ทุกวันนี้เราอาจจะได้ยินคำว่า Startup วันละหลาย ๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นนโยบายการสนับสนุนให้เงินทุนจากรัฐบาล จากนโยบายการลงทุนของสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศแต่จริง ๆแล้วธุรกิจ Startup คืออะไรและมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่ว ๆ ไปอย่างไร

ธุรกิจ Startup กับมุมมองที่แตกต่าง

ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจแล้ว Startup คือการลดความเสี่ยงของการลงทุนโดยการทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ วางแผนการเงินแล้วจัดทำแผนธุรกิจเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับนักลงทุนและนำหุ้นของบริษัทตัวเองไปเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินลงทุน

ซึ่งในส่วนนี้เองหลาย ๆ คนต่างให้นิยามของ Startup ในมุมมองที่แตกต่างกันไปหากมองในมุมมองของนักลงทุน Startup คือการลงทุนที่คาดหวังกับผลตอบแทนแบบก้าวกระโดดแต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นการทำธุรกิจแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดปัจจุบัน โดยเป็นการลงทุนที่มุ่งหวังให้ธุรกิจนั้นเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อตั้งเป้าที่จะให้เกิดผลตอบแทนแบบทวีคูณจากการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือขายบริษัทให้กับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในการขยายธุรกิจเช่นกรณีของการขาย Lazada ของกลุ่ม Rocket Internet ให้กับ Alibaba เพื่อขยายตลาดเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นต้นแต่ในมุมมองของเจ้าของธุรกิจแล้ว Startup คือการลดความเสี่ยงของการลงทุนทำธุรกิจโดยการทำการศึกษาตลาดหาช่องว่างทางการตลาดหรือโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ในตลาดที่ตนสนใจทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการวางแผนการเงินแล้วจัดทำแผนธุรกิจเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับนักลงทุนและเสนอหุ้นของบริษัทตัวเองไปเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินลงทุนจากนักลงทุนหรือผู้บริหารกองทุนต่าง ๆ และนำมาลงทุนเพื่อขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอผลประกอบการและกำไรจากการทำธุรกิจในช่วงแรกซึ่งหากธุรกิจเป็นไปตามที่วางแผนก็จะได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นกอบเป็นกำจากการขายบริษัทแต่หากไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ความเสี่ยงก็มาตกอยู่ที่นักลงทุนส่วนเจ้าของกิจการก็ไม่ต้องมานั่งกลุ้มใจหาทางใช้หนี้หรือจ่ายดอกเบี้ยธนาคารแต่แน่นอนว่าเงื่อนไขในการให้เงินลงทุนของนักลงทุนเองก็ไม่ได้ง่ายนักหากไม่มีความน่าเชื่อถือหรือธุรกิจดูท่าจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ก็อาจจะชะลอการลงทุนหรือหยุดให้การลงทุนไปเลย

แนะนำบทความน่าอ่าน

แก้ปัญหาเพิ่มทางเลือกคือ DNA ของ Startup

สิ่งหนึ่งในความสามารถที่เหมือนกันของเจ้าของธุรกิจ Startup เหล่านี้คือการมองเห็นช่องว่างในตลาดและคาดหวังที่จะพัฒนาวิธีการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ พยายามแก้ข้อเสียและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ให้ดีขึ้นซึ่งตัวอย่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ก็คือ Uber ซึ่งพยายามแก้ปัญหาในการเดินทางหรือเรียกรถโดยสารสาธารณะและนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภคมากขึ้นแต่แน่นอนว่าการพยายามแทรกช่องว่างในการบริการด้วยเงินลงทุนมหาศาลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจกับเจ้าของธุรกิจเดิมหรือก็คือคนขับแท็กซี่รับจ้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง

อันที่จริงแล้วกรณีของ Startup นั้นไม่ได้มีแค่ธุรกิจที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่เท่านั้นหากเรามองธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบของ Startup แล้ว 7-Eleven ก็ถือว่าเป็นต้นแบบของการนำเอาแนวความคิดในรูปแบบ Startup มาปรับใช้ได้อย่างดีเยี่ยมซึ่งในช่วงเวลากว่าสามสิบปีที่แล้ว คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ทำการปฏิวัติอุตสาหกรรมค้าปลีกโดยตั้งเป้าที่จะกระจายสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีคุณภาพและมีความหลากหลายให้เข้าสู่ชุมชนมากขึ้นในราคาที่เป็นมาตรฐานและให้บริการด้วยความรวดเร็วและมีมาตรฐานภายในร้านที่เป็นระเบียบสะอาดสะอ้านโดยถ่ายทอดแนวความคิดสู่ผู้บริหารยุคใหม่ให้มีการพัฒนาวิธีการทำธุรกิจและปรับปรุงการให้บริการต่างๆอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมงการให้บริการจ่ายค่าน้ำค่าไฟหรือแม้กระทั่งการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทานซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากธุรกิจค้าปลีกตามชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคมาใช้บริการของ 7-Eleven กันมากขึ้นจนทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากผู้ให้บริการท้องถิ่นกลายเป็นมุมมองของการผูกขาดตลาดไป

