การได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักนั้นคือความสุข และหากสามารถต่อยอดความสุขนั้นสร้างเป็นอาชีพ จนประสบความสำเร็จมีรายได้ในระดับร้อยล้าน คงต้องบอกได้ว่าสิ่งนั้นมันมากกว่าแค่ความสุขแบบธรรมดาแน่ๆ อย่างไพโรจน์ ร้อยแก้ว ผู้บริหารและบุกเบิกตลาดนัดรถไฟ ตลาดไนท์มาร์เก็ตสุดชิคที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความคลั่งไคล้ของเก่าและของสะสม จน ขยับมาเป็นอาชีพนักขายของเก่ามือโปร แล้วสุดท้ายกับการเป็นเจ้าของธุรกิจตลาดนัดรถไฟที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาในระดับร้อยล้านบาทในเวลาไม่กี่ปี มารู้จักชีวิตและกลยุทธ์การทำธุรกิจที่ไม่เหมือนใครของ Mafia of Idea – ไพโรจน์ ร้อยแก้ว
วัยเด็กของไพโรจน์ในจังหวัดอยุธยาบ้านเกิดนั้น แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกันทั่วไป ด้วยพ่อของเขาที่มีอาชีพเป็นช่างไม้ทำให้เขาคลุกคลีกับงานไม้และของเก่าๆ มาโดยตลอด ทำให้เขาเป็นคนที่มี “รสนิยม”และแนวคิดที่แตกต่างจากคนอื่นมาตั้งแต่เล็ก อย่างเพื่อนๆ จะฟังเพลงป๊อปยุคใหม่แต่เขาเลือกฟังเพลงสากลยุค 70-80 รักและสะสมอัลบั้มนักร้องฝรั่งมาตั้งแต่เด็กๆ และเริ่มเป็นพ่อค้าขายของเก่าตั้งแต่อายุ 15 ปี เมื่อได้ไปเที่ยวบ้านเพื่อนที่หาดใหญ่ เพราะที่นั่นเป็นแหล่งของเก่าจากอเมริกา ตั้งแต่เสื้อทหาร กางเกง กระเป๋า เป้ รองเท้า เอามาขายต่อเพื่อเป็นค่ารถ ค่าเที่ยวฟรี จนเริ่มตีตั๋วลงไปหาดใหญ่เพื่อสร้างอาชีพซื้อของเก่ามาขายที่ตลาดโต้รุ่ง จ.อยุธยา แล้วก็ขยับขยายไปเส้นทางการค้าใหม่ ที่ อ.โรงเกลือ จ.สระแก้ว จนเขาสามารถเก็บเงินซื้อรถคันแรกเป็นของตัวเองได้ในวัยแค่ 17 ปี
“ลำบากจริงๆ ต้องไปขายของลุ่มๆ ดอนๆ ไปเป็นคนทำพร็อพ จัดอุปกรณ์ประกอบฉากทำหนังอยู่พักนึงก็กลับมาขายของตามเดิม” – ไพโรจน์ ร้อยแก้ว
เมื่อโรจน์อายุได้ 21 ปี ตอนนั้นเขาเป็นนักศึกษาปี 3 คณะวิศวะกรรม ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง หนังสือเล่มหนึ่งที่เขาอ่านจุดประกายให้เขาเลือกทิ้งการเรียนไปผจญโลกและสร้างโอกาสแห่งความร่ำรวยให้ตัวเอง เขาในตอนนั้นมองว่าการเรียนเป็นเรื่องเสียเวลา เขาอยากจะสร้างฐานะ มีอาชีพที่มั่นคงตั้งตัวได้ก่อนเพื่อนๆ จะเรียนจบ แต่ในโลกความเป็นจริงสิ่งที่คิดนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่ฝันซักนิด
เขายังจำวันแรกในการเริ่มขายของในคลองถมได้ดี เงินทุน 8,000 บาท ซื้อของเก่าเตรียมขายเต็มกระเป๋า เดินลากกระเป๋าอันหนักอึ้งเพื่อหาที่ลงขายแต่ไม่ว่าจะวางขายตรงไหนก็โดนไล่จากเจ้าของที่เดิม จนเขาเริ่มรู้ว่าการเริ่มทำธุรกิจมันไม่ได้ง่ายแต่ก็ยังคงต้องลากกระเป๋าไปจนเกือบสุดตลาดจึงได้ที่ลงของขายและตัดสินใจที่จะเล่นมุกตะคอกกลับบ้างเวลามีคนมาบอกว่าเป็นที่ของพวกเขา “ไม่ใช่ๆ ที่นี่ที่ผม ขายมาหลายปีแล้ว!” และจากจุดเริ่มต้นในวันนั้นทำให้โรจน์ได้เดินบนถนนของพ่อค้าขายของเก่าอย่างเต็มตัว ทนตากแดดตากฝน ผจญกับฝุ่น นั่งกินข้าวกับพื้นฟุตบาท เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็ประสบความสำเร็จในการค้าขายของเก่าที่คลองถม มีลูกค้าประจำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รายได้ขยับขึ้นจากหลักพัน เป็นหมื่นเป็นแสน ทำอยู่ตลาดนี้เกือบ 10ปี ก็ถึงเวลาต้องขยับขยาย
ชีวิตถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้งในช่วงระหว่างอายุประมาณ 30 ปีต้นๆ เมื่อเขาอยากเป็นเจ้าของธุรกิจโดยเปิดร้านของตัวเองย่านจตุจักรแทนคลองถมโดยงานนี้เขาขายรถไป 1 คันและได้เงินทุนจากพี่สาวเพื่อมาใช้เซ้งร้าน เขาเปิดร้านขายของในเวลานานกว่าคนอื่น ทำมากกว่าคนอื่น ก็เพื่อให้คืนทุนเร็วที่สุด อย่างคนอื่นเปิด 10 โมง ร้านของเขาจะเปิด 8 โมงเช้า ถ้าคู่แข่งปิด 6 โมงเย็น เขาก็จะปิด 4 ทุ่ม แนวคิดการทำงานแบบใหม่นี้ ทำให้เขาคืนทุนได้ใน 3 เดือน และหาเงินมาเซ้งร้านต่อขยายไปได้อีก 9 ห้องติดกัน กลายเป็นอาณาจักร Rod’s Antique ร้านขายของเก่า ที่มีทั้งร้านอาหารและบาร์ในบรรยากาศแบบยุคเก่า
กลยุทธ์ทำธุรกิจ แบบนี้ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ และดึงลูกค้าเก่าไว้ได้อย่างเหนียวแน่นแต่แล้วร้านก็ถูกเวนคืน แต่แล้วโรจน์ก็ไปเจอกับพื้นที่โล่งและรกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ ติดกับตลาดนัดจตุจักร โดยพื้นที่ตรงนี้หลายคนมองว่าเป็นพื้นที่ตาบอด แต่สำหรับเขามองว่าที่นี่น่าจะเป็นทำเลทองในอนาคต เขาจึงไปเช่าโกดังในนั้นแล้วบุกเบิกให้เป็นตลาดนัดสไตล์วินเทจที่มีของกินของใช้มาวางขายหลากหลาย และไม่น่าเชื่อว่าเมื่อผ่านไปเพียง 6 เดือน พื้นที่ตรงนั้นก็กลายเป็นอาณาจักรของร้านค้านับหมื่นและเป็นตลาดนัดแห่งแรกที่ใช้แนวคิดการบริหารแบบใหม่คือการเก็บค่าเช่าเป็นรายเดือน มีผู้คนเดินทางมาจากทั่วสารทิศเพื่อมาเดินช้อปปิ้งที่นี่ ในแต่ละคืนมีคนมาจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดแห่งนี้นับหมื่นคนเลยทีเดียวจนกลายเป็น “ตลาดรถไฟจตุจักร” อันโด่งดัง
ผ่านไปเพียง 2 ปี “ตลาดรถไฟจตุจักร” ก็หมดสัญญาเช่าและถูกเรียกคืนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง โรจน์จึงต้องย้ายออก เขาเลือกที่จะสร้างอาชีพใหม่ของเขาบนพื้นที่ของถนนศรีนครินทร์ โดยยังคงชื่อเดิมของตลาดแห่งนี้แต่ต่อท้ายด้วยชื่อสถานที่แห่งใหม่ว่า “ตลาดรถไฟศรีนครินทร์” อีกหนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจที่สร้างความมั่นใจให้ผู้เช่าว่าจะไม่ต้องโยกย้ายอีกคือการทำสัญญาเช่ายาวถึง 15 ปี บนพื้นที่ 62 ไร่ มีพื้นที่จอดรถกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตลาดแห่งใหม่ที่กว้างใหญ่กว่าเดิมมาก ซึ่งหลังเปิดให้เข้ามาขายได้ 2-3 เดือนแรกผลตอบรับก็ทำให้เขาหายเหนื่อย เพราะมีผู้มาเช่าล็อคในตลาดได้ตามเป้าทั้งจากผู้เช่าเดิมที่ตามมาจากจตุจักรและผู้เช่าใหม่ โดยแบ่งเป็นแผงขายของ 1,600 แผง พลาซ่า 500 ล็อค และโซนโกดัง 9 โกดัง แล้วยังมีพื้นที่สำหรับขาจรอีก 400 – 500 ราย ที่แวะเวียนเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก
