Categories: INSPIRENews

4 ทักษะคนเก่งที่ Google มองหา – อยากทำงานที่ Google ต้องรู้

4.1 / 5 ( 15 votes )

ในยุคสังคมดิจิตอลแบบนี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักเว็บ Search Engine ยอดฮิตอย่าง Google ตัวช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับการค้นหาข้อมูลต่างๆ ในโลกออนไลน์ จนเกิดเป็นวลีฮิตติดปากที่ว่า “คิดไม่ออก หาไม่เจอให้ไปถามอากู๋ (เกิ้ล)” และนั่นทำให้ผลประกอบการของ Google ในแต่ละปีนั้นสูงมากถึงระดับหลายหมื่นล้านบาท แต่สิ่งที่ดึงดูดให้คนทำงานทั้งหลายเทใจอยากเข้าทำงานที่นี่ใช่เพียงแค่ค่าตอบแทนที่สูงลิ่วและเพื่อนร่วมงานระดับหัวกะทิจากทั่วโลกเท่านั้น แต่เป็นเพราะสวัสดิการ สิ่งแวดล้อมในการทำงานและแนวคิด วิธีการทำงานแบบใหม่ที่แตกต่างไม่เหมือนใครของ Google ต่างหากที่ทำให้ที่นี่เป็นบริษัทในฝันที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วย

Passion Gen ได้ไปสืบมาแล้วว่าหากอยากทำงานที่นี่ คุณต้องมีศักยภาพด้านไหนถึงจะโดนใจ Google จนได้รับเลือก แต่ก่อนจะไปดูถึงข้อนั้น เราไปส่องออฟฟิศสุด Cool และสไตล์การทำงานที่ดึงดูดใจคนทำงานทั่วโลกกันก่อนดีกว่า

ออฟฟิศ Google Thailand ที่มารูป: flashfly.net

“ที่ Google จะคัดเลือกคนที่มีความเป็น Googliness หรือความเป็น Google เพราะฉะนั้น คนทำงานจึงมีแนวคิด และมีลักษณะการทำงานที่ไปในทิศทางเดียวกัน เอื้อต่อกัน คนทำงานมีความฉลาดและความเป็นมิตร ทำให้การทำงานคล่องตัว และส่วนสุดท้ายคือ วัฒนธรรมองค์กร ที่โฟกัสกับเรื่องการให้ความร่วมมือ (collaboration) และการสร้างงานที่มีอิมแพ็กต์ในสเกลใหญ่” – ผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้านธุรกิจ Google ประเทศไทย


@Google ออฟฟิศ = พื้นที่ชีวิต

  1. เลี้ยงอาหารฟรีทุกมื้อ

ไอเดียดีๆ และความก้าวหน้าของงานในบริษัทจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าท้องหิว ที่นี่จึงมีอาหารฟรีให้กับพนักงานครบทั้ง 3 มื้อ พร้อมขนมหลากหลาย ซึ่งนอกจากเมนูที่อร่อยล้ำจากฝีมือเชฟระดับภัตตาคารแล้ว Google ยังใส่ใจสุขภาพของพนักงานเป็นที่สุด โดยมีเมนูออร์แกนิกพร้อมทั้งบอกระดับคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของแต่ละเมนูด้วยฉลากสีแดง เหลืองเขียว เพื่อให้พนักงานได้วิเคราะห์และเลือกรับประทานกันอย่างมีสติอีกด้วย!

  1. เล้านจ์และสปอร์ตคลับในออฟฟิศ

หากใครรู้สึกเหนื่อยจากการทำงาน หรือหัวตื้อจนคิดงานไม่ออก ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะ Google เค้าจัดให้ไว้ทุกอย่างเพื่อให้คุณได้ผ่อนคลายแบบสุดๆ ตั้งแต่โรงยิม ฟิตเนส สระว่ายน้ำและคอร์สโยคะ และไม่ใช่แค่นั้น เพราะยังมีพื้นที่ที่ออกแบบไว้อย่างสวยงามเทียบเท่าเล้านจ์ของโรงแรมหรู ให้พนักงานได้ทิ้งตัวลงบนโซฟานุ่มๆ จิบเครื่องดื่มที่โปรดปราน ทานขนมอร่อยๆ พูดคุย แชร์ไอเดีย แนวคิดใหม่ๆ กันในหมู่เพื่อนร่วมงาน ก่อนจะแยกย้ายกันกลับไปทำงานต่อแบบผ่อนคลายสบายๆ อีกด้วย