ธนินท์ เจียรวนนท์
ธนินท์ เจียรวนนท์ กับวิสัยทัศน์ค้าปลีกยุคใหม่ ผู้บุกเบิก 7-Eleven ในประเทศไทย
“ปัญหานี้ทำให้ผมตระหนักว่า หากต้องการจะแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าและบริหารธุรกิจอาหารแบบครบวงจรให้สำเร็จนั้น จำเป็นต้องลงไปให้ถึงช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจค้าปลีกรายย่อยด้วย”
ธนินท์ เจียรวนนท์
วิสัยทัศน์ก่อนจะเปิด 7-Eleven สาขาแรกที่ถนนพัฒน์พงศ์

หากมองในมุมมองของการทำธุรกิจแล้วการขยายตลาดอย่างรวดเร็วของ 7-Eleven นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจโดยการแข่งขันของภาคธุรกิจเองย่อมเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนทั่วไปให้ได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้นหากไม่มีการแข่งขันตลาดก็จะดำเนินไปอย่างช้า ๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในการบริการใหม่ ๆออกมาและในอันที่จริงแล้วการผูกขาดทางธุรกิจนั้นแทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เนื่องจากถือเป็นสิทธิ์ของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเนื่องจาก 7-Eleven เองก็ไม่ได้ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภคหากไม่เช่นนั้นแล้วเราคงไม่ได้มีโอกาสเห็นรูปแบบการค้าปลีกอื่น ๆ หรือร้านสะดวกซื้อแบรนด์อื่นๆออกมาให้เห็นไม่ว่าจะเป็น Lotus Express, Mini Big C, Family Mart, Lawson 108 หรือ JC mart หรือร้านสะดวกซื้อที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคแบบเฉพาะกลุ่มเช่นกลุ่มคนรักสุขภาพสินค้าออร์แกนิคอย่างเช่นร้านริมปิง, Lemon Farm หรือร้านใบเมี่ยงซึ่งพยายามสร้างความแตกต่างเน้นจุดยืนที่แตกต่างตอบโจทย์ผู้บริโภคในกลุ่มที่หลากหลายด้วยบริการและสินค้าที่แตกต่างกันไปหรือแม้กระทั่งตัวอย่างผู้ค้าปลีกท้องถิ่นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นร้านเครื่องเขียนสมใจหรือร้านท้องถิ่นดั้งเดิมชื่อดังอย่างร้านจีฉ่อยก็นับว่าเป็นตัวอย่างให้ศึกษาได้อย่างดีและอาจขยายธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นและอาจเกิดเป็นรูปแบบใหม่นั่นเอง

อุปสรรคและความท้าทาย

การมองหาช่องว่างเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจนั้นแม้จะเป็นเรื่องทั่วไปที่ทุก ๆ ธุรกิจต่างก็ดำเนินการแต่การได้มาซึ่งโอกาสที่เปลี่ยนเป็นธุรกิจได้จริงนั้นเป็นเรื่องท้าทายนักธรุกิจ Startup เป็นอย่างยิ่งแต่หากการเริ่มต้นธุรกิจเกิดจาก Passion และประสบการณ์ของทีมผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

  • เริ่มธุรกิจที่ต้นเองมี Passion ในเรื่องนั้น
  • มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนวัดผลได้จริง
  • มีทีมงานที่เห็นด้วยในแนวทางเดียวกัน
  • มีผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะนำ

ทั้งนี้และทั้งนั้นหัวใจของการค้าปลีกนั้นไม่ได้มีความสำคัญอยู่แค่ต้นทุนทำเลที่ตั้ง สินค้า หรือการบริการเท่านั้นหากร้านค้าท้องถิ่นหรือชุมชนศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและคู่แข่งเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนสร้างมาตรฐานการบริการที่ดีสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองได้และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแล้วย่อมจะสามารถอยู่รอดและก่อให้เกิดธุรกิจที่ยั่งยืนได้แน่นอน

Passion in this story