ยุคนี้เป็นยุคที่โลกเต็มไปด้วยการส่งต่อข้อมูลต่างๆ ถึงกันได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วยิ่งข้อมูล รูปภาพ ไฟล์เสียงและวิดิโอต่างๆ เป็นสิ่งที่ถูกเก็บบันทึกในรูปแบบของซอฟท์ไฟล์มากขึ้นเท่าไหร่พื้นที่การเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหายยิ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมีธุรกิจสตาร์ทอัพอย่าง Dropbox จึงถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้แนวคิดแบบใหม่ที่หลุดออกจากกรอบเดิมๆ อย่างการใช้แฟลชไดร์ฟหรือส่งข้อมูลให้กันทางอีเมลล์ที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่จัดเก็บและอาจหลงลืมที่จะพกพาจากสตาร์ทอัพเล็กๆ ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นเจ้าของกิจการเพียงสองคนคือ Drew และ Arash แต่วันนี้เติบโตจนมีพนักงานกว่า 1 พันคนทำรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์และก้าวสู่ตลาดหุ้นได้สำเร็จในปี 2018 อะไรที่ทำให้ชายหนุ่มในวัย 35 ปีอย่าง Drew Houston กลายเป็นเจ้าของธุรกิจระดับหมื่นล้านได้ในวันนี้ไปทำความรู้จักเค้าให้มากขึ้นกันดีกว่า
พ่อของ Drew Houston เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยระดับโลกอย่างฮาร์วาร์ดและมีส่วนสนับสนุนให้เจ้าตัวหัดเขียนโปรแกรมในภาษา Basic ซึ่งเขาสามารถเขียนโปรแกรมความยาว 2-3 บรรทัดด้วยภาษา Basic ได้ตั้งแต่ 5ขวบและนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของว่าที่ Software Entrepreneur คนนี้ ก่อนที่จะเริ่มคลุกคลีในแวดวงสตาร์ทอัพตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยทำการวิเคราะห์การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปของบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆ และส่งอีเมล์ไปแจ้งปัญหาและแนวทางแก้ไขแก่พวกเขาบริษัทบางรายอ่านแล้วสนใจจึงติดต่อกลับมาเสนอให้ Drew เข้าทำงานและเขาได้ตอบกลับไปว่าเขามีอายุเพียง 14 ปี และต้องให้คุณพ่อของเขา (ซึ่งบรรลุนิติภาวะ) เป็นผู้กรอกแบบฟอร์มใบสมัครงานซึ่งแน่นอนว่าบริษัทเหล่านั้นยินดีและตอบกลับมาว่า “ไม่มีปัญหา !”
Drew เข้าเรียนระดับปริญญาตรีที่ MIT ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของโลกเขาใช้เวลาในหอพักนักศึกษาไปกับการอ่านประวัตินักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก Drew บอกว่าการเรียนรู้ชีวิตนักธุรกิจผ่านการอ่านเปรียบเสมือนทางลัดในการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของคนที่ตกผลึกแล้วโดยที่คุณไม่ต้องออกไปเผชิญความเสี่ยงนั้นเอง
จนวันหนึ่ง (ประมาณปี 2006-2007) Drew ได้นั่งรถบัสเพื่อเดินทางจากบอสตันไปนิวยอร์คแล้วเขาก็นึกได้ว่าลืมแฟลชไดรฟ์ที่เก็บข้อมูลสำคัญไว้ที่บ้านขณะที่เดินทางมาได้เกินครึ่งทางซึ่งสายเกินกว่าจะวกกลับไปเอาแล้ว ความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความรู้สึกว่าการใช้แฟลชไดรฟ์เก็บข้อมูลแบบพกพานั้น ยังไม่สะดวกพอ เขาจึงเกิดแนวคิดใหม่ที่ว่าชีวิตคงจะง่ายขึ้นมากถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญในเวลาไหนก็ได้บนเครื่องมืออะไรก็ได้รวมถึงสามารถอัพเดตแก้ไขทุกอย่างได้แบบ Real time Drew จึงเขียนโค้ดต้นแบบคร่าวๆ สำหรับโครงการที่จะเป็น Dropbox พร้อมทำวิดีโอสาธิตการใช้งานเพื่อไปโพสต์ลงอินเตอร์เน็ตจนนำไปสู่การ่วมทุนและเกิดเป็นสตาร์ทอัพที่มาแรงและเติบโตอย่างสุดๆ ในเวลาต่อมา
