Categories: INSPIRE

ทิม พิธา อายุน้อยร้อยล้าน กับแนวคิดแบบผู้นำที่ไม่ธรรมดา!

3.7 / 5 ( 4 votes )

สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงธุรกิจนั้นชื่อของ ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คงเป็นที่รู้จักขึ้นมาจากการเป็นสามีของ ต่าย-ชุติมา นักแสดงสาวสังกัด GTH แต่ที่จริงแล้ว ทิม-พิธา เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตามองในวงการธุรกิจมาหลายปีแล้วด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ช่วยให้กิจการน้ำมันรำข้าวของครอบครัวสามารถพลิกฟื้นจากหนี้ 100 ล้านกลายเป็นศูนย์ได้ภายใน 1 ปีและปั้นให้บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด เติบโตขึ้นได้แบบก้าวกระโดดจนกลายเป็น บริษัทผลิตน้ำมันรำข้าวส่งออกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศและอันดับ 5 ของโลกสร้างยอดขายต่อปีในระดับพันล้านบาทเส้นทางชีวิตของเจ้าของธุรกิจหน้าตาดี มีภรรยาสวย พ่วงด้วยดีกรีปริญญาโทจากฮาวาร์ดและ MIT คนนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร? เคยเกเรจนต้องถูกส่งไปเรียนเมืองนอกดัดนิสัยจริงมั้ย? และอะไรที่เป็นจุดเปลี่ยนให้นักธุรกิจหนุ่มอายุน้อยร้อยล้านคนนี้หันมาจับธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อดังอย่าง Grabcar?…มาส่องชีวิตที่ไม่ธรรมดาของ ทิม-พิธา ไปกับ Passiongen

ชีวิตวัยเรียนและจุดเปลี่ยน

สมัยเริ่มเป็นวัยรุ่น ทิม-พิธา จัดเป็นเด็กเกเรคนหนึ่งทั้งมีเรื่องชกต่อยโดดเรียนและแอบสูบบุหรี่จนครอบครัวต้องตัดสินใจส่งไปเรียนที่นิวซีแลนด์ตั้งแต่อายุ 11-12 ปี เพื่อดัดนิสัยและให้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบมีวินัย ที่นั่นถือเป็นจุดเปลี่ยนแรกในชีวิต ทิมต้องฝึกดูแลตัวเองตั้งแต่วัยรุ่นทั้งเรียนทั้งทำงานพิเศษไม่ว่าจะเป็นการเก็บสตรอว์เบอร์รี ส่งนม ปั่นจักรยานส่งหนังสือพิมพ์จนเมื่อเขาจบไฮสคูลจึงเดินทางกลับมาไทยและเข้าเรียนคณะบริหารธุรกิจ การเงิน การธนาคาร ภาคภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมเรียนจบออกไปด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

แนะนำบทความน่าอ่าน

จากนั้นเขาสามารถสอบเข้าเรียนปริญญาโทมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกที่อเมริกาได้ถึง 2 ที่ นั่นก็คือ ฮาร์วาร์ด และเอ็มไอทีแต่หลังจากไปเรียนต่อได้เพียงเดือนเศษเขาก็ต้องพอเจอจุดเปลี่ยนที่สองของชีวิตเมื่อคุณพ่อของเขาซึ่งก็คือ คุณพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันทิมในฐานะลูกชายคนโตกลายมาเป็นเสาหลักของบ้านทั้งเรื่องจัดการงานศพของคุณพ่อและเข้ามาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดูแลบริหารบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ที่คุณพ่อเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน ซึ่งในตอนนั้นสิ่งที่เขามีอยู่ในมือคือชื่อบริษัท,โครงสร้างบริษัทและยอดหนี้เงินกู้มูลค่า 100 ล้านบาทซึ่งทิมทราบเรื่องนี้ในวันที่สองของการจัดงานศพเมื่อลูกน้องของพ่อมากระซิบบอกเขาว่าตอนนี้บริษัทติดหนี้อยู่ 100 ล้านบาท ทิมเคยเปิดใจกับสื่อว่า

“ตั้งแต่คุณพ่อเสียจนถึงทุกวันนี้ผมมีเวลาเสียใจร้องไห้กับเหตุการณ์นี้เพียง 5 นาที หลังจากนั้นก็มาคิดว่าจะทำอะไรต่อดี?”

เจ้าของธุรกิจเต็มตัว

เมื่อ Mindset ของชีวิตที่เคยคิดไว้ถูกเปลี่ยนอย่างไม่ทันตั้งตัวสิ่งที่ทิมต้องแบกรับในวัย 25 ปีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เขาจำเป็นต้องดร็อปเรียนเพื่อมาบริหาร บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด อย่างเต็มตัวและในที่สุดทิมก็ทำให้ธุรกิจน้ำมันรำข้าวของครอบครัวดำเนินต่อไปข้างหน้าได้อย่างโตวันโตคืนผ่านไปเพียง 3 เดือน บริษัทของทิมก็หาเงินมาใช้หนี้ก้อนแรกได้สำเร็จและสามารถชำระหนี้จำนวน 100 ล้านได้จนหมดในเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ 3 ปีต่อมาทิมยังสามารถทำให้บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัดเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 200-300 เปอร์เซ็นต์และสามารถรองรับรำข้าวที่ใช้กลั่นเป็นน้ำมันรำข้าวถึงวันละ 4 แสนกิโลกรัมส่งออกไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา,ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งทำรายได้สูงถึงระดับพันล้านต่อปีโดยทิมบอกว่ากลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญของเขาในการบริหารบริษัทให้ประสบความสำเร็จนั่นก็คือวิธีคิดที่เรียกว่า “ฮาร์วาร์ดบวกสำเพ็ง”

“วิธีคิดแบบฮาร์วาร์ด คือการคิดวิเคราะห์ธุรกิจโดยอิงไปที่เหตุและผล เช่นถ้าเป็นบริษัทฝรั่งแม้ว่าจะทำงานด้วยกันมาหลายปีแต่ราคาสู้เจ้าใหม่ไม่ได้ ก็จะเปลี่ยนคู่ค้าแต่พอมาเป็นวิธีการบริหารแบบสำเพ็งจะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นสำคัญเน้นความอ่อนโยนในการบริหารงานซึ่งต้องเอาข้อดีข้อเสียของวิธีคิดทั้งสองแบบมาใช้ในการทำงาน”

New Mindset ของทิม-พิธา

สิ่งหนึ่งที่ทิมและคุณพ่อคิดตรงกันก็คืออยากให้ประเทศไทยมีการทำการเกษตรแบบเพิ่มมูลค่าด้วยการต่อยอดเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการสกัดน้ำมันรำข้าวมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม,ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว น้ำมันสลัดและขนมขบเคี้ยวที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์มีโคเลสเตอรอลเท่ากับ 0 และในอนาคตทิมอยากพัฒนาให้น้ำมันรำข้าวของบริษัทเขาเพิ่มมูลค่าขึ้นอีกด้วยการนำมาผลิตเป็นวิตามินเครื่องสำอางและยาซึ่งจากกระแส Health Conscious ที่กำลังมาแรงสุดๆ ในเวลานั้นทิศทางการทำธุรกิจแบบเพิ่มมูลค่าของเขามีโอกาสเติบโตได้อย่างแน่นอนแถมยังยังเป็นการสร้างอาชีพและสร้างโอกาสให้กับคนในประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

“ผมไปทานข้าวที่บ้านของวอร์เรน บัฟเฟตส์ เขาก็ถามว่าเรียนจบแล้วจะกลับไปทำอะไรผมเลยบอกว่าจะกลับไปทำน้ำมันรำข้าวบัฟเฟตส์บอกว่า ดีมาก ยุคนี้เป็นยุคบูรพาภิวัตน์กลับมาบอกคนที่บ้านคุณซะว่าใต้ดินน่ะเต็มไปด้วยทรัพยาการที่มีคุณค่าผมเลยพยายามสร้างน้ำมันรำข้าวให้มีมูลค่าสูงขึ้นต้องเรียนรู้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำคือต้องรู้ทั้งหมดไม่ใช่รู้แค่ธุรกิจของตัวเองอย่างเดียวคนไทยต้องร่วมมือกันช่วยทำให้มีทรัพย์สิน อย่าทำให้เป็นหนี้สิน”

บริหารแบบ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ “สร้างและซื้อ”

  1. ชีวิตในต่างแดนหล่อหลอมความคิดและการเรียนรู้
  2. วิกฤตสร้างโอกาสนักบริหารหน้าใหม่
  3. ทำงานในสไตล์ “สร้าง ซื้อ เร็ว ช้า หนัก เบา”
  4. ท้อแท้ กำลังใจ

อ้าอิงข้อมูล : Sanook.com

บทบาทใหม่ในธุรกิจสตาร์ทอัพ ชื่อดัง “Grabcar”

การได้ร่วมงานกับ Grab ในตำแหน่ง กรรมการบริหารบริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด (Country Head Public Affairs) ของ ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อาจจะถือว่าเป็นครั้งแรกๆ ที่เขาได้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาในสายเทคโนโลยีจากต่างประเทศทำให้เขาได้ใช้วิธีคิดแบบใหม่มาปรับใช้ได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญของเขาอย่าง “ฮาร์วาร์ดบวกสำเพ็ง”

เพราะ Grab ก่อตั้งโดยชาวมาเลเซียเป็นบริการที่มีความเป็นตะวันออก(เฉียงใต้) สูงมากทั้งการปรับตัวเข้ากับรัฐบาลท้องถิ่นการเข้าใจความต้องการผู้ใช้บริการในพื้นที่รวมไปถึงมองทะลุว่าทิศทางของบริษัทจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตซึ่งแตกต่างกับ Uber ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ค่อนไปทางตะวันตกทำให้อาจจะประสบปัญหาในการเจรจาในเรื่องกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งหลังการควบรวมกิจการของ Grabcar และ Uber จึงเหมือนการเอาสตาร์ทอัพฝั่งเอเชียมารวมกับฝั่งตะวันตก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ ทิม-พิธาถนัดและทำได้ดีจากนี้เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ก้าวใหม่ก้าวใหญ่ของผู้ชายที่ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง กับ mindsetที่ไม่ธรรมดาของเขา จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ทางธุรกิจอะไรให้เกิดขึ้นได้อีกบ้างในวัย 40 ปีของผู้ชายคนนี้…ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

“สิ่งที่ผมอยากทำให้ได้แต่ยังทำไม่ได้คือการอยู่กับปัจจุบันให้มากกว่านี้ไม่ไปอยู่กับอนาคตที่ยังไม่เกิดคือความกลัวไม่ไปอยู่กับอดีตที่ผิดพลาดไปแล้วหรือที่เคยดีกว่านี้ซึ่งเป็นอดีตที่เรียกว่ารู้สึกผิดผมอยากอยู่กับปัจจุบันแล้วมีความสุขกับเงินให้น้อยที่สุดมีความสุขกับสิ่งที่เป็นให้มากที่สุด”

อ้างอิงข้อมูล :https://www.gmlive.com, http://www.cpall.co.th, http://www.vogue.co.th

Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.