Categories: INSPIRE

สร้างโอกาสให้ทุกธุรกิจ – 5 แหล่งเงินทุนที่สนับสนุนสตาร์ทอัพ

3.6 / 5 ( 11 votes )

อย่างที่รู้กันดีว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพ นั้นเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากไอเดีย และ Business Model ที่ต้องทำซ้ำได้สามารถสร้างผลกำไรได้สูงแบบก้าวกระโดดซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าการทำธุรกิจสตาร์ทอัพหรือ SME สิ่งที่สำคัญในการต่อยอดไอเดียและแผนธุรกิจที่วางไว้ให้สามารถขับเคลื่อนได้จริงก็คือเงินลงทุน

ในขั้นต้นเจ้าของกิจการมักเริ่มจากใช้ทุนส่วนตัวแต่เมื่อถึงจุดที่ต้องการก้าวกระโดดตาม Business Model ที่วางไว้ไปในสเกลที่ใหญ่ขึ้นการระดมทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ไปถึงจุดหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาทำความรู้จักกับ 5 แหล่งเงินทุนสุดเจ๋งที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพให้เติบโตกันดีกว่า

“ถ้าคุณทำ 10 อย่าง สำเร็จ 3 อย่าง ก็ถือว่าเก่งแล้วคนที่ยิ่งทำเยอะก็ยิ่งผิดเยอะ แต่คนที่ไม่เคยคิดทำผิด คือคนที่ไม่คิดทำอะไรเลย” แนวคิดผู้นำที่ดี ธนินท์ เจียรวนนท์

1. GSB สุดยอด SMEs STARTUP

เป็นโครงการสนับสนุน ธุรกิจสตาร์ทอัพ และ SMEs ของธนาคารออมสิน ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันเพื่อสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจ SMEs หรือ Startup ที่สามารถทำได้เลย ทำได้เร็วและทำได้จริง ช่วยสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้ตาม Business Model ที่เจ้าของกิจการได้วางไว้ โดยช่วยเปิดช่องทางการพบกันระหว่างผู้ประกอบการรายใหม่กับแหล่งเงินทุนหรือ Venture Capital ( VC ) เพื่อทำการขอทุนในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากนี้โครงการของ GSB สุดยอด SMEs STARTUP ยังช่วยส่งเสริมความรู้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เจ้าของธุรกิจโดยทางโครงการมีเงินทุนประเดิมในการสนับสนุน หรือต่อยอดธุรกิจมอบให้เป็นมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านบาทเลยทีเดียว

หากเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพหรือ SMEs คนไหน มั่นใจว่าธุรกิจที่ทำอยู่เป็นธุรกิจที่มีความสุดยอดทางด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ แผนธุรกิจมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่าลังเลใจรีบสมัครกันได้เลย

2. AddVentures

บริษัทในรูปแบบ Corporate Venture Capital  ของเอสซีจี อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ You Innovate, We Scale” มีเป้าหมายเพื่อดึงศักยภาพสตาร์ทอัพทั่วโลก ให้มาร่วมกันยกระดับ Ecosystem ด้วยองค์ความรู้เครือข่าย และฐานลูกค้าทั่วอาเซียนซึ่งรูปแบบการลงทุนในช่วง 3-5 ปีแรก จะวางงบประมาณในการลงทุนเฉลี่ยครั้งละ 1-5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเทคโนโลยีเป้าหมายที่ AddVentures สนใจลงทุน ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.Enterpris 2.Industrial และ 3.B2B  โดยภายใต้แต่ละกลุ่มหลัก ยังมีกลุ่มย่อย ๆ เช่น Logistics & Supply Chain Tech, Smart Packaging Tech, Chemicals Tech, Construction Tech, Industrial & Manufacturing Tech, Industrial & Construction Product Marketplace เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดจะเป็นเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลัก 3 กลุ่มของเอสซีจี ได้แก่

  1. ธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
  2. ธุรกิจเคมิคอลส์
  3. ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ขณะที่รูปแบบการลงทุนจะเปิดกว้างทั้งการสร้างโอกาสให้แก่สตาร์ทอัพได้เรียนรู้และใช้คอนเนคชั่นของทาง SCG เพื่อพัฒนาและเติบโตรวมไปถึงการสนับสนุนธุรกิจของสตาร์ทอัพในด้านความร่วมมือเชิงพาณิชย์ (Commercial Deal) ทั่วไป การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Licensing) การร่วมทุน (Joint Venture) ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการในสตาร์ทอัพนั้น ๆ

