การจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่างแน่นอนว่าสิ่งแรกที่เจ้าของธุรกิจต้องมีก็คือ ไอเดียในการทำธุรกิจ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจการร้านค้าต่างๆ ได้ง่ายดายผ่านโลกออนไลน์ ก็ยิ่งสร้างโอกาสให้ผู้คนได้รู้จักและเข้ามาเป็นลูกค้าของคุณมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้ธุรกิจของคุณมีคู่แข่งเยอะแยะไปหมด ดังนั้นหากไม่มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี หรือไอเดียทำธุรกิจที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์แล้วล่ะก็ โอกาสที่ธุรกิจของคุณจะอยู่รอดได้นั้นก็ยากพอตัว วันนี้เราเลยมี 5 ไอเดียธุรกิจที่แปลกแหวกแนวไม่เหมือนใคร ที่นอกจากจะไร้คู่แข่งแล้วยังสร้างรายได้อย่างงามอีกด้วย อยากรู้ว่าเป็นธุรกิจอะไรบ้าง ตามไป Wow! พร้อมๆ กันเลย
แบรนด์ BIRCHBOX ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดย Ms. Hayley Barna และ Ms. Katia Beauchamp อดีตสาวออฟฟิสเพื่อนซี้ที่รักการแต่งหน้า โดยได้ไอเดียธุรกิจจากการอยากทดลองใช้สินค้าความงามก่อนตัดสินใจซื้อจริงของสาวๆ โดย BIRCHBOX จะจัดส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ความงามตั้งแต่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เส้นผม ไปจนถึงเมคอัพให้แก่สมาชิกทางไปรษณีย์ โดยผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลสภาพผิว สีผม นัยน์ตา สไตล์การแต่งหน้าและแต่งตัวลงไป แล้วทางร้านจะส่งตัวอย่างเครื่องสำอางค์ขนาดทดลองที่เหมาะสมกับคุณไปให้ทุกเดือนเดือนละ 5 ชิ้น บรรจุในกล่องน่ารักน่าใช้ โดยเสียค่าสมาชิกเพียงแค่เดือนละ 300 กว่าบาท ( 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งหากสมาชิกทดลองใช้สินค้าแล้วชอบใจก็สามารถสั่งซื้อขนาดจริงในราคาพิเศษจากทาง BIRCHBOX ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นไอเดียธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและทำรายได้ให้กับเจ้าของธุรกิจแบรนด์ BIRCHBOX เป็นอย่างมาก และแม้ในปัจจุบันจะมีหลายแบรนด์ทำตามโดยใช้แผนธุรกิจในรูปแบบเดียวกัน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องยกให้ไอเดียธุรกิจของสองสาวเจ้าของ BIRCHBOX เป็นผู้บุกเบิกตลาดในการทำธุรกิจที่แปลกใหม่และไม่เหมือนใครในด้านบิวตี้อย่างแท้จริง
ธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อดังนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดย แคทรีนา เลค บัณทิตสาขาบริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ดที่มองว่า หากจะทำธุรกิจต้องมองไกลไปอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งการซื้อขายทุกอย่างจะอยู่บนโลกออนไลน์ รวมไปถึงการซื้อเสื้อผ้า ซึ่งเวลาเลือกซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ ปัญหาที่พบเจอคือ มีสินค้ามากมายมหาศาลจนเลือกซื้อไม่ถูก หรือบางทีก็ดูได้ไม่ทั่วถึง เธอจึงเกิดไอเดียธุรกิจและเขียนเป็นแผนธุรกิจขึ้นมา เป็นธุรกิจบริการแนวคิดใหม่ที่จะจัดส่งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ตรงตามบุคลิกของลูกค้าไปให้เลือก โดยลูกค้าจ่าย 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ และทำแบบสอบถามผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือแอพพลิเคชันประมาณ 10-15 นาทีเพื่อเก็บเป็น Profile Style เกี่ยวกับสไตล์แฟชั่นที่ชอบ ขนาดที่สวมใส่ แบรนด์โปรด และงบประมาณในการช้อป หลังได้ข้อมูลมาแล้ว ระบบวิเคราะห์จะเริ่มทำการคัดเลือกสินค้าที่คิดว่าน่าจะตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยมีสไตลิสต์เป็นคนสกรีนตัวเลือกให้เหลือเพียง 5 ชิ้น และเขียนการ์ดแนะวิธีการ mix & match เสื้อผ้า หรือวิธีสวมใส่อย่างไรให้สวย เก๋มีสไตล์ ให้ลูกค้าแต่ละคน จากนั้นก็จะบรรจุลงกล่องแล้วส่งให้ลูกค้า
เมื่อได้สินค้ามาแล้ว ลูกค้ามีเวลาลอง 3 วัน หากตัดสินใจซื้อทั้ง 5 ชิ้นเลย บริษัทมีส่วนลดให้ 25% แต่หากไม่ชอบเลยสักชุด ก็พับเก็บใส่กล่องที่บริษัทเตรียมไว้ให้แล้วส่งไปรษณีย์คืนมาได้ แต่ไม่ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ทุกครั้งที่มีการใช้งาน จะคิดค่าบริการครั้งละ 20 เหรียญ ซึ่งปัจจุบัน Stitch Fix มีลูกค้าที่ใช้บริการราว 2.5 ล้านคน และบริษัทได้เข้าตลาดหุ้นเป็นที่เรียบร้อย โดยมีผลประกอบการล่าสุดเมื่อไตรมาส 2 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 27 มกราคม 2561 Stitch Fix ทำยอดขาย 296 ล้านดอลลาร์ฯ และอัตราการเติบของธุรกิจอยู่ที่ 24.4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จัดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มาแรงและเจ๋งสุดๆ เลยใช่มั้ยล่ะ!
