หลายคนอาจจะยังอยู่ในช่วงการค้นหาตัวเองหรือกำลังจะตัดสินใจว่าจะเลือกทำงานอะไรดีสมัครงานที่ไหนดีหรืออาจจะไม่มั่นใจว่างานที่กำลังทำอยู่นั้นใช่งานที่เราต้องการหรือเปล่าเพราะบางครั้งก็รู้สึกมีความสุขบ้าง บางครั้งก็มีความเบื่อๆ บ้างสลับกันไป ควรจะเปลี่ยนงานดีหรือควรจะทำต่อไป

[divider]คุณจะได้เรียนรู้อะไร[/divider]

5 คำถามเช็คความถนัด - แบบทดสอบงานที่เหมาะกับเรา

แนวทางค้นหาความถนัดของตัวเองให้เหมาะกับงานที่ทำ และมีวิธีประยุกต์งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันว่าจะนำมาเสริมสร้างโอกาสให้คุณสามารถก้าวไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร

วิธีค้นหางานที่เหมาะกับเรา

ลองตอบคำถาม 5 ข้อด้านล่างนี้ดูแล้วคุณอาจจะเจอคำตอบที่คุณกำลังมองหาอยู่ ให้คุณหยิบกระดาษและปากกาขึ้นมาแล้วเขียนคำตอบในแต่ละข้อลงไป อย่าเพียงแค่อ่านบทความนี้แล้วให้มันผ่านไป เพราะมันจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เลย การเขียนจะทำให้คุณเห็นภาพรวมของตัวคุณได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เรามาเริ่มทำกันเลย

1. กิจกรรมที่คุณทำแล้วรู้สึกดี ทำแล้วมีพลัง

เขียนออกมาว่ามีกิจกรรมอะไรที่คุณทำแล้วรู้สึกสนุก ทำแล้วรู้สึกดี ทำแล้วรู้สึกมีพลัง อาจจะเป็นตอนที่คุณอยู่คนเดียว หรือตอนทำงาน หรือตอนอยู่กับเพื่อนๆ ก็ได้ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น

  1. ชอบเล่นเกมแนวแก้ปัญหา ชอบใช้ความคิด ชอบความรู้สึกที่ได้ชนะเป็นด่านๆ ไป
  2. ชอบช่วยเหลือผู้คน จะรู้สึกดีและอิ่มเอิบ เวลาเจอคนและได้ผู้คุย หรือช่วยเหลือผู้คน
  3. ชอบเที่ยว และหาโปรโมชั่นราคาถูก ชอบเดินเช็คราคาของ
  4. ชอบคุยกับแม่ค้า ต่อราคาของ รู้จักเจ้าของร้านเกือบทุกร้านที่เข้า
  5. ชอบจัดบ้าน ทำสวน ตกแต่งห้องต่างๆ ภายในบ้านให้เป็นระเบียบ

กิจกรรมที่คุณชอบทำเหล่านี้จะทำให้คุณได้เห็นตัวเองว่า คุณเป็นคนแบบไหน คุณชอบอยู่กับผู้คน สามารถคุยกับคนที่ไม่รู้จักก่อนได้ หรือคุณเป็นคนที่ชอบใช้ความคิด ชอบแก้ปัญหา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ชอบจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง ทุกอย่างต้องเป็นระบบระเบียบเสมอ

2. เรื่องที่เพื่อน ๆ ชอบมาขอคำปรึกษา

อีกคำถามที่สำคัญไม่แพ้กันในการค้นหาตัวตนของคุณคือเพื่อนๆ หรือคนรู้จักมักจะมาขอความช่วยเหลือจากคุณในเรื่องอะไรบ้างเวลาที่คุณรับโทรศัพท์จากเพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ที่โทรเข้ามา นอกจากคุยเล่นกันแล้ว พวกเขามักจะขอความคิดเห็นจากคุณในเรื่องอะไรบ่อยที่สุด หรือเวลาที่คนอื่นมีปัญหาเพื่อนๆ มักจะเอ่ยชื่อคุณทุกครั้ง เพราะเชื่อว่าคุณจะสามารถช่วยหาคำตอบ หรือแก้ปัญหานั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น

