ถ้าพูดถึง “Wongnai” คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะสายกินที่เน้นชอบดูรีวิวก่อนตัดสินใจ ใครจะคาดคิดว่าจากเว็บไซต์ที่ไว้หาพิกัดร้านอาหารและดูรีวิวจะเติบโตแบบก้าวกระโดดได้จนแหล่งเงินทุนทั้งหลายรุมจีบและกลายเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ Startup สายเลือดไทยที่ประสบความสำเร็จสูงมาก
“คนที่คิดว่าตัวเองเก่งไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง ไม่รับรู้สิ่งใหม่ ความคิดย่อมหยุดอยู่แค่นั้น”
แนวคิดผู้นำที่ดี ธนินท์ เจียรวนนท์
จากเว็บไซต์ถูกพัฒนามาเป็นแอพลิเคชั่นที่หลายคนต้องมีไว้ติดมือถือ เพราะอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดของร้านอาหารที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งตำแหน่งร้าน อาหาร บรรยากาศ ที่สำคัญที่สุดคือ มีการรีวิวอาหารและร้านอาหารจากลูกค้าที่ใช้บริการจริง และด้วยจำนวนของร้านอาหารในระบบเกือบสองแสนร้าน รีวิวอาหารจำนวนหลายแสนวิว จากสมาชิกที่มีอยู่ประมาณเกือบสามล้านคน จึงพูดได้เต็มปากว่า Wongnai คือธุรกิจสตาร์ทอัพดาวรุ่งที่แหล่งเงินทุนต่างๆ วิ่งเข้าใส่ อยากรู้จัก Wongnai ว่ากลยุทธ์ทางธุรกิจแบบไหนที่พาให้พวกเค้ามาไกลได้ขนาดนี้ มาติดตามไปพร้อมๆ กันเลย
จุดเริ่มต้นของ “Wongnai”
Wongnai เริ่มต้นขึ้นจาก คุณยอด ชินสุภัคกุล (CEO) ได้ไปเรียนต่อ MBA ที่อเมริกาและใช้บริการของ Yelp ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่แนะนำร้านอาหารในย่านต่างๆ อยู่เป็นประจำ เวลากลับมาอยู่ไทยก็เลยยังติดที่จะใช้วิธีค้นหาร้านอาหารทางเว็บไซต์อยู่เพราะทั้งสะดวกและรวดเร็ว แต่กลับพบว่าเมืองไทยยังไม่มีเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาร้านอาหารแบบนี้เลย จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์รูปแบบใหม่ที่ช่วยตอบสนองกลุ่มคนที่ต้องการค้นหาพิกัดร้านอาหารในเวลาที่เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในไทย โดยมีเว็บไซต์ Yelp เป็นไอเดียต้นแบบ จากนั้นยอด ชินสุภัคกุล ก็เลยชักชวนเพื่อน ๆ อีก 3 คน คือ ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (CTO), ศุภฤทธิ์ กฤตยาเกียรณ์ (Software Architect), วรวีร์ สัตยวินิจ (Development Manager) ซึ่งทั้ง 4 คนเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียนวิศวะ จุฬาฯ มาเริ่มทำธุรกิจด้วยกัน มีการฟอร์มทีมและวางแผนพัฒนาธุรกิจกันแบบจริงจังตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งในขณะนั้นคุณยอด ก็ต้องเดินทางกลับไปเรียนต่อที่อเมริกาแต่ธุรกิจนี้ยังคงดำเนินการอยู่ และทุกคนยังทำงานประจำกันแต่ก็ใช้ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อประชุมออนไลน์กัน แล้วธุรกิจสตาร์ทอัพในชื่อ Wongnai ก็ค่อยๆ พัฒนามาเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน www.wongnai.com ก็พร้อมเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2553
2 ปีที่ไม่ง่ายในสนามจริง
หลังจากเปิดตัวเว็บไซต์ไปแล้ว คนในทีมก็เริ่มทยอยลาออกจากงานประจำเพื่อมาทุ่มเทให้การทำเว็บ Wongnai อย่างเต็มตัว ทั้งในเรื่องกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ จนเมื่อเว็บเปิดตัวได้ครบ 1 ปีทุกคนก็ลาออกจากงานประจำทั้งหมด ซึ่งสาเหตุที่ทุกคนกล้าเสี่ยงออกมาทำธุรกิจสตาร์ทอัพตัวนี้อย่างเต็มตัวคือ
“ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะว่าเว็บมีคนใช้เยอะขึ้น แต่สำหรับผม ผมพบว่าช่วงเวลาหกเดือนที่ได้ทำเว็บมันมีความสุขกว่าการทำงานประจำ พอกลับถึงบ้านก็จะมานั่งทำต่อด้วยความสนุกที่ได้เรียนรู้แนวความคิดอะไรใหม่ๆ ดี อีกอย่างคือถ้าผ่านช่วงนี้ไปแล้วเราก็คงหมดไฟ แล้วก็คงจะมาเสียดายทีหลังว่าไม่ได้ทำ” – Wongnai Team
คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน
- มาดูกลยุธท์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจพิชิตเงินล้านไปกับ COCONUT4U
- ปั้นธุรกิจสตาร์ทอัพให้โตไว ด้วยคอร์สอบรมธุรกิจดีๆ ใครบอกของฟรีไม่มีในโลก!