  1. สนามเด็กเล่น

เพราะผลิตภัณฑ์ของ Google มีจุดขายที่ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใครและใช้งานได้จริง ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งช่วงวัยที่ ไอเดียจะกระฉูดแบบไร้ขอบเขตได้ดีที่สุดก็คือ วัยเด็ก บรรยากาศออฟฟิศของ Google ทั่วโลกจึงถูกดัดแปลงให้เหมือนสนามเด็กเล่น เพื่อช่วยให้พนักงานคลายเครียดด้วยการเล่นอย่างสนุกสนานแบบเด็กๆ บ้าง ใครจะรู้ล่ะว่า…ขณะที่สไลด์ตัวลงมาจากกระดานลื่น ฝ่ายการตลาดอาจสะดุดไอเดียพันล้านหรือเกิดแนวคิดใหม่ด้านการตลาดโดยบังเอิญก็เป็นได้!

  1. ห้องสำหรับงีบหลับ

เพราะมีงานวิจัยที่ระบุไว้ว่า การได้งีบหลับซัก 10-15 นาทีระหว่างการทำงาน จะช่วยชาร์จแบตเตอรี่ให้เซลล์สมองมีศักยภาพในทำงานได้ดียิ่งกว่าเดิม ที่ Google จึงมีแคปซูลสำหรับนอนพักผ่อน ให้พนักงานได้งีบหลับในช่วงทำงาน เพื่อจะได้ตื่นมาพร้อมแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่แสนจะบรรเจิดกว่าเดิม

นอกจากจะมีออฟฟิศสุด Cool แล้ว สวัสดิการที่ Google มีให้พนักงานยังจัดเต็มอีกด้วย เช่น ดูแลรักษาสุขภาพและทันตกรรมฟรี, ตัดผมฟรี, ซักแห้งฟรี, บริการรถไฮบริด, มีแพทย์ให้คำปรึกษาทางเว็บไซต์ และมีเงินชดเชยเมื่อเสียชีวิต

แนะนำบทความน่าอ่าน

อยากทำงานที่ Google ต้องเก่งเรื่องอะไร

มาถึงตรงนี้ Passion Gen เชื่อว่าหลายคนคงอยากเข้าเป็นหนึ่งในพนักงานของ Google กันแล้วแน่ๆ ถ้าอยากเข้าทำงานที่นี่ 4 ศักยภาพที่คุณต้องมีก็คือ

  1. ความเป็นผู้นำ (Leadership)

Google ไม่ได้สนใจตำแหน่งที่ติดตัวมาจากที่ทำงานเก่าของคุณ เช่น ประธาน, ผู้จัดการ หรือหัวหน้า แต่สิ่งที่ Google มองหาคือ คนที่มองเห็นปัญหา พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลาและเรียนรู้ได้ไว นั่นคือเหตุผลที่ Google ความสนใจกับผู้สมัครที่มีความฉลาดแบบรอบรู้หรือแบบ General มากกว่าแบบ Specialist ซึ่งความเป็นผู้นำในที่นี้คือการมีทักษะและศักยภาพที่จะโน้มน้าวผู้คน การสร้างสายสัมพันธ์และสร้างอำนาจการต่อรองได้ ไม่ใช่แค่หัวโขนที่ไว้คุมลูกน้องเท่านั้นนะ

  1. ความรู้เกี่ยวกับเนื้องานที่จะเข้ามาทำ (Role-Related Knowledge)