  1. เพื่อนมักจะให้คุณช่วยมาดูคอมพิวเตอร์ให้ หรือสอนวิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เสมอ
  2. เพื่อนมักจะให้คุณช่วยเปรียบเทียบราคา หรือหาของถูก โปรโมชั่นถูกๆ ให้เสมอ
  3. เพื่อนมักจะมาขอไอเดียใหม่ๆ หรือมีอะไรใหม่ๆ มักจะส่งมาให้คุณดูอยู่ตลอด
  4. เพื่อนมักจะให้คุณช่วยวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่มันยากๆ
  5. เพื่อนมักจะให้คุณเป็นด่านหน้า คอยไกล่เกลี่ยเรื่องต่างๆ ให้อยู่เสมอ

คำถามข้อที่ 2 นี้จะต่างจากข้อที่ 1 ตรงที่ว่าข้อที่ 1 คือมุมมองจากตัวคุณเองที่ประเมินตัวเองแต่คำถามในข้อที่ 2 นั้นจะเป็นสิ่งที่คนอื่นมองคุณจากข้างนอกเข้ามาด้วยมุมมองของคนภายนอกแล้วพวกเขามองว่าคุณเก่งเรื่องอะไรเชี่ยวชาญในด้านไหนซึ่งคำตอบนี้จะเริ่มแสดงถึงตัวตนของคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจริงๆ แล้วคุณมีความสามารถอะไรซ่อนอยู่ โดยที่คุณอาจจะยังไม่รู้ตัวก็ได้

แนะนำบทความน่าอ่าน

3. งานที่นั่งทำจนสนุก เพลินจนลืมดูเวลา

ลองดูว่างานที่ผ่านมาที่คุณเคยทำ มีช่วงเวลาไหนหรืองานไหน ที่คุณรู้สึกสนุกกับมัน เพลินกับการทำงานจนลืมดูเวลา หรือรู้สึกว่าทำไมเวลามันผ่านไปเร็วจัง รู้สึกว่าทำแล้วมีความสุขและทำได้เรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น การคุยกับลูกค้า การทำงานในโปรแกรมต่างๆ เช่น Microsoft Excel, Adobe Photoshop การนั่งตอบ email การออกแบบ วาดรูป การคิดไอเดียใหม่ๆ การสอน การพูด การนั่งหาข้อมูล การทดลอง การอ่านบทความ การวิเคราะห์ตัวเลข งานไหนที่คุณสามารถทำมันได้นานๆ โดยไม่รู้สึกเบื่องานนั้น แสดงว่างานนั้นคืองานที่คุณชอบและหลงใหลกับงานนั้นๆ เลยทีเดียว

4. งานที่คุณไม่ชอบ

คำถามนี้มักจะไม่ค่อยมีคนถามเท่าไหร่ มันอาจจะดูเป็นคำถามในเชิงลบ แต่จริงๆ คำถามนี้จะช่วยให้คุณรู้ได้เลยว่างานไหนที่ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะเลือกแน่ๆ ยกตัวอย่างเช่น

  1. ไม่ชอบงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรือเอกสารเยอะๆ
  2. ไม่ชอบงานที่เป็นแบบ Project ที่ต้องคอยเปลี่ยนเนื้อหาของตัวงานตลอดเวลา
  3. ไม่ชอบงานที่ต้องติดต่อ และออกไปเจอคนเยอะๆ
  4. ไม่ชอบงานที่ต้องนั่ง office และนั่งหน้าคอมทั้งวัน

คำถามนี้มีจุดที่ต้องระวังก็คือ ถ้าคุณตอบว่าไม่ชอบการขาย ไม่ชอบการมีลูกน้อง ไม่ชอบงานทีต้องมี KPI หรือเป้าบริษัทมากดดัน ซึ่งนั้นก็ไม่ผิดถ้าคุณจะไม่ชอบงานลักษณะแบบนี้ แต่มีอีกมุมมองหนึ่งที่อยากให้เห็นนั้นคือ ความไม่ชอบกับสิ่งที่ควรทำเพื่อการเติบโตนั้นก็แบ่งกั้นด้วยเส้นบางๆ ที่เรียกว่า การพัฒนาตัวเอง การขาย การมีลูกน้อง และการบรรลุเป้าหมายของบริษัทเป็นสิ่งที่ต้องทำถ้าคุณอยากจะเติบโตสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กรนั้นๆ