อีกหนึ่งธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อดังที่กำลังมาแรงแบบสุดๆ ซึ่งเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพนี้คือ Shan-Lyn Ma หญิงสาวผู้ก่อตั้งธุรกิจนี้มาตั้งแต่ปี 2013 โดยได้ไอเดียธุรกิจมาจากการหาซื้อของขวัญแต่งงาน ที่ไม่รู้ว่าของขวัญที่มอบให้จะถูกใจบ่าวสาวแค่ไหน จะซื้อซ้ำกับคนอื่นมั้ย และบางครั้งสิ่งของที่บ่าวสาวอยากได้ก็ราคาสูงเกินไปที่จะจ่ายคนเดียว จึงเกิดไอเดียธุรกิจขึ้นมา ซึ่ง “Zola” เป็นร้านค้าออนไลน์ที่รวบรวมของขวัญงานแต่งยอดนิยมกว่า 40,000 รายการ จาก 500 แบรนด์ดังมาไว้ในที่เดียว คู่บ่าวสาวสามารถกดเลือกสินค้าที่ตัวเองอยากได้ จากนั้นก็กดแชร์ลิสต์สินค้าที่ต้องการให้แขกที่จะมาร่วมงานได้เห็นกัน
หากแขกต้องการซื้อสินค้าชิ้นใดในลิสต์เพื่อเป็นของขวัญให้คู่บ่าวสาวก็กดซื้อไป ระบบของร้านก็จะหักบัตรเครดิตให้เรียบร้อย สำหรับของขวัญที่มีราคาสูง จะมีตัวเลือกคือ group gifting ให้แขกช่วยกันจ่ายด้วย ซึ่งคู่บ่าวสาวจะได้รับข้อความแจ้งจากทาง Zola ทุกครั้งเวลามีคนซื้อของขวัญให้ และสามารถกดเลือกวันที่อยากให้สินค้ามาส่งได้ด้วย และหากเปลี่ยนใจไม่อยากได้ของชิ้นใด คู่บ่าวสาวก็สามารถกดแลกคืนเป็นคะแนนสะสมเพื่อใช้ซื้อสินค้าชิ้นอื่นในมูลค่าเดียวกันด้วยตัวเองต่อไป ซึ่งระบบจะเก็บเป็นความลับให้รู้กันเองเฉพาะคู่บ่าวสาวเท่านั้น ซึ่งทุกวันนี้ Zola สร้างรายได้และผลกำไรจากการขายสูงถึง 40% และคาดว่าจะทำรายได้กว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้อีกด้วย ใครจะคิดล่ะว่าแค่ไอเดียธุรกิจขายของขวัญแต่งงานจะเติบโตสร้างรายได้ในระดับร้อยล้านขนาดนี้!
แบรนด์แว่นตา Warby Parker ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดยนักศึกษา MBA 4 คนจาก Wharton Business School ได้แก่ Neil Blumenthal, Dave Gilboa, Andy Hunt และ Jeff Raider ที่ได้ไอเดียการทำธุรกิจนี้มาจากการที่ชายหนุ่ม 1 ใน 4 คนนี้ลืมแว่นของเขาเอาไว้บนเครื่องบินระหว่างการเดินทาง และด้วยความที่แว่นสายตามีราคาสูงมาก ทำให้เขาถึงกับยอมอยู่โดยไม่มีแว่นใส่อยู่ตลอดเทอม แต่สุดท้ายก็ต้องยอมตัดแว่นใหม่เพราะมองแทบไม่เห็น อ่านหนังสือก็ไม่ได้ ปัญหานี้ทำให้ทั้ง 4 คนมาพูดคุยกันว่า มันไม่ถูกต้องเลย ที่แว่นตาจะต้องมีราคาสูงถึงขนาดนี้ และผู้บริโภคก็มีทางเลือกน้อยมาก พวกเขาจึงเกิดแนวคิดใหม่ที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ผลิตและจำหน่ายแว่นตาที่ถูกและดีขึ้นมา โดยการตัดระบบคนกลางออกไป ซึ่งถ้าเปรียบเทียบแว่นดีไซเนอร์แบรนด์ดังๆ ในอเมริกาที่ขายอยู่ $200 เหรียญ พวกเขาสามารถทำแว่นที่เทียบเท่ากัน แต่ขายในราคาเพียง $95 เหรียญเท่านั้นและเริ่มต้นขายผ่านทางออนไลน์ช่องทางเดียว โดยลูกค้ามีทางเลือก 2 ทางในการทดลองแว่น
วิธีที่ 1 คือ Virtual try-on นำรูปของคุณเข้าสู่เว็บไซต์แล้วกดเลือกแว่นที่คุณชอบ แว่นจะมาวางอยู่บนรูปหน้าคุณให้ได้เห็นว่า ใส่แล้วออกมาเป็นยังไง ดูดีหรือไม่ หากพอใจก็อัพโหลดเอกสารใบสั่งตัดแว่นจากแพทย์ลงบน website พร้อมบอกค่า PD (ระยะห่างรูม่านตา) จากนั้นก็ชำระเงินแล้วรอรับแว่นตาอันใหม่อยู่ที่บ้านได้เลย