หลังจาก Beta เวอร์ชั่นของ Dropbox แล้วเสร็จสามารถทำงานได้ในระดับหนึ่งและพบว่ามันแก้ปัญหาให้กับคนที่ไม่สะดวกในการเก็บรักษาและทำงานผ่าน Flash drive ได้จริงเขาก็เริ่มเดินตามแผนธุรกิจที่วางไว้ คือการนำโครงการของเขาออกเสนอแก่นายทุนต่างๆ และหนึ่งในนายทุนกลุ่มแรกๆ ก็คือ Sequoia
Mike Moritz ผู้บริหารระดับสูงของ Sequoia มาพบ Drew และ Arash ที่หอพักของพวกเขาเพื่อทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายและสิ่งที่เขาเห็นคือทั้งสองคนอยู่ในสภาพของคนทำงานอย่างหนักข้าวของที่รกรุงรังภายในห้องบ่งบอกถึงการที่พวกเขาไม่ออกไปไหนไม่ทำอะไรนอกจากทุ่มเทเวลาไปกับการพัฒนา Dropbox ตลอดวันตลอดคืน
หลังจากเจรจาเสร็จ Drew เฝ้ารอการโอนเงินลงทุนอย่างใจจดใจจ่อโดยการเฝ้าหน้าบัญชีธนาคารผ่านทางคอมพิวเตอร์และเมื่อเขากด Refresh หน้าจอ ภายในเสี้ยววินาทีที่ Sequoia โอนเงินเข้ามา เงินในบัญชีก็พุ่งจาก 60 เหรียญ ไปเป็น 1,200,000 เหรียญ!
ภายหลังก่อตั้งบริษัทมาได้แค่ 2 ปี Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple ก็เชิญ Drew ไปพบที่สำนักงานใหญ่ในคูเปอร์ติโนเพื่อกล่าวชื่นชม Dropbox ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมก่อนจะตบเข้าประเด็นด้วยคำพูดต่างๆ นานาว่าพวกเขาจะต้องเผชิญความท้าทายอย่างหนักจากบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่และเสนอขอซื้อกิจการ Dropbox ซึ่งคำตอบของ Drew ก็คือไม่เพราะเขายังต้องการปั้นให้บริษัทเติบโตด้วยมือตัวเองขณะที่ Jobs ซึ่งถูกปฏิเสธก็ตอบกลับว่า Dropbox นั้นไม่ใช่ผลิตภัณฑ์แต่เป็นได้แค่ Feature เสริมเท่านั้นและยังขู่ด้วยว่า Apple นี่แหล่ะที่จะสร้างคลาวด์มาฆ่า Dropbox เอง (และสิ่งนั้นก็คือ iCloud นั่นเอง) แต่ผลลัพธ์จากการปฏิเสธ Apple ไปในวันนั้นก็ทำให้ Dropbox ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักพันล้านดอลลาร์ในเวลานี้ได้ด้วยศักยภาพและความทุ่มเทของเขาเองซึ่งเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเขาตัดสินใจไม่ผิดที่ไม่ขายกิจการ Dropbox ให้แก่ Apple ในวันนั้น
Drew มีปรัชญาส่วนตัว 3 ข้อ ที่เขาใช้เพื่อการพัฒนาตัวเองนั่นก็คือ ‘A Tennis ball, The Circle and Thirty-Thousand’
Drew ยอมรับว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Dropbox ประสบความสำเร็จได้คือการตัดสินใจเริ่มต้นเร็วในช่วงเวลาที่ตลาดยังไม่มีการแข่งขันสูงเพราะในยุคนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่มักมองข้ามไม่คิดว่าสตาร์ทอัพเป็นคู่แข่งขณะที่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก็เปิดโอกาสให้เขามีเวลามากพอที่จะค่อยๆ เรียนรู้ทักษะการบริหารและพัฒนาศักยภาพของตัวเองซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เขาเรียนมาโดยตรงเพราะเจ้าตัวเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะพัฒนาตัวเองได้ก็คือการฝึกฝนในสถานการณ์จริงนั่นเอง
ได้รู้จักกับ Drew Houston กันมากขึ้นแบบเจาะลึกขนาดนี้ Passion Gen เชื่อว่าความมุ่งมั่นทุ่มเทและความกล้าที่จะคิดนอกกรอบของ Drew จะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับเหล่าสตาร์ทอัพเมืองไทยได้พัฒนาตัวเองให้เติบโตและก้าวผ่านความกลัวเพื่อจะได้เป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่าง Drew Houston ในสักวันหนึ่ง
“Don’t worry about failure; you only have to be right once.”
อย่าไปมัวกังวลอยู่กับความผิดพลาดมันต้องมีสักครั้งที่เราทำถูกต้องแน่ๆ
Drew Houston, Dropbox founder and CEO
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.