สปริงเคิลรู้ว่าผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการอะไร

เชื่อว่าแทบทุกคนเคยดื่มน้ำดื่มของแบรนด์ “สปริงเคิล” แบรนด์น้ำดื่มที่เราคุ้นเคยกันดีและเป็นแบรนด์ที่กล้าการันตีคุณภาพที่สุดแบรนด์หนึ่งแน่นอนอยู่แล้วเรื่องคุณภาพที่เราสัมผัสกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแต่สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ “ไอเดีย” ที่ก้าวทัน “เทรนด์” การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าคุณต้องการทราบว่า “ไลฟ์สไตล์” ของสปริงเคิลซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองอยู่เสมอซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้หลักการออกแบบที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางใช้ความใสของน้ำและขวดน้ำมาสะท้อนวิถีชีวิตของคนเมืองในแต่ละยุคสมัยได้อย่างลงตัวนับว่านี่เป็นการต่อยอดจากไอเดียและสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมนำไปสู่กลยุทธ์การตลาดที่จะสามารถตอบคนยุคนี้เป็นอย่างไรคุณสามารถวัดได้จากการออกแบบขวดน้ำของสปริงเคิลโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

ประสานไอเดียให้เข้ากับวิถีชีวิต

เทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่มักเป็นความต้องการที่แตกต่างหลากหลายไม่ได้ต้องการทำสิ่งนั้นเพื่อสิ่งนั้นโดยตรงเสมอไปอย่าง
การซื้อน้ำดื่มก็ไม่ใช่เพื่อการดับกระหายเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการสะท้อนตัวตนของตนเองลงไปในการซื้อน้ำดื่มด้วยเพื่อเป็นการบอกว่าเขาเป็นใคร ชอบอะไรมีไลฟ์สไตล์และรสนิยม
แบบไหนนั่นจึงเป็นสาเหตุให้คนไม่สนใจการดื่มน้ำประปาแต่หันมาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดแทน
มกร เชาว์วาณิช
CEO นักออกแบบ บริษัท Cerebrum Design

 

สปริงเคิลได้ประสานเอากลยุทธ์ทางการตลาดผนวกรวมเข้ากับหลักการออกแบบจนได้หลักการใหม่ที่เรียกว่า “การออกแบบที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง” หรือ User-Centered Design ซึ่งจะเห็นว่าทางสปริงเคิลเป็นแบรนด์น้ำดื่มแต่ไม่ได้มุ่งเน้นแต่เรื่องการผลิตน้ำดื่มอย่างเดียวแน่นอนอยู่แล้วว่าน้ำดื่มเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มนุษย์ต้องการใคร ๆ ก็ต้องดื่มน้ำแต่คำถามก็มีอยู่ว่า “ทำไมต้องสปริงเคิล” น้ำดื่มแบรนด์อื่นยี่ห้ออื่นได้ไหม นั่นจึงทำให้ทางสปริงเคิลลุกขึ้นมาปฏิวัติตนเองจากเรื่องของน้ำดื่มธรรมกลายมาเป็น “น้ำดื่มที่เข้ากับวิถีชีวิตคนเมือง” จากการมุ่งแต่เรื่องของการผลิตน้ำดื่มก็หันมาทำงานร่วมกับนักออกแบบซึ่ง 2 ส่วนดูแล้วก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลยแต่การผสานไอเดียในการผลิตน้ำดื่มคุณภาพให้เข้ากับการออกแบบใหม่ที่สะท้อนตัวตนของคนในยุคปัจจุบันออกมากลับกลายมาเป็นไอเดียสร้างสรรค์ที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าได้อย่างน่าประหลาดทีเดียวการเชื่อมประสานไอเดียที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องนี้เข้าด้วยกันจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่มีบริษัทและองค์กรใหญ่ ๆ นำมาใช้กันมากมายแล้วยกตัวอย่างเช่นทวิตเตอร์ก็ขับเคลื่อนธุรกิจของพวกเขาด้วยการเชื่อมประสานไอเดียแบบนี้เช่นกันทางทวิตเตอร์จะมีนโยบายการจ้างพนักงานที่มีทักษะแปลก ๆ อยู่เสมอเพราะพวกเขารู้ดีว่าความคิดที่หลากหลายจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างแน่นอน

