น้ำดื่มในขวดน้ำหอม – ไอเดียใส ๆ สไตล์สปริงเคิล

4 / 5 ( 1 vote )

สปริงเคิลรู้ว่าผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการอะไร

เชื่อว่าแทบทุกคนเคยดื่มน้ำดื่มของแบรนด์ “สปริงเคิล” แบรนด์น้ำดื่มที่เราคุ้นเคยกันดีและเป็นแบรนด์ที่กล้าการันตีคุณภาพที่สุดแบรนด์หนึ่งแน่นอนอยู่แล้วเรื่องคุณภาพที่เราสัมผัสกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแต่สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ “ไอเดีย” ที่ก้าวทัน “เทรนด์” การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าคุณต้องการทราบว่า “ไลฟ์สไตล์” ของสปริงเคิลซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองอยู่เสมอซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้หลักการออกแบบที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางใช้ความใสของน้ำและขวดน้ำมาสะท้อนวิถีชีวิตของคนเมืองในแต่ละยุคสมัยได้อย่างลงตัวนับว่านี่เป็นการต่อยอดจากไอเดียและสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่เดิมนำไปสู่กลยุทธ์การตลาดที่จะสามารถตอบคนยุคนี้เป็นอย่างไรคุณสามารถวัดได้จากการออกแบบขวดน้ำของสปริงเคิลโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

ประสานไอเดียให้เข้ากับวิถีชีวิต

เทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่มักเป็นความต้องการที่แตกต่างหลากหลายไม่ได้ต้องการทำสิ่งนั้นเพื่อสิ่งนั้นโดยตรงเสมอไปอย่าง
การซื้อน้ำดื่มก็ไม่ใช่เพื่อการดับกระหายเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการสะท้อนตัวตนของตนเองลงไปในการซื้อน้ำดื่มด้วยเพื่อเป็นการบอกว่าเขาเป็นใคร ชอบอะไรมีไลฟ์สไตล์และรสนิยม
แบบไหนนั่นจึงเป็นสาเหตุให้คนไม่สนใจการดื่มน้ำประปาแต่หันมาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดแทน
มกร เชาว์วาณิช
CEO นักออกแบบ บริษัท Cerebrum Design

 

สปริงเคิลได้ประสานเอากลยุทธ์ทางการตลาดผนวกรวมเข้ากับหลักการออกแบบจนได้หลักการใหม่ที่เรียกว่า “การออกแบบที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง” หรือ User-Centered Design ซึ่งจะเห็นว่าทางสปริงเคิลเป็นแบรนด์น้ำดื่มแต่ไม่ได้มุ่งเน้นแต่เรื่องการผลิตน้ำดื่มอย่างเดียวแน่นอนอยู่แล้วว่าน้ำดื่มเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มนุษย์ต้องการใคร ๆ ก็ต้องดื่มน้ำแต่คำถามก็มีอยู่ว่า “ทำไมต้องสปริงเคิล” น้ำดื่มแบรนด์อื่นยี่ห้ออื่นได้ไหม นั่นจึงทำให้ทางสปริงเคิลลุกขึ้นมาปฏิวัติตนเองจากเรื่องของน้ำดื่มธรรมกลายมาเป็น “น้ำดื่มที่เข้ากับวิถีชีวิตคนเมือง” จากการมุ่งแต่เรื่องของการผลิตน้ำดื่มก็หันมาทำงานร่วมกับนักออกแบบซึ่ง 2 ส่วนดูแล้วก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันเลยแต่การผสานไอเดียในการผลิตน้ำดื่มคุณภาพให้เข้ากับการออกแบบใหม่ที่สะท้อนตัวตนของคนในยุคปัจจุบันออกมากลับกลายมาเป็นไอเดียสร้างสรรค์ที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าได้อย่างน่าประหลาดทีเดียวการเชื่อมประสานไอเดียที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องนี้เข้าด้วยกันจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่มีบริษัทและองค์กรใหญ่ ๆ นำมาใช้กันมากมายแล้วยกตัวอย่างเช่นทวิตเตอร์ก็ขับเคลื่อนธุรกิจของพวกเขาด้วยการเชื่อมประสานไอเดียแบบนี้เช่นกันทางทวิตเตอร์จะมีนโยบายการจ้างพนักงานที่มีทักษะแปลก ๆ อยู่เสมอเพราะพวกเขารู้ดีว่าความคิดที่หลากหลายจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างแน่นอน