5. อยากทำอะไรถ้าไม่มีข้อจำกัดเรื่องการเงิน

มาถึงคำถามที่ 5 น่าจะเป็นข้อสุดท้ายที่คุณน่าจะตกผลึกความคิดของคุณได้หลังจากที่ตอบคำถามมา 4 ข้อ ถ้าตอนนี้คุณไม่มีข้อจำกัดเรื่องการเงินคุณอยากทำงานอะไร ความจริงลึกๆ ในใจของใครหลาย ๆ คนมักมีคำตอบสำหรับงานที่คุณอยากทำอยู่แล้ว เพียงแต่มีอะไรบางอย่างปิดกั้นหรือบดบังมันไว้อาจจะด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เช่นข้อจำกัดทางการเงินข้อจำกัดเรื่องอายุหรืออื่นๆ รวมทั้งอาจจะมีความกลัวต่าง ๆ ผสมอยู่ด้วย ทำให้เราไม่กล้าที่จะคิดไม่กล้าที่จะบอกออกมาว่าจริง ๆ แล้วเราอยากทำงานอะไร

งานที่ใจคุณอยากจะทำบางคนอาจจะเริ่มทำมันได้เลย แต่บางคนอาจจะยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมด้วยข้อจำกัดของแต่ละคน แต่อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าเป้าหมายสูงสุดของเราจริงๆ แล้วคืออะไร เราอาจจะเลือกงานที่เป็นการต่อยอดให้เราเข้าใกล้สู่เป้าหมายนั้นๆ ให้มากขึ้นก็ได้

แบบทดสอบงานที่เหมาะกับเรา

เลือก 10 ข้อที่บอกความเป็นตัวคุณมากที่สุด แล้วไปดูผลลัพธ์ว่างานแบบไหนที่เหมาะกับเราโดยไม่ต้องไปนั่งให้หมอดูมาทำนาย เริ่มทำแบบทดสอบ

หมายเหตุ: แบบทดสอบเป็นลิงค์ภายนอก Passiongen.com

แบบทดสอบบความถนัด ก่อนเข้ามหาลัย

น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ลองทำแบบทดสอบจาก ศูนย์บำบัดความสับสนก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งอาจจะช่วยให้เห็นความถนัดของตนเองได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหลายคนอาจจะพบว่า เราน่าจะเดินตามรอย Steve Jobs ได้เหมือนกัน

หมายเหตุ: แบบทดสอบเป็นลิงค์ภายนอก Passiongen.com

วิสัยทัศน์ผู้นำ ธนินท์ เจียรวนนท์
“การที่ผมมีอุปนิสัยชอบเทคโนโลยีและของใหม่ ๆ ตั้งแต่เด็กนั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำธุรกิจในภายหลังของผม” – วิสัยทัศน์ผู้นำธุรกิจ ธนินท์ เจียรวนนท์

แนวคิดผู้นำ เพื่อความสำเร็จ

เมื่อตอบคำถามมาครบ 5 ข้อแล้ว คุณลองนั่งอ่านคำตอบทั้ง 5 ข้อนั้นอีกหนึ่งรอบ แล้วลองสังเกตว่าตัวคุณเป็นแบบไหน ชอบงานแบบไหน ไม่ชอบงานแบบไหน คุณอาจจะพบว่าคุณเป็นคนชอบงานแนวคิดวิเคราะห์ หรือชอบงานแนวติดต่อผู้คนมากกว่า ซึ่งคำตอบเหล่านี้เป็นเหมือนแนวทางคร่าวๆ ที่ทำให้คุณรู้จักตัวเองได้มากขึ้น

คนที่ประสบการณ์ทำงานน้อยอาจจะยังไม่สามารถรู้ได้ทันทีหรอกว่างานไหนที่เหมาะกับเราจริง ๆ สิ่งที่เราควรทำคือ ลองทำงานนั้นไปให้เต็มที่ ลองทำงานที่หลากหลายขึ้น เมื่อคุณได้ลองเปิดโลกและทำหลาย ๆ อย่าง เมื่อนั้นคุณจะสามารถรู้ได้เองเลยว่า งานไหนที่เหมาะหรือไม่เหมาะกับคุณกันแน่

Passion in this story