แนวคิดใหม่ๆ ในการดึงดูดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้เข้ามาในตลาดรถไฟศรีนครินทร์ คือ การตกแต่งแนวคลาสสิก สถาปัตยกรรมที่สวยงามให้คนเข้ามาเช็คอิน ถ่ายรูปลงโซเชี่ยลสร้างกระแสในโลกออนไลน์และมีโซนพลาซ่า ซึ่งเป็นไอเดียในการตกแต่งตามสไตล์ของเขาเอง นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ เช่น ดนตรี แสดงโชว์ อีเว้นท์ต่างๆ ซึ่งกลยุทธ์การทำธุรกิจแบบนี้ช่วยดึงดูดให้คนมาที่ตลาดรถไฟศรีนครินทรเป็นจำนวนมาก จนตลาดแห่งนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับเขามากถึง 8 หลักต่อเดือนเลยทีเดียว
โรจน์เปิดเผยว่า กลยุทธ์ในการทำธุรกิจตลาดนัดให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ต้อง “รู้จักการให้เสียก่อน” เพราะยิ่งให้ก็ยิ่งได้ เขาใช้หลักการบริหารตลาดด้วยหัวใจ นึกถึงใจเขาใจเราและจากการที่เคยเป็นพ่อค้าตลาดนัดมาก่อนทำให้เขาเข้าใจตรงนี้ได้ดีและใช้แนวคิดการบริหารแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร เช่น เก็บค่าเช่าไม่แพงเหมือนที่อื่น ไม่มีการขึ้นค่าเช่า ไม่มีการเซ้งใดๆ ทั้งสิ้น ลดค่าเช่าในช่วงฤดูฝน ลดค่าเช่าในช่วงที่ผู้ค้าประสบภัยทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้มีผู้ค้าตบเท้าเข้ามาค้าขายมากขึ้น ตลาดมีสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จดังเช่นปัจจุบัน และยังพัฒนาต่อไปอีกเรื่อยๆ สร้างโอกาสให้เขาได้ทำโปรเจ็คท์ใหม่ๆ ต่อยอดออกไปอย่างตลาดนัดรถไฟรัชดา และ ตลาดนัดรถไฟเกษตรนวมินทร์
“การบริหารตลาดนั้นต้องเข้าใจ ต้องเห็นอกเห็นใจคนที่มาเช่าพื้นที่ เราต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย ดูแลความสะอาดพวกสาธารณูปโภค แสงสว่าง สิ่งสำคัญที่สุดคือ พาคนมาเดินในตลาดให้ได้ คอนเซ็ปต์จะต้องดี การประชาสัมพันธ์ต้องดี เดินแล้วก็ยังอยากมาเดินอีก เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกร้าน ต้องมีอะไรใหม่ๆ อย่างของกินก็ต้องอร่อยด้วย นี่เป็นจุดขายและจุดดึงดูดให้คนมา” – ไพโรจน์ ร้อยแก้ว
กว่า 20 ปีในการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความรักและหลงใหลในของเก่า ทำให้เราเห็นความเป็นตัวตนของผู้ชายคนนี้ได้อย่างชัดเจนว่า เขาทำงานภายใต้แนวคิดแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร คือ “Art & Business” ใช้ทั้งศิลปะและธุรกิจเดินคู่ขนานกันไป โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “ความแตกต่าง” ฉีกรูปแบบการทำธุรกิจแนวเก่า ด้วยกลยุทธ์ธุรกิจแนวคิดใหม่ที่ยิ่งให้ยิ่งได้และเน้นการเติบโตร่วมกันไปในระบบคู่ค้าที่พึ่งพาอาศัยกันอย่างยั่งยืน
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.