แน่นอนว่าจะสมัครตำแหน่งไหน คุณต้องรู้จักทำการบ้านมาก่อน เนื้อหางานเป็นอย่างไร คุณมีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองมากแค่ไหนในสายงาน นอกจากนี้เนื่องจาก Google คือบริษัทแห่งเทคโนโลยี หากคุณสามารถโชว์ให้เห็นถึงความใฝ่รู้นอกห้องเรียนต่างๆ ที่ทันต่อยุคสมัย เช่น การลงคอร์สสัมมนาต่างๆ หรือเรียน E-Learning จากบริษัทชั้นนำเช่น Facebook Blueprint หรือ Google Garage ซึ่งนอกจากจะฟรีแล้วยังช่วยให้คุณได้ความรู้ใหม่ๆและอัพลุคให้ดูเป็นคนที่พัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งอีกด้วย

  1. ความฉลาดและความว่องไวในการแก้ปัญหา (problem solving skill)

สิ่งที่ Google ต้องการคือ คนที่ฉลาด มีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่งด้วยแนวคิดใหม่ๆ และกระหายที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการสัมภาษณ์จึงมักมีคำถามที่สามารถวัดผลได้ว่าคุณคือคนที่ Google ต้องการหรือไม่ ซึ่งขอบอกเลยว่าบางคำถามไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ เช่น หมอจ่ายยา 2 ชนิดให้คุณอย่างละ 2 เม็ด ทุกเม็ดหน้าตาเหมือนกันหมดจนไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนเป็นอันไหน คุณต้องกินยาชนิดละ 1 เม็ด ในตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าคุณกินผิดหรือไม่ยอมกินเม็ดใดเม็ดหนึ่ง คุณจะตายทันที ถามว่าคุณควรทำอย่างไรเพื่อให้มีชีวิตรอด?  หรือ คุณสร้างบ้านหลังหนึ่ง กำแพงทุกด้านของบ้านหันไปทางทิศใต้ ทันใดนั้นเองมีหมีตัวหนึ่งเดินผ่าน ถามว่าหมีตัวนั้นมีสีอะไร? เป็นต้น (ค่อยๆ คิดไม่ต้องรีบ อ่านต่อไปให้จบก่อนก็ได้ แล้วเราจะมีเฉลยตอนท้ายไว้ให้คุณ!

  1. ความเป็น Google หรือ Googliness

นิยามของความเป็น Googliness นั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่หลักๆ แล้ว Google จะมองถึง Passion ที่คุณมีต่อสามารถเชื่อมโยงกับการทำงานใน Google ได้มากน้อยแค่ไหน คุณมีความสามารถในการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้มั้ย ความมุ่งมั่นพยายามที่จะพัฒนาตัวเอง การรู้จักคิดนอกกรอบและการปรับเปลี่ยนนวัตกรรมได้อย่างพลิกผัน นั่นคือสิ่งที่ต้องมีใน Googliness

คนที่จะเรียกว่าเป็นแบบอย่าง หรือเป็นผู้นำคนได้ ต้องรู้จักสร้างคนที่เก่งกว่า” แนวคิดผู้นำที่ดี ธนินท์ เจียรวนนท์

แนวคิดผู้นำ เพื่อความสำเร็จ

ได้รู้จักกับ 4 ศักยภาพที่ต้องมีหากอยากทำงานที่ Google ไปแล้ว หากข้อไหนที่คุณมีอยู่แล้วก็ขอให้มุ่งมั่นพัฒนาต่อไป แต่ถ้าข้อไหนยังขาดก็ให้รีบเติมเต็มซะ ลงมือทำตั้งแต่วันนี้พัฒนาตัวเองให้เต็มศักยภาพที่คุณมี Passion Gen เชื่อว่าถึงแม้คุณจะไม่ใช่สายเทคโนโลยีจ๋า หรือ Google อาจไม่ใช่บริษัทในฝันที่คุณต้องการแต่ทักษะต่างๆ เหล่านี้หากคุณมีอยู่ในตัว ไม่ว่าคุณจะทำงานสายไหน อาชีพอะไร รับรองได้ว่าคุณจะเป็นผู้สมัครคุณภาพที่บริษัทส่วนใหญ่ต้องการจะร่วมงานด้วยอย่างแน่นอน!

Passiongen

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

2 years ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.