วิธีที่ 2 คือ Home try-on ที่คุณสามารถเลือกแว่น 5 แบบ แล้วทางร้านจะส่งให้คุณถึงบ้านฟรี เพื่อให้คุณทดลองใส่เป็นเวลา 5 วัน แล้วคุณค่อยส่งคืนโดยฟรีค่าส่งเช่นกัน ทั้งหมดนี้ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้นว่าคุณจะต้องซื้อ
ซึ่งไอเดียธุรกิจแว่นตา Warby Parker ประสบความสำเร็จสูงมาก จนสร้างรายได้ทุบสถิติเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับหนึ่งปีได้ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น! นอกจากนี้ทุกๆ ครั้งที่ลูกค้าซื้อแว่นตา 1 อันบริษัทจะบริจาคเงินเท่ากับต้นทุนการผลิตแว่นให้แก่องค์กรชื่อ VisionSpring ซึ่งปัจจุบัน Warby Parker บริจาคเงินเพื่อผลิตแว่นตาไปแล้วถึง 3 ล้านชิ้นแล้ว เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างทั้งรายได้และสร้างโอกาสดีๆ ให้กับผู้ที่ขาดแคลน เจ๋งสุดๆ ไปเลย!
อีกหนึ่งธุรกิจสตาร์ทอัพที่มาแรงมากในหมู่สาวแฟชั่นนิสต้าในยุค 4.0 “Rent The Runway” คือ ตู้เสื้อผ้าออนไลน์ในฝันของหญิงสาวทั่วโลก เจ้าของธุรกิจนี้คือสองสาวผู้รักการแต่งตัวอย่าง Jennifer Hyman และ Jenny Fleiss ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนใน Harvard Business School ตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งไอเดียการทำธุรกิจนี้มาจากอารมณ์ของผู้หญิงที่ว่า “เสื้อผ้าเต็มตู้ แต่ไม่รู้จะใส่อะไร” และอีกเหตุผลคือ การซื้อเสื้อผ้าที่ใช้ออกงานชุดสวย หรู ดูดี มักมีราคาแพงและเมื่อใส่ออกงานถ่ายรูปอัพลงโซเชี่ยลแล้ว จะให้ใส่ชุดเดิมซ้ำเวลาไปงานอื่นๆ ก็ดูไม่ดีแต่จะให้ซื้อชุดอกกงานใหม่บ่อยๆ ก็คงไม่ไหว ทั้งคู่จึงเกิดแนวคิดใหม่เปิดเว็บไซต์ “Rent The Runway ธุรกิจเช่าชุดสวยจากรันเวย์” โดยคิดราคาเช่า 10% จากราคาขายจริง โดยเช่าได้ 4-8 วัน หากยืม 2 ชุด ชุดที่ 2 คิด 25 ดอลลาร์ฯ ทุกการเช่าจะรวมค่าประกัน 5 ดอลลาร์ฯ หากชุดได้รับความเสียหาย ลูกค้าต้องรับผิดชอบโดยการซื้อชุดนั้น ธุรกิจของ Rent The Runway ประสบความสำเร็จดีมากจนกลายเป็นสตาร์ทอัพที่ถูกจับตามอง เพราะแทนที่ลูกค้าจะจะเสียเงินเป็นพันเพื่อซื้อชุดใส่ไม่กี่ครั้ง พวกเธอจ่ายครั้งละ 50-70 ดอลลาร์ฯ ก็ได้ชุดแบรนด์เนมหรูสุดสวยมาใส่แบบไมซ้ำกัน แถมของยังส่งตรงถึงบ้าน เมื่อใช้เสร็จก็แค่เอาของใส่ซองที่ Rent the Runway ให้มา ปิดผนึกแล้วนำไปหย่อนตู้ไปรษณีย์ส่งคืนให้บริษัท นอกจากคุ้มค่าแล้ว ลูกค้าหลายคนมองว่าการแชร์เสื้อผ้ากันใส่ทำให้มีเสื้อผ้าเหลือทิ้งน้อยลงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว
ปัจจุบันธุรกิจสตาร์ทอัพ Rent the Runway มีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านเหรียญ สร้างรายได้ปีที่แล้วกว่า 100 ล้านเหรียญ และปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มยอดขายอีก 3 เท่าซึ่งดูจากแนวโน้มธุรกิจที่นับวันยิ่งเติบโตแล้วคาดว่าไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
Key Take Away
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.