เอลิซาเบธ วีล หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมองต์กรของทวิตเตอร์กล่าวว่า “ถ้าคุณสุ่มตัวอย่างพนักงานของเราคุณจะต้องแปลกใจว่าพนักงานของเรามีทั้งร็อคสตาร์แชมป์รูบิคนักปั่นจักรยานระดับโลก

“การหาไอเดียดี ๆ มาพัฒนาสินค้าไม่ใช่การลงทุนอะไรที่ใหญ่โตเลย”
เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์
เจ้าพ่อธุรกิจแฟชั่น เจ้าของกลุ่มธุรกิจ LVMH

หรือแม้กระทั่งนักขว้างบอลมืออาชีพ” ไอเดียการรับพนักงานแบบนี้อาจจะดูแปลกมองดูเผิน ๆ มันก็ดูเสี่ยงไม่น้อยแต่ทางทวิตเตอร์กลับมองว่าไหวพริบทักษะความชำนาญที่แตกต่างกันไปเหล่านี้มีประโยชน์อย่างน่าทึ่งกับผลิตภัณฑ์ขององค์กรอย่างไม่น่าเชื่อซึ่งความหลากหลายนี้คือสังคมและวิถีชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นเรารู้เราสัมผัสกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเป็นไลฟ์สไตล์ของใครบางคนไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำแต่หลายบริษัทหลายองค์กรธุรกิจกับมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรืองานของบริษัทแต่ความคิดแบบนั้นไม่ใช่กับแบรนด์น้ำดื่ม “สปริงเคิล” จึงทำให้เราเห็นขวดน้ำดื่มแบบเดิม ๆ ที่เห็นจนชินตาในภาพลักษณ์ใหม่ตำแหน่งโลโก้ที่เปลี่ยนไปสีและตัวอักษรให้เรียบง่ายทันสมัยพร้อมเพิ่มผิวสัมผัสที่ซับซ้อนหรูหราจนบางทีเรารู้สึกว่า “นี่ไม่ใช่ขวดน้ำดื่ม แต่เป็นขวดน้ำหอม !!” จุดที่น่าสังเกตก็คือการผสานไอเดียใหม่ ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ไม่ได้ทำให้คุณภาพของสินค้าด้อยหรือบกพร่องลงไปเลยเป้าหมายทุกอย่างยังคงชัดเจนและเหมือนเดิมทุกประการแต่เพิ่มความอลังการให้กับของเดิมมากยิ่งขึ้นจากความทุ่มเทและไอเดียที่สร้างสรรค์ตรงนี้ทำให้สปริงเคิลสามารถคว้ารางวัล “Best of the Best Packaging Design 2014” มาครองได้อย่างน่าภาคภูมิและในปี 2017 นี้สปริงเคิลยังเตรียมความแปลกใหม่มาเปิดตัวอีกด้วยผ่านแคมเปญ “The Journey of Living an Inspired Life” แคมเปญดี ๆ ที่จะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และสามารถส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคได้ดื่มด่ำและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านการผลิตขวดน้ำดื่มรุ่นลิมิเต็ดที่มีความหรูหราไม่ธรรมดาอีกด้วยนี่ล่ะไอเดียใส ๆ สไตล์สปริงเคิลเขาล่ะ

อุปสรรคและความท้าทาย

ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้มีคู่แข่งมากมายทุกแบรนด์ต่างแข่งกันผลิตสินค้าออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเหมือน ๆ กันทั้งสิ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาแล้วว่าทำอย่างไรถึงจะสร้างความแตกต่างและสามารถได้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากขึ้นหรือแม้กระทั่งก้าวกระโดดขึ้นไปเป็นผู้นำในตลาดสินค้าประเภทของตนเอง

แนวทางการแก้ไข

  • หาไอเดียใหม่ ๆ จากการระดมความคิดที่หลากหลายซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าก็ได้แล้วนำไอเดียที่ได้ไปพัฒนาสินค้า
  • พัฒนาสินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิตของคนเมืองหรือนำไอเดียง่าย ๆ มาสร้างเทรนด์กระแสใหม่ผ่านสินค้าตัวเดิมเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่สร้างความเข้าใจใหม่ให้กับผู้บริโภคซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่าง
Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.