Categories: INSPIRENewsPassion

ประเทศไทย 4.0 คิดแบบผู้นำยุคแห่งนวัตกรรม

4.1 / 5 ( 34 votes )

ผมรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่รัฐบาลไทยเข้าใจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้นำมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถนำพาประเทศเข้าสู่ยุค 4.0 ได้หากสามารถทำได้จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ก็ถือว่าไม่ช้าจนเกินไปเพราะประเทศไทยยังอยู่ในเส้นทางการแข่งขันยังไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบและประเทศไทยเองสามารถนำคนเก่งจากต่างประเทศเข้ามาช่วยขับเคลื่อนได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายและนโยบายของประเทศว่าจะเอื้อประโยชน์มากน้อยเพียงไร

จากสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรม

สิ่งที่เราต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก็คือก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวมาสู่ยุค 4.0 นั้นเราเริ่มต้นมาจากยุค 1.0 คือเป็นสังคมเกษตรกรรมเน้นผลิตและขายวัตถุดิบเกษตรทั่วไปหลังจากมีเริ่มต้นพัฒนาภาคเกษตรกรรมต่อมาจึงค่อยปรับมาสู่ยุค 2.0 เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมเบาที่มุ่งเน้นแรงงานราคาถูกเช่น สิ่งทอ อาหาร ต่อมาก็เป็นไทยแลนด์ 3.0 มุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักและเรื่องของการส่งออกซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยใน 3 ยุคแรกนั้นไทยมีการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเฉลี่ยถึง 7% ต่อปีแต่มาถึงจุดหนึ่งหลังปี 2540 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมาเป็น 3-4% ต่อปีที่เป็นเช่นนั้นเพราะไทยไม่เคยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจังมาก่อนและไม่เคยมีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองแรงงานไม่ได้มีทักษะจนกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาส

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ก็คือเรายังติดอยู่กับยุค 3.0 คือยังมีความคิดแบบ “ทำมากได้น้อย” อยู่แต่ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วเมื่อเราก้าวสู่ 4.0 เราจะต้องเน้น “ทำน้อยได้มาก” เปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ธรรมดาให้กลายมาเป็นสินค้าแบบนวัตกรรมคือเปลี่ยนเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องมีแผนธุรกิจใหม่ต้องหันมาสนใจเรื่องเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะหุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยควบคุมการผลิตคือต้องรู้และเข้าใจหลักการในการบริหารการพัฒนาผลิตผลให้มีปริมาณที่มากและมีคุณภาพดีไปพร้อม ๆ กันอย่างนี้เป็นต้นโดยภาครัฐจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการวิจัยและพัฒนาตรงส่วนนี้ด้วย

แนวคิดผู้นำ “วิกฤติก็คือบริษัทที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไม่ทันท้ายสุดก็อาจต้องล้มละลายไปแต่ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสมากกว่าวิกฤติ” ธนินท์ เจียรวนนท์

Inclusive Growth Engine ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์

“การเปลี่ยนแปลงของโลกยุค 4.0 มีทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกันวิกฤติก็คือบริษัทที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไม่ทันท้ายสุดก็อาจต้องล้มละลายไปแต่ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสมากกว่าวิกฤติ”
ธนินท์ เจียรวนนท์

เป็นการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนโดยภาครัฐจะให้การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมส่งเสริมและสนับสนุนให้ SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูงสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกได้อย่างมั่นใจโดยจะพยายามผลักดันให้กลุ่ม Startups รุ่นใหม่งัดเอาความรอบรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นเทรนด์กระแสโลกออกมาใช้เขียนแผนธุรกิจควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ๆ ที่สอดคล้องซึ่งจะนำไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่อันทรงคุณค่าที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งเรามีโอกาสที่จะได้เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) E–Marketplace และอื่น ๆ อีกมากมายจากการส่งเสริมของภาครัฐในส่วนนี้ซึ่งภาครัฐก็ประกาศตัวแล้วว่าสนับสนุนเต็มที่แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ก็เตรียมหการสนับสนุน Startups ไอเดียเลิศกันอยู่แบบนี้สิถึงเรียกว่า “ฝันมีโอกาสเป็นจริง”

แนะนำบทความน่าอ่าน

Green Growth Engine การเน้นภาคบริการมากขึ้น

การสร้างความมั่งคั่งของไทยในอนาคตข้างหน้านี้จะไม่เน้นเรื่องของการผลิตอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างเดียวในคณะที่มีการผลิตก็จะหันกลับมาสนใจการบริหารการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติไปด้วยอีกทั้งยังหันมามุ่งเน้นเรื่องของ High Value Services มากขึ้นด้วยทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จะต้องใส่ลงไปในแผนธุรกิจอีกด้วยเป็นการเปลี่ยนจากการผลิตสูงแบบไม่ลืมหูลืมตาไม่สนใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องบริการคือยังยืดรูปแบบ Traditional Services ซึ่งเป็นการบริการที่ไม่ดีและมีมูลค่าต่ำมาสู่การสนใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติพร้อมกับยกระดับการบริการมูลค่าสูงควบคู่ซึ่งตรงนี้ทางภาครัฐจะมุ่งเน้นศึกษาและให้ความสำคัญกับเรื่องของพลังงานทดแทนควบคู่ไปกับการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญในงานและต้องเข้าใจถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในงานที่ทำด้วยเมื่อภาครัฐมองเห็นความสำคัญกันขนาดนี้ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นไปได้ไม่ใช่เรื่องฝันอีกต่อไป

แนวทางการเขียนแผนธุรกิจเพื่อปรับตัวสู่การเป็นผู้ประกอบการในยุค 4.0

Trade

  • ให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอลมากขึ้น
  • มองตลาดที่กว้างขึ้นก้าวไปสู่การค้าขายแบบไร้พรมแดน (Borderless)
  • หันมาทำตลาดที่เกี่ยวข้างกับเรื่องอารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคให้มากขึ้น
  • รักษามาตรฐานของสินค้าและบริการไว้ให้ดีที่สุด

Services

  • ลองนำความเป็นไทยเข้ามาใส่ในการบริการเน้นให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นไทยให้มากขึ้นไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นชาวต่างชาติหรือคนไทย
  • ใส่ความคิดสร้างสรรค์ในการบริการและลองดีไซน์การบริการรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมี
  • ผสานการบริการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอลและโลกออนไลน์
  • รักษามาตรฐานการบริการอันน่าประทับใจไว้เสมอ
Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.