เอลิซาเบธ วีล หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมองต์กรของทวิตเตอร์กล่าวว่า “ถ้าคุณสุ่มตัวอย่างพนักงานของเราคุณจะต้องแปลกใจว่าพนักงานของเรามีทั้งร็อคสตาร์แชมป์รูบิคนักปั่นจักรยานระดับโลก

“การหาไอเดียดี ๆ มาพัฒนาสินค้าไม่ใช่การลงทุนอะไรที่ใหญ่โตเลย”
เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์
เจ้าพ่อธุรกิจแฟชั่น เจ้าของกลุ่มธุรกิจ LVMH

หรือแม้กระทั่งนักขว้างบอลมืออาชีพ” ไอเดียการรับพนักงานแบบนี้อาจจะดูแปลกมองดูเผิน ๆ มันก็ดูเสี่ยงไม่น้อยแต่ทางทวิตเตอร์กลับมองว่าไหวพริบทักษะความชำนาญที่แตกต่างกันไปเหล่านี้มีประโยชน์อย่างน่าทึ่งกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรอย่างไม่น่าเชื่อซึ่งความหลากหลายนี้คือสังคมและวิถีชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นเรารู้เราสัมผัสกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นไลฟ์สไตล์ของใครบางคนไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำแต่หลายบริษัทหลายองค์กรธุรกิจกับมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรืองานของบริษัทแต่ความคิดแบบนั้นไม่ใช่กับแบรนด์น้ำดื่ม “สปริงเคิล” จึงทำให้เราเห็นขวดน้ำดื่มแบบเดิม ๆ ที่เห็นจนชินตาในภาพลักษณ์ใหม่ตำแหน่งโลโก้ที่เปลี่ยนไปสีและตัวอักษรให้เรียบง่ายทันสมัยพร้อมเพิ่มผิวสัมผัสที่ซับซ้อนหรูหราจนบางทีเรารู้สึกว่า “นี่ไม่ใช่ขวดน้ำดื่ม แต่เป็นขวดน้ำหอม !!” จุดที่น่าสังเกตก็คือการผสานไอเดียใหม่ ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ไม่ได้ทำให้คุณภาพของสินค้าด้อยหรือบกพร่องลงไปเลยเป้าหมายทุกอย่างยังคงชัดเจนและเหมือนเดิมทุกประการแต่เพิ่มความอลังการให้กับของเดิมมากยิ่งขึ้นจากความทุ่มเทและไอเดียที่สร้างสรรค์ตรงนี้ทำให้สปริงเคิลสามารถคว้ารางวัล “Best of the Best Packaging Design 2014” มาครองได้อย่างน่าภาคภูมิและในปี 2017 นี้สปริงเคิลยังเตรียมความแปลกใหม่มาเปิดตัวอีกด้วยผ่านแคมเปญ “The Journey of Living an Inspired Life” แคมเปญดี ๆ ที่จะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และสามารถส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคได้ดื่มด่ำและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านการผลิตขวดน้ำดื่มรุ่นลิมิเต็ดที่มีความหรูหราไม่ธรรมดาอีกด้วยนี่ล่ะไอเดียใส ๆ สไตล์สปริงเคิลเขาล่ะ

อุปสรรคและความท้าทาย

ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้มีคู่แข่งมากมายทุกแบรนด์ต่างแข่งกันผลิตสินค้าออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเหมือน ๆ กันทั้งสิ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาแล้วว่าทำอย่างไรถึงจะสร้างความแตกต่างและสามารถได้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากขึ้นหรือแม้กระทั่งก้าวกระโดดขึ้นไปเป็นผู้นำในตลาดสินค้าประเภทของตนเอง

แนวทางการแก้ไข

  • หาไอเดียใหม่ ๆ จากการระดมความคิดที่หลากหลายซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าก็ได้แล้วนำไอเดียที่ได้ไปพัฒนาสินค้า
  • พัฒนาสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิตของคนเมืองหรือนำไอเดียง่าย ๆ มาสร้างเทรนด์กระแสใหม่ผ่านสินค้าตัวเดิมเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่สร้างความเข้าใจใหม่ให้กับผู้บริโภคซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่าง

Passion in this story