- เรืองโรจน์ พูนผล เจ้าพ่อสตาร์ทอัพ แบบอย่างผู้นำที่ไม่เคยลืมประเทศไทย
โดยเงินทุนก้อนแรก 5 ล้านบาท คุณยอดใช้เงินส่วนตัวมาลงทุนและเพื่อนๆ ในทีมลงแรง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เม็ดเงินด้านการโฆษณาที่ได้มาน้อยหรือมีบ้างไม่มีบ้าง แต่ด้วยความมั่นใจในแผนธุรกิจว่า Wongnai ต้องสามารถที่จะเติบโตได้ จึงประคับประคองกันไป มีการรับงานเสริมเขียนโปรแกรมให้กับลูกค้าต่างประเทศบ้างในประเทศบ้าง เพื่อให้เกิดรายได้เข้ามาสนับสนุนธุรกิจหลักให้อยู่ได้ จนผ่านไปได้ประมาณ 2 ปี Wongnai มีสมาชิกอยู่ประมาณ 30,000 คน จึงเริ่มอยู่ได้จากรายได้ของโฆษณาที่เข้ามามากขึ้น
แหล่งเงินทุนสนับสนุนธุรกิจ
เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ของการกระโดดมาทำธุรกิจสตาร์ทอัพ Wongnai ก็เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนเข้าตาแหล่งเงินทุนใหญ่ๆ และได้รับเงินทุนสนับสนุนธุรกิจจาก Recruit Strategic Partners หรือ RSP บริษัทในเครือรีครูท โฮลดิ้งส์ จากประเทศญี่ปุ่น โดย Wongnai ได้นำเงินทุนเข้ามาช่วยพัฒนาข้อมูลร้านอาหารและเพิ่มความแม่นยำของตำแหน่งของร้านค้าให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มเนื้อหาให้มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ Wongnai มีผู้ใช้งานเกิน 500,000 คนและมีข้อมูลร้านค้าไม่ต่ำกว่า 100,000 ร้านในประเทศไทย
และในปีถัดมา Wongnai ก็ได้รับเงินทุนจาก Recruit Strategic Partners อีกครั้ง รวมถึงการเปิดรับให้โครงการ INVENT ของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดดเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อสร้างโอกาสในการขยายกิจการและวางกลยุทธ์ธุรกิจเพิ่มเติม จากเดิมที่มีการรวบรวมข้อมูลร้านอาหารเพียงอย่างเดียวก็ได้ก้าวไปสู่ตลาดเพื่อความสวยความงาม โดยมีข้อมูลร้านอาหาร ร้านสปา ร้านทำผม และอื่นๆ ในแวดวง Beauty ที่จะประกอบไปด้วยรายละเอียดของร้าน และรีวิวของผู้ใช้จริงในฐานข้อมูลมากกว่า 200,000 ร้าน ทำให้ Wongnai มีผู้ใช้งานมากกว่า 2 ล้านรายในขณะนั้นและสร้างรายได้อย่างมากมายจากโฆษณาต่างๆ ที่วิ่งเข้ามา ทำให้ Wongnai กลายเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่แข็งแรงและมาแรงแบบสุดๆ
คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน
- แนวทางในการพัฒนาตนเอง ก้าวทันเทคโนโลยี
- ทิวาร์ ยอร์ค ผู้นำทีมสู่ – E-COMMERCE แนวหน้าของประเทศไทย
- กลยุทธ์เล่าปี่ ร่วมทัพ จับมือ ปั้นมือขวาสร้างธุรกิจให้ยั่งยืน
แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ
ปัจจุบัน Wongnai มีสมาชิก 3 ล้านคน มีผู้เข้าใช้งานประมาณ 8 ล้านครั้งในหนึ่งเดือน ทุกวันนี้ Wongnai จึงกลายเป็นตัวอย่างของ Startup ไทยที่แข็งแกร่ง แต่พวกเขาก็ยังคงไม่หยุดที่จะพัฒนาแนวคิดและค้นหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาต่อยอดธุรกิจที่ทำอยู่ อย่างเช่น
- การร่วมมือกับ LINE MAN โดยเอาฐานข้อมูลร้านอาหารจาก Wongnai แล้วเพิ่มบริการที่สามารถสั่งซื้อผ่าน LINE MAN ได้ทันที กว่า 10,000 ร้านทั่วกรุงเทพ
- การจับมือกับ Alipay และ TrueMoney ในการจ่ายเงินผ่าน E–payment ให้กับค่าสินค้าและบริการของร้านอาหาร ผ่านแอปพลิเคชันพลิเคชัน Alipay wallet สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
- การเพิ่ม Wongnai Cooking เพื่อเป็นช่องทางใหม่ให้กับผู้ที่รักการทำอาหาร ให้สามารถค้นหาสูตรอาหารได้ทั้งตามประเภทอาหาร วัตถุดิบ สูตรอาหาร ส่วนผสม วิธีทำ รวมทั้งมีวิดีโอสอนทำอีกด้วย เพื่อให้เกิดเป็นชุมชนใหม่สำหรับคนรักอาหารเพิ่มขึ้น
- เข้าซื้อ Blognone และ Brand Inside เพื่อขยายคอนเทนต์ของตัวเองให้เพิ่มมากขึ้น
และก้าวสำคัญของ Wongnai คือการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม MAI และเพิ่มบริการภายในประเทศให้ดีที่สุด โดยปรับปรุงข้อมูลให้ลงลึก แม่นยำและมีรีวิวเยอะที่สุด ภายในปี 2562
คงจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่า Wongnai เป็นหนึ่งตัวอย่างของ Startup ชื่อดังที่ช่วยปลุกกระแสการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยให้คึกคัก ด้วยการเป็นสตาร์ทอัพที่หยิบเรื่องราวใกล้ตัวอย่างการค้นหาร้านอาหาร มาสร้างเป็นธุรกิจที่คนหลายล้านอยากเข้ามาใช้บริการและเต็มใจที่จะเข้ามารีวิวเพื่อมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล กลยุทธ์ทางธุรกิจเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจสตาร์ทอัพควรเรียนรู้และนำมาปรับใช้ในธุรกิจสตาร์ทอัพของตัวเอง คุณยอดและทีม Wongnai เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ เรื่องที่สำคัญมี 3 เรื่อง คือ เรื่องไอเดีย เรื่องทีมและเรื่องแหล่งเงินทุน ซึ่งหากคุณมีครบโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ก็มีสูง
Tags:
- invent
- Recruit Strategic Partners
- Tech startup ไทย
- Wongnai
- กลยุทธ์ธุรกิจ
- ตัวอย่าง Startup
- ตัวอย่างธุรกิจ startup ต่างประเทศ
- ธุรกิจ startup 2017
- ธุรกิจ startup 2018
- ธุรกิจ startup pantip
- ธุรกิจ startup ความหมาย
- ธุรกิจ startup ตัวอย่าง
- ธุรกิจ startup ที่ประสบความสําเร็จในไทย
- ธุรกิจ startup มีอะไรบ้าง
- ธุรกิจสตาร์ทอัพ
- สนับสนุนธุรกิจ
- สร้างโอกาส
- หลักการตั้งธุรกิจ startup
- แนวคิดใหม่
- แผนธุรกิจ
- แหล่งเงินทุน