แนะนำบทความน่าอ่าน

3. SCB Digital Ventures

บริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2559 ตามกลยุทธ์ในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ของทางธนาคารฯ โดย ดิจิทัล เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคารผ่านการลงทุน การค้นคว้านวัตกรรม รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้เติบโตร่วมไปกับธนาคารฯ โดย ดิจิทัล เวนเจอร์ส จะร่วมสร้างโอกาสและสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพให้เติบโตผ่านทาง

  • LAB/Products  : ห้องแลปพัฒนาดิจิตัลเทคโนโลยีทางด้านการเงินโดยมุ่งเน้นไปที่เรื่อง IoT Biometric Blockchain Machine Learning ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมวิถีชีวิต และโลกของเราอย่างแน่นอนในอนาคตโดยแลปจะมีที่ปรึกษาให้สตาร์ทอัพ ว่าสิ่งที่คุณคิดทำอยู่เป็นไปได้แค่ไหนมีเทคโนโลยีอะไรที่จะสนับสนุนธุรกิจของคุณได้บ้างจนเป้าหมายของคุณเป็นจริง
  • Digital Ventures Accelerator : โปรแกรม Digital Ventures Accelerator ของ SCB จะเป็นที่สำหรับให้เหล่าสตาร์ทอัพได้มาเข้าร่วมเป็นเวลา 6 เดือน โดยจะสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบติดจรวดทางธุรกิจของสตาร์ทอัพให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นทั้งด้านการวางแผนธุรกิจ และ Business Model โดยจะมี Mentor ทางธุรกิจมาวิจารณ์และให้คำแนะนำว่าแผนธุรกิจ หรือ Business Model ของสตาร์ทอัพยังต้องปรับปรุงแและเพิ่มเติมอะไรบ้างเพื่อให้สตาร์ทอัพเป็นรูปเป็นร่าง และพัฒนาไปด้วยกันนอกจากนี้ยังมีเงินตั้งต้นให้อีก 300,000 บาท และมีโอกาสได้ไปพิชชิ่งงานกับลูกค้าแถวหน้าของ SCB รวมถึงคอนเน็คชั่นกับ VC Funders และนักลงทุนอีกมากมาย ตัวอย่างสตาร์ทอัพรุ่นแรก ๆ ของ DVA ก็เช่น Refinn สตาร์ทอัพรีไฟแนนซ์, Flowaccount ระบบบัญชีออนไลน์, Petinsure ประกันภัยออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยง, Peer power บริการสินเชื่อ, Convolab สตาร์ทอัพพัฒนาแชทบอทสำหรับธุรกิจ เป็นต้น

4. DTAC Accelerate

เป็นโครงการบ่มเพาะ Startup จากค่ายมือถือ DTAC ที่สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพมานานถึง 6 ปีแล้ว ซึ่งนอกจะเป็นแหล่งเงินทุนและขุมความรู้ด้านสตาร์ทอัพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวจริงในการปั้นสตาร์ทอัพในไทยแล้ว DTAC Accelerate ยังมีพันธมิตรระดับโลก เช่น Google Developers, LINE, Facebook และนักลงทุนจากองค์กรธุรกิจใหญ่ หรือ Corporate Venture Capital อย่าง เมืองไทยประกันชีวิต และ ไทยวา ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งให้ Startup ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเติบโตทางธุรกิจได้เร็วขึ้นโดยสตาร์ทอัพใน Portfolio ของที่นี่มีตั้งแต่ Agritech (เทคโนโลยีทางการเกษตร) Edtech (เทคโนโลยีทางการศึกษา) ไปจนถึง Deep Tech (เทคโนโลยีเชิงลึก) ซึ่งเปิดกว้างสำหรับสตาร์ทอัพในทุกขั้นไม่ว่าจะมีแค่ไอเดียหรือมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่มีผู้ใช้แล้วก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการของ DTAC Accelerate ได้

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ DTAC Accelerate ดีกว่าที่อื่น ๆ และ Startup ควรสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ คือ

