ความคิดสร้างสรรค์ – นิยามของคำว่านวัตกรรม

4.2 / 5 ( 6 votes )

การก้าวเข้าสู่ AEC อย่างเต็มตัวของประเทศไทยแม้ดูในภายนอกในเรื่องโครงสร้างต่าง ๆ จะดูไม่ออกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรแต่ในหัวใจลึก ๆ ของเรื่องการทำธุรกิจแล้วมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเรื่องของสินค้าบริการและแรงงานฝีมือเกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทนำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจตั้งแต่ภาพใหญ่จนถึงภาพเล็กรายย่อยซึ่งนั่นทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นเมื่อภาครัฐได้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจให้ภาคธุรกิจทั้งหมดปรับตัวก้าวเข้าสู่ยุคนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 ธุรกิจที่จะเริ่มต้นใหม่หรือจะดำเนินต่อไปภายใต้การแข่งขันที่สูงนี้จึงต้องขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ

“ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 ด้านธุรกิจส่งออกปรับดีขึ้นและกระจายในหลายสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอาหารและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและมาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 นี้ก็คาดการณ์ว่าสินค้าในกลุ่มนี้ก็คงจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดีอยู่และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอีกด้วยซึ่งเห็นได้จาก Order สั่งซื้อสินค้าจากทางยุโรปญี่ปุ่นและเกาหลีใต้” ธนาคารแห่งประเทศไทย

เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันขอให้คุณรู้ไว้ว่า ณ ตอนนี้ตลาดกำลังต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนโลกจากรายงานของทางแบงก์ชาติชี้ให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่เพราะแนวโน้มผู้บริโภคยุคปัจจุบันต้องการอะไรที่ง่าย ๆ สบาย ๆ และมีความรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิมตามกระแสโลกแต่ก็อย่างที่เห็นแล้วว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ปัจจุบันก็มีมากมายและมีการแข่งขันที่สูงขึ้นนั่นจึงนำไปสู่คำถามสำคัญว่าทำอย่างไรถึงจะแข่งขันได้คำถามนี้ก็มีคำตอบอยู่ในตัวเองอยู่แล้วคือการหาแนวคิดใหม่ต้องพยายามสร้างสิ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่เป็นสิ่งที่โลกยังไม่มีและนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเรื่องของเทคโนโลยีเสมอไปก็ได้อาจเป็นสินค้าหรือบริการที่สร้างเทรนด์ใหม่ในการใช้ชีวิตให้กับผู้คนซึ่งถ้าคุณทำได้คุณก็จะกลายเป็นผู้นำสำคัญในวงการธุรกิจยุคใหม่ได้ไม่ยาก

นวัตกรรมเกิดจากความคิดสร้างสรรค์

“ผมเชื่อในนวัตกรรมและหนทางที่จะได้นวัตกรรมนั้นก็ได้มาจากการศึกษาเรื่องพื้น ๆ ที่คิดว่าไม่สำคัญ”
บิล เกตส์

การทำธุรกิจนั้นตามจริงแล้วก็ไม่แตกต่างอะไรกับการใช้ชีวิตตอนเด็ก ๆ เรามักจะมีฝันมีจินตนาการแตกออกไปเรื่อย ๆ ไม่ซ้ำกันสักวันแต่พอโตขึ้นความคิดความฝันจินตนาการเหล่านั้นก็จะหยุดพัฒนาลงไปตามการเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิตการทำธุรกิจก็เป็นเช่นนั้นเมื่อเติบโตขึ้นก็จะเริ่มจำกัดความคิดสร้างสรรค์เปลี่ยนมาคอยกำกับดูแลกระบวนการทำงานและการผลิตตลอดจนเน้นหนักให้ทำตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมจนบางทีลืมเรื่องของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไปเสียซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากและถือว่าเป็นสิ่งผิดพลาดมากในการทำธุรกิจในยุคนวัตกรรม 4.0 นี้ เรื่องของการหาไอเดียร์ใหม่ ๆ และเรื่องของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นี้ในต่างประเทศให้ความสำคัญกันมากเพราะเขาคิดว่ามันมีผลต่อทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจยันไปถึงเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน

กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของอเมริกาได้มีการเปิดหลักสูตรสอนเรื่องของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กันอย่างจริงจังด้วยอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนวิชานี้ได้แนะนำวิธีการค้นหาและปลุกระดมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นมาได้อย่างง่าย ๆ โดยในช่วงเปิดภาคเรียนอาจารย์ท่านนี้เสนอให้นักศึกษาออกแบบป้ายชื่อใหม่ซึ่งอาจารย์บอกกับนักศึกษาว่าไม่ชอบป้ายชื่อที่มหาวิทยาลัยออกแบบมาให้นักศึกษาใช้นี่เลยจึงต้องการไอเดียร์ของนักศึกษามาช่วยกันออกแบบใหม่ 15 นาทีหลังจากนั้นนักศึกษาก็ทั้งชั้นก็ออกแบบป้ายชื่อใหม่ใส่กระดาษลงสีสันสวยงามแล้วนำมาส่งให้อาจารย์แต่อาจารย์คนนี้กลับเอาผลงานของนักศึกษาขยำทิ้งอย่างไม่ใยดี

