินให้เต็มจำนวนเพดานที่สามารถส่งเงินเข้าไปได้คือ 15% เพราะนักลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่าเงินก้อนนี้จะเป็นเงินเก็บระยะยาว ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

กองทุนรวม (Mutual Fund) ได้แก่
กองทุนรวมตราสารหนี้

ความเสี่ยง – เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เนื่องจากกองทุนจะเงินนำไปลงทุนในตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ผลตอบแทน – ดอกเบี้ยประจำในอัตราที่กองทุนกำหนดและผลตอบแทนที่เป็นส่วนต่างจากการลงทุน
ระยะเวลาการลงทุน – มีทั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นและกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป


กองทุนรวมแบบคุ้มครองเงินต้น

ความเสี่ยง – เป็นรูปแบบของกองทุนรวมที่ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีการการันตีเงินต้นให้กับนักลงทุน
ผลตอบแทน – กำไรที่ได้จากการลงทุนซึ่งไม่ต่ำกว่าเงินต้นที่ได้ลงทุนไป
ระยะเวลา – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนด


กองทุนรวมแบบมีประกัน

 ความเสี่ยง – เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากมีการรับประกันว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผลตอบแทนที่ได้จะไม่น้อยกว่าเงินต้นที่ลงทุนไปอย่างแน่นอน
ผลตอบแทน – ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินต้นหรือเงินต้นพร้อมผลตอบแทนที่มีการรับประกัน
ระยะเวลา – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนด


กองทุนรวมตลาดเงิน

ความเสี่ยง – ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ระยะสั้น
ผลตอบแทน – ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินฝากประจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาด
ระยะเวลา – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี


กองทุนรวมตราสารทุน

ความเสี่ยง ความเสี่ยงสูงเนื่องจากเป็นการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65%
ผลตอบแทน ผลตอบแทนได้จากส่วนต่างของมูลค่าการลงทุนและเงินปันผลตามเงื่อนไขของกองทุน
ระยะเวลา ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนด


กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ์

ความเสี่ยง – ความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากเป็นการลงทุนในใบแสดงสิทธ์ที่จะซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุนมากกว่า 65%
ผลตอบแทน – ส่วนต่างจากมูลค่าของหน่วยลงทุน
ระยะเวลา – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนดกองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ


กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ

ความเสี่ยง – ความเสี่ยงสูง เนื่องจากนำเงินไปลงทุนในตราสารของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน
ไม่น้อยกว่า 65%
ผลตอบแทน – ส่วนต่างจากมูลค่าการลงทุน
ระยะเวลา – ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กองทุนกำหนด

  1. ตราสารหนี้ภาคเอกชนหรือหุ้นกู้
    นักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากกว่า การเลือกลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่ภาคเอกชนเสนอขายเพื่อระดมทุนไปใช้ในธุรกิจของตัวเอง ถือเป็นทางเลือกของการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้งยังมีการนำเสนอผลตอบแทนในหลายรูปแบบ ได้แก่ ดอกเบี้ยที่แบ่งจ่ายแบบคงที่ ดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือตราสารหนี้แบบทบ ดอกเบี้ย ซึ่งจะได้รับทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคืนเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน เป็นต้น แต่ทั้งนี้นักลงทุนก็ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถจองหรือซื้อหน่วยลงทุนได้ทันเมื่อมีการประกาศขายหุ้นกู้ด้วย เนื่องจากหุ้นกู้ประเภทนี้จะขายไวหมดไว เพราะให้ผลตอบแทนสูง จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก
  2. เล่นหุ้นหรือออมหุ้น
    ผู้ที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูงและเป็นผู้ที่เวลาติดตามข่าวคราวในแวดวงทางการเงินและแวดวงธุรกิจอยู่เสมอ การนำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นถือเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูงเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ตลาดโลก และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้น นักลงทุนจึงควรกระจายความเสี่ยงในพอร์ทหุ้นของตัวเอง ด้วยการเล่นหุ้นในหลายตลาด นอกจากตลาดหุ้นไทยแล้ว อาจจะต้องศึกษาการไปเล่นหุ้นในตลาดต่างประเทศด้วยเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน โดยอาจจะจัดเริ่มต้นสรรเงินลงทุนเล่นหุ้นในตลาดไทย 70% และตลาดในประเทศ 30% โดยเล่นทั้งหุ้นปันผลระยะยาวและเล่นหุ้นระยะสั้นควบคู่กันไปเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกต่อหนึ่ง

เทคนิคการจัดพอร์ทการลงทุน

ก่อนวางแผนจัดพอร์ทการลงทุน นักลงทุนต้องมีการประเมินตัวเองถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ ว่าต้องการผลตอบแทนระยะสั้นเพื่อนำเงินไปใช้จ่าย ต้องการนำเงินไปลงทุนหมุนเวียนในธุรกิจของตัวเอง หรือต้องการเงินเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ หลังจากนั้นก็ประเมินความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ต่อด้วยการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของการลงทุนแต่ละประเภทโดยละเอียด แล้วเริ่มจัดพอร์ทการลงทุน

ตัวอย่างการจัดพอร์ทลงทุนสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางและต้องการผลตอบแทนเพื่อไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจของตัวเอง

  • ฝากประจำ 30%
  • หุ้นกู้ 30%
  • กองทุนรวมตราสารทุน 20%
  • กองทุนรวมตลาดเงิน 20%

สุดท้ายนอกจากเงินที่นำเอาไปลงทุนแล้ว ต้องอย่าลืมจัดสรรปันส่วนเงินอีก 1 ก้อน แยกเอาไว้ต่างหาก นั่นคือเงินสดซึ่งเป็นเงินเก็บที่สามารถถอนได้เผื่อเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ง่าย ๆ โดยการเปิดบัญชีออมทรัพย์ฝากไว้ในธนาคาร ถึงปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จะอยู่ที่อัตราสูงสุดไม่เกิน 2% แต่เงินจำนวนนี้ที่สามารถออกได้ตลอดเวลาจะช่วยให้คุณมีสภาพคล่องในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินสดได้เป็นอย่างดี

“การลงทุนต้องเริ่มต้นจากการวางเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการลงทุน ประเมินความเสี่ยง ศึกษาข้อมูล เลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้และต้องมีการจัดสรรเงินสดเผื่อเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน”

Key Takeaway

  1. วางเป้าหมายและวัตถุประสงค์การลงทุนว่าต้องการผลตอบแทนระยะสั้นหรือระยะยาว
  2. ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  3. ศึกษาข้อมูลการลงทุนแต่ละประเภทโดยละเอียด
  4. จัดพอร์ทและจัดสรรปันส่วนเงินสำหรับการลงทุน
  5. ฝากเงินสดแบบออมทรัพย์เผื่อเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

 

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.