  1. รวม Startup Hero มาทำหน้าที่ Mentor : มีเหล่า Mentor เก่ง ๆ สุดเจ๋งในไทยมารวมตัวกันมากมาย ซึ่งคนเหล่านี้มารวมตัวกันด้วย “ใจ”  ที่อยากช่วยสตาร์ทอัพน้องใหม่ให้แจ้งเกิดอย่างแท้จริง
  2. ที่นี่ให้มากกว่าแค่เงินลงทุน : สตาร์ทอัพ ต้องการแหล่งเงินลงทุนสำหรับเริ่มต้นธุรกิจ แต่สิ่งที่ประเมินมูลค่าไม่ได้คือ ความช่วยเหลือทางธุรกิจอื่น ๆ เช่น เป็นที่ปรึกษาทางการตลาดทางกฎหมาย ทางการเงิน การได้เรียนรู้ ลองผิดลองถูกและหากเป็นผู้ที่ได้รับเลือกจะมีโอกาสได้ไปที่ Silicon Valley ถิ่นกำเนิด Startup อันดับ 1 อีกด้วย
  3.  สร้าง Connection มุ่งสู่ VC : เงินทุนจาก VC คือสิ่งที่จะมาสนับสนุนธุรกิจทำให้สตาร์ทอัพ เติบโตซึ่ง dtac accelerate เป็นโครงการปั้นสตาร์ทอัพที่เป็นที่รู้จัก และเห็นแล้วว่าที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพ ดาวรุ่งเกิดขึ้นดังนั้นการได้ชื่อว่าผ่าน accelerate แห่งนี้มา จะมี VC ให้ความสนใจอย่างแน่นอน
  4. ผลงานที่ผ่านมา พิสูจน์ความสำเร็จที่ไม่ธรรมดา : ปัจจุบันโครงการ dtac Accelerate มีสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จถึง 34 บริษัท มีมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์ และในปี 2017 สตาร์ทอัพ ของ dtac Accelerate ได้รับการลงทุนในระดับซีรี่ส์ A ถึง 3 บริษัท และมีอีก 8 บริษัทได้รับเงินลงทุนในระดับด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 9.5 ล้านดอลลาร์

5. True Incube

เป็นโครงการที่บริษัท ทรู คอร์เปอเรชั่น สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด การเป็นระบบนิเวศน์ที่สนับสนุนสตาร์ทอัพเพื่อสร้างธุรกิจนวัตกรรมในระดับภูมิภาคโดยมุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการให้บริการแบบครบวงจรแก่สตาร์ทอัพ ในอาเซียน และให้เงินทุนสนับสนุนกับธุรกิจ Tech Startup โดยเฉพาะ E-commerce, Digital Marketing, CRM, Payment, Logistic หรือ Agriculture จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

โดยจะเป็นโครงการสำหรับสตาร์ทอัพ ที่จดทะเบียนบริษัทเป็นที่ เรียบร้อยแล้วมีสินค้าและบริการ หรือสินค้าต้นแบบที่สามารถใช้งานได้จริง (Functioning Prototype) ที่กำลัง ให้บริการอยู่ในตลาดในปัจจุบันและกำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจซึ่งหลักสูตรบ่มเพาะสตาร์ทอัพ 3 เดือนของ TRUE Incube มอบโอกาสในการที่สตาร์ทอัพจะได้รับเงินลงทุนเป็นจำนวน 2 ล้านบาท สูงสุด 4.5 ล้านบาท รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางด้านสื่อในเครือมูลค่า 1 ล้านบาทต่อทีม การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเช่น cloud service นอกจากนี้สตาร์ทอัพ ยังจะได้มีโอกาสพบกับนักลงทุนระดับโลกผ่านเครือข่ายของเราในวัน Synergy Day และโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของ ทรู ดิจิทัลพาร์ค และสถานที่ทางานฟรีเป็นเวลา 1 ปีอีกด้วย

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

ได้รู้จักกับ 5 แหล่งเงินทุนที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพกันไปแล้วจะเห็นได้ว่าการเข้าร่วมโครงการเหล่านนี้นอกจากจะได้รับการสนับสนุนธุรกิจในด้านของการเป็นแหล่งการหาเงินทุนจาก VC และการให้เงินทุนเริ่มต้นผ่านรูปแบบเงินรางวัลแล้วสิ่งที่จะได้รับมากยิ่งกว่าคือการได้เข้าร่วมฝึกอบรมกับ mentor หรือเจ้าของกิจการสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพรูปแบบต่าง ๆ

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถนำไปต่อยอดในการวางแผนธุรกิจและ Business Model ของคุณทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้คุณได้เจอกับคอนเน็คชั่นใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ในอนาคตอีกด้วย

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.