นักศึกษาทั้งหมดถึงกับอ้าปากค้างคิดว่าอาจารย์คงจะบ้าไปแล้วแต่ไม่ใช่เช่นนั้นอาจารย์หันกลับไปถามนักศึกษาโดยประเด็นน่าคิดกว่าเรื่องพฤติกรรมที่เพิ่งทำไปนั้นว่า “ทำไมเราต้องมีป้ายชื่อ” แน่นอนคำถามมันก็รู้ ๆ กันอยู่แล้วนักศึกษาต่างวิพากษ์วิจารณ์กันแซดติดป้ายชื่อก็เพราะต้องการให้คนอื่นเห็นชื่อน่ะสิจากคำถามง่าย ๆ แต่พยายามกระตุ้นขอคำตอบที่มากขึ้นหลากหลายขึ้นสักพักเดียวนักศึกษาในห้องนั้นก็เริ่มตระหนักได้ว่าปกติพวกเขาไม่ได้สนใจถึงประเด็นอันดูเหมือนจะไร้สาระตรงจุดนี้เลยแต่แล้วเข้าก็เพิ่งจะรู้สึกว่ามันเป็นปัญหาที่แยบยลน่าคิดไม่น้อยเพราะป้ายชื่อไม่ได้มีไว้เพื่อต้องการให้คนอื่นเห็นชื่อแต่สิ่งเล็ก ๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงให้คนที่ไม่รู้จักกันสามารถทำความรู้จักกันได้ง่ายขึ้นคนรู้ชื่อกันก็กล้าที่จะพูดคุยกันแม้จะไม่ได้สนิทเพราะต่างฝ่ายต่างรู้ข้อมูลของกันและกันบ้างหากเจอกันอีกครั้งแต่ลืมชื่อการเห็นป้ายชื่ออีกครั้งทำให้คู่สนทนาทั้ง 2 ไม่กระดากหรือเขินอายนักศึกษาเริ่มเห็นคุณค่าและบทบาทความสำคัญของป้ายชื่อมากขึ้นมันจึงนำไปสู่ประเด็นน่าคิดต่อมาว่า

“เพราะป้ายชื่อไม่ได้มีไว้เพื่อต้องการให้คนอื่นเห็นชื่อแต่สิ่งเล็ก ๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยเชื่อมโยงให้คนที่ไม่รู้จักกันสามารถทำความรู้จักกันได้ง่ายขึ้น

คราวนี้จึงเกิดการแบ่งทีมระดมความคิดพยายามหาไอเดียร์ที่แปลกใหม่ออกไปเวลาต่อมานักศึกษาทีมหนึ่งก็สร้างนวัตกรรมใหม่แห่งป้ายชื่อนักศึกษาทีมนี้ทลายข้อจำกัดเรื่องขนาดของป้ายชื่อออกไปเปลี่ยนป้ายชื่อจากขนาดเล็กให้กลายเป็นเสื้อยืดที่มีลวดลายเป็นข้อมูลของผู้สวมใส่มีทั้งรูปมีทั้งข้อความเมืองที่เคยอยู่กีฬาที่เล่นดนตรีที่ชอบส่วนอีกทีมก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในมุมที่ต่างออกไปออกแบบริบบิ้นผูกข้อมือหลากสีขึ้นมาซึ่งสีที่แตกต่างกันไปนั่นเป็นสื่อแทนอารมณ์ต่าง ๆ ของผู้สวมใส่อย่างสีเขียวคือกำลังร่าเริงสีน้ำเงินกำลังเศร้าโดยแนวคิดของทีมนี้มองว่าเราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าอีกฝ่ายมีความรู้สึกอย่างไรความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจึงจะมีความหมายซึ่งมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งดีกว่าการรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายจะเห็นว่าจะการจุดประเด็นง่าย ๆ ของอาจารย์คนหนึ่งทำให้นักศึกษาสามารถขยายขอบเขตของป้ายชื่อออกไปได้ไกลมากกว่าเดิมหลายเท่าทีเดียวสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องในห้องเรียนแต่สิ่งเหล่านี้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในธุรกิจของคุณได้ไม่แน่นะนวัตกรรมเปลี่ยนโลกชนิดต่อไปอาจมาจากความคิดและฝีมือของคุณก็ได้

อุปสรรคและความท้าทาย

โลกต้องการนวัตกรรมและสิ่งใหม่ ๆ มาตอบสนองความต้องการอยู่ตลอดเวลาหากผู้ประกอบการสามารถหาไอเดียใหม่และสร้างสรรค์ออกมาจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่โลกต้องการได้ผู้ประกอบการนั้นก็จะประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำในโลกธุรกิจยุคใหม่อย่างสดใสทันทีแต่อุปสรรคก็อยู่ที่ว่าทำอย่างไรถึงจะบังเกิดไอเดียหรือความคิดสรรค์ดี ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค

แนวทางแก้ไขปัญหา

  • ลองมองไปรอบ ๆ บริษัทที่ทำงานโรงงานห้องทำงานหรือแม้กระทั่งสวนหลังบ้านของคุณดูแล้วลองตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆเหล่านั้นเพราะไม่แน่ว่าสิ่งง่าย ๆ ที่คิดไม่ถึงเหล่านั้นอาจเป็นจุดก่อกำเนิดไอเดียใหม่ ๆ จนนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ก็ได้
  • ระดมความคิดจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งเพื่อนร่วมงานลูกน้องและหมั่นคอยกระตุ้นความคิดของพวกเขาสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการคิดและคุณต้องคอยเปิดรับความคิดเหล่านั้